นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง อดีตสมาชิกวุฒิสภา กล่าวในงานเสวนา ส.ว. ไทยอย่างไรต่อดีถึงที่มาที่ไปของการมีสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ว่ารัฐสภามีระบบอยู่ 2 แบบคือ สภาเดียวที่เป็นตัวแทนประชาชนที่คอยตรวจสอยถ่วงดุล กับฝ่ายบริหาร หรือ 2 สภา ที่บางประเทศมีและไทยนำมาปรับใช้ ถ้าถามว่าจำเป็นที่ต้อง มีส.ว.หรือไม่ ตนไม่ได้ยึดว่าจำเป็นหรือไม่จำเป็นประโยชน์จริงๆของ ส.ว. คือเป็นสภาของผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ในหลายด้านมารวมกัน เพื่อคอยติงติ่งท้วงติงสภาผู้แทนราษฎร แต่ต้องออกแบบหน้าที่อำนาจให้สอดคล้องกัน ถ้าไม่สอดคล้องก็ไม่ควรมีดีกว่า และต้องมีความสัมพันกับประชาชนมาก ซึ่งการที่จะสัมพันกับประชาชนมากๆ ก็คือการเลือกตั้ง ซึ่งแรกเริ่มการมี ส.ว. เสนอกฎหมายเสนอญัตติเพื่อตรวจสอบรัฐบาล เป็นอิสระ ไม่ผูกพันพรรคการเมือง และคัดเลือกบุคคลที่เข้ามาทำหน้าที่ในองค์กรอิสระ แต่หลังจากปี2544 เป็นต้นมา ส.ว.ค่อยๆ ลดความเป็นอิสระจากสภาไปเรื่อยๆ เป็นสภาผัวเมียเป็นสภาพี่น้อง จึงเกิดความไม่เป็นอิสระ จากสภาผู้แทนราษฎร และมีปัญหามาเรื่อยๆ จนสุดท้าย ส.ว.ก็กลายเป็นผู้รับเงินเดือนจากนักการเมือง และเกิดการมีใบสั่งเมื่อมีการคัดเลือกบุคคลให้ทำงานในองค์กรอิสระ และเมื่อใกล้จะหมดสมัยการเป็น ส.ว. แต่ละคนก็มีการคิดถึงตนเองว่าเมื่อสิ้นสุดสมัย ส.ว. ต่อไปนี้จะทำอะไรต่อ เลยไปสร้างความผูกพันธ์กับผู้มีอำนาจจนเกิดระบบอุปถัมภ์ ฉะนั้นถ้าเป็นเช่นนี้ก็ควรมีสภาเดียวแล้วไปแบ่งหน้าที่กันทำงานจะดีกว่า แต่ถ้าต้องการให้มี ส.ว. ก็ควรมี ส.ว. ที่ยึดโยงกับประชาชน100% พยายามออกแบบให้เลือกโดยแบ่งกลุ่มอาชีพ แต่ละอาชีพก็เสนอตัวเป็น ส.ว. แล้วให้คนในกลุ่มอาชีพนั้นเลือกกันเอง ก็หน้าจะได้ตัวแทนของอาชีพต่างๆ หลีกเลี่ยงการซื้อเสียงและเป็นอิสระ อีกทั้งยังได้ตัวแทนของทุกอาชีพช่วยกลั่นกรองกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม ส.ว. ถ้าจะมีดีที่สุดคือต้องยึดโยงกับประชาชน โดยเป็นตัวแทนกลุ่มอาชีพ โดย ส.ว. ชุดปัจจุบัน ตนมองว่าเป็นยิ่งกว่าสภาผัวเมีย เพราะไม่ได้ยึดโยงกับใคร ยึดโยงกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)โดยตรง ส.ว. ชุดนี้มาจาก คสช. ทั้งหมดแต่มีลูกเล่นมาจากกฎหมายเฉพาะกาลเมื่อคสช.เลือกมาแล้ว ก็ขัดกับหลักการที่ว่าไม่ยึดโยงกับประชาชนก็ให้อำนาจน้อยแต่ ส.ว. ชุดนี้กลับกันให้อำนาจมาก ถึงขั้นมีหน้าที่เลือกนายกรัฐมนตรี