ทั้งนี้ ผู้ว่ารฟม. ระบุว่า การปรับปรุงเงื่อนไขในการคัดเลือกเอกชนหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของประกาศเชิญชวนและเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน หรือ RFP เป็นการดำเนินการตามอำนาจหน้าของกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องโดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดที่รัฐจะได้รับจากผู้ร่วมลงทุนประชาชนได้รับบริการที่มีมาตรฐานและความปลอดภัยสูงสุด
ซึ่งไม่ว่าจะออกมาในรูปแบบได้ รฟม.พร้อมปฏิบัติตามคำสั่งศาล แต่ในทางคดี รฟม. มีสิทธิ์อุทรตามขั้นตอนการดำเนินการทางคดี คำร้องขอคุ้มครองตามรูปคดี และมั่นใจว่าการดำเนินโครงการจะไม่ยืดเยื้อ เพราะผู้ฟ้องคดีไม่มีความเสียหายและไม่มีการถูกถอนสิทธิ์ในการร่วมประมูล เพียงขอให้ปรับปรุง RFP และสุดท้ายยังมีความมั่นใจว่าศาลปกครองกลางจะยกคำร้อง
สำหรับกำหนดตามกรอบแผนงานมีระยะเวลาการเปิดรับซองประมูลที่ 1 ในวันที่ 9 พฤศจิกายนนี้ หลังจากเปิดซองแล้ว จะพิจารหลักเกณฑ์รายละเอียดก่อนเปิดซองที่ 2 และ 3 หากเป็นไปตามแผนคาดว่าต้นปี 2564 จะได้เอกชนเข้ามาดำเนินโครงการ
อย่างไรก็ตาม โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร แบ่งเป็นส้มตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์)) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี) และส้มตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี