ดร.รัชดา ธนาดิเรก อดีต ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัวอย่างต่อเนื่อง ถึงกรณีที่ตนเข้าร่วมเวทีเสวนา หัวข้อ “อภิวัฒน์สยาม 2562 : ความหวังและอนาคตประเทศไทย” เนื่องในวันปรีดี พนมยงค์ ประจำปี 2561 ซึ่งระบุว่า หากได้เป็นนายกฯ เพียง 1 วันจะไม่ผลักการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า เราเข้าใจกระบวนการผ่านกฏหมายแค่ไหน ฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติเกี่ยวข้องกันอย่างไร ตัวอย่างจากคำถาม “เป็นนายกฯ1วันจะทำอะไร” มีคำตอบสองอย่างคือแก้รัฐธรรมนูญกับกระจายอำนาจ3ด้าน:ตำรวจ การศึกษา เลือกตั้งผู้ว่า ไม่มีใครผิดถูกเพราะต่างก็มีแนวทางความคิดของตนเองที่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์กับบ้านเมืองที่สุด
ดร.รัชดา กล่าวต่อไปว่า ทีนี้มามองในกระบวนการผ่านกฏหมายเพราะเป็นหน้าที่หลักของนักการเมือง การบริหารประเทศไม่ใช่แค่มีนโยบาย อยากใช้งบประมาณแล้วจะได้ใช้ มันต้องมีกฏหมายรองรับด้วย การแก้รัฐธรรมนูญจะสำเร็จได้ต้องได้รับความเห็นชอบจากส.ว. มีการลงมติของสองสภาไปพร้อมกัน (500ส.ส.+250ส.ว.) เริ่มตั้งแต่วาระ1ขั้นรับหลักการ ไม่ใช่แค่ลงมติมีเสียงเกินครึ่งแล้วจะผ่าน แต่ต้องมีส.ว.ที่มาจากการแต่งตั้งเห็นด้วยที่จะรับไว้พิจารณา1/3ของทั้งหมด นั่นคือ83คน และในวาระ3ขั้นสุดท้ายก็ต้องมีเสียงเฉพาะจากฟากส.ว.จำนวน1/3เช่นกัน จึงเห็นได้ว่าแม้ซีกส.ส.จะเห็นด้วยกับการแก้รัฐธรรมนูญ แต่ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากมีส.ว.ที่เห็นด้วยไม่ครบ83คน
ดร.รัชดา กล่าวอีกว่า มาถึงเรื่องกระจายอำนาจเพื่อลดการกระจุกตัวอำนาจอยู่ส่วนกลาง ให้โครงสร้างส่วนราชการคล่องตัวและตอบสนองความต้องการพื้นที่ จะเกิดขึ้นเมื่อมีการออกกฏหมายที่เกี่ยวข้องมารองรับโครงสร้างและบทบาทของส่วนราชการใหม่ กระบวนการผ่านกฏหมายต่างจากกรณีรัฐธรรมนูญตรงที่ ไม่ได้มีการลงมติไปพร้อมกันของสองสภา สภาผู้แทนฯจะส่งร่างกฏหมายให้สภาส.ว.พิจารณา หากส.ว.ไม่เห็นด้วยกับส.ส. ร่างกฏหมายนั้นจะไม่ตกไปทันที เพราะสภาผู้แทนสามารถลงมติยืนยันในร่างนั้นได้ และให้ถือว่าเป็นกฏหมายที่เห็นชอบโดยรัฐสภา
“โดยสรุป การแก้รัฐธรรมนูญจะต้องอาศัยมติจากส.ว.ด้วย ส่วนการผ่านกฏหมายต่างๆต้องให้ส.ว.พิจารณา แต่สภาผู้แทนฯสามารถยืนยันร่างของตนเองได้แม้สภาส.ว.จะเห็นต่าง” ดร.รัชดา กล่าว
[fb_pe url=”https://www.facebook.com/drrachada/posts/1853105041420154″ bottom=”30″]