1.ประเทศไทยยังมีการตรวจหาเชื้ออยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563 ประเทศไทยมีผลการตรวจ 71,860 ตัวอย่าง คิดเป็น 1,079 ต่อ ล้านประชากร จะเห็นได้ว่า ระบบรายงานผลการตรวจ มีข้อมูลส่วนใหญ่ไม่ถูกนำมารายงาน อย่างเป็นทางการ
2.ในการรายงานสถานการณ์ จากศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค พบว่ามีการตัดข้อมูลตัวเลขผลการตรวจผู้ป่วยที่มีอาการตามนิยามเฝ้าระวังที่เหลือ จำนวนผู้ป่วยตรวจไม่พบเชื้อ และผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างรอผลการตรวจจากห้องปฏิบัติการออก ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญ ต่อการควบคุมโรค แต่ไม่ทราบว่าการไม่รายงานข้อมูลดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร
3.มีการกำหนดหลักเกณฑ์การตรวจโรคโควิด-19 ใหม่ โดยให้ตรวจฟรี แต่หากไม่เข้าเกณฑ์ สปสช.จะไม่สนับสนุนค่าตรวจ ซึ่งบังคับใช้ทั้งโรงพยาบาลรัฐ และเอกชน ทำให้มีการตรวจน้อยลง และไม่ครอบคลุมกลุ่มเสี่ยงอย่างการติดเชื้อในบ้าน หากยังคงไม่มีมาตรการค้นหาผู้ป่วยด้วยการตรวจอย่างเข้มข้น คนกลุ่มนี้จะไม่ได้รับการตรวจ และพร้อมจะแพร่เชื้อได้ตลอดเวลา
4.ศูนย์ร่วมใจสู้ภัยโควิด-19 พรรคเพื่อไทย ยังยืนยันมาตรการ 21 วันสยบโควิดที่ได้นำเสนอไปแล้ว คือ ต้องเร่งตรวจหาผู้ติดเชื้อให้มากที่สุด โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อจะต้องได้รับการตรวจทั้งหมดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
“นพ.ทศพร” เสนอรัฐบาลพิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์ใหม่ให้ประชาชนเข้าตรวจหาเชื้อให้มากขึ้น
นพ.ทศพร เสรีรักษ์ ประธานศูนย์ร่วมใจสู้ภัยโควิด-19 พรรคเพื่อไทย แถลงเสนอแนะรัฐบาลเพิ่มเติม เพื่อหวังว่าจะในไปสู่การปฏิบัติจริง ดังนี้
1.พิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์ใหม่ ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการตรวจมากขึ้น กลุ่มที่มีประวัติเสี่ยงทุกคนต้องได้รับการตรวจ โดยไม่ต้องรอให้มีอาการ กำหนดเพิ่มอาการให้ครอบคลุมมากขึ้น ทั้งนี้ เกณฑ์การตรวจต้องเป็นมาตรฐานเดียว ไม่เปลี่ยนแปลงกลับไปกลับมา เพื่อสะดวกต่อการแปรผล และนำข้อมูลไปใช้
2.ควรเน้นการตรวจและรายงานผลเฉพาะพื้นที่ เฉพาะจังหวัด เพื่อกำหนดเป้าหมายควบคุมโรคให้จบเป็นรายจังหวัด
3.ระบบรายงานต้อง รายงานการตรวจเชื้อ ครอบคลุมทุกสถานบริการ ทั้งประเทศ กรณีมีการตรวจโดยสมัครใจเสียค่าใช้จ่าย ต้องมีการรายงานด้วย
4.ควรนำ Rapid Screening Test การตรวจหาภูมิคุ้มกัน (Ab) มาใช้เพื่อความสะดวกเร็ว เข้าถึงได้ง่าย ประหยัดงบประมาณ
เพื่อให้การควบคุมโรคระบาดโควิด-19 สยบอย่างรวดเร็ว ทุกจังหวัดสามารถเปิดเมือง กลับคืนสู่ภาวะปกติได้เร็ว รัฐบาล และศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) จึงควรนำข้อเสนอนี้ไปพิจารณา