หน้าแรกการเมือง'พรรคเพื่อไทย' ยื่นศาล รธน.ตีความ ค้านคำสั่ง คสช. ปมแก้กฎหมายพรรคการเมือง

‘พรรคเพื่อไทย’ ยื่นศาล รธน.ตีความ ค้านคำสั่ง คสช. ปมแก้กฎหมายพรรคการเมือง

ที่สำนักงานใหญ่พรรคเพื่อไทย พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และนายภูมิธรรม เวชชยชัย เลขาธิการพรรคเพื่อไทย นำคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย แถลงเรื่อง คำขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๕๓/๒๕๖๐  ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา ๒๑๓ ประกอบมาตรา ๕

ซึ่งในประเด็นสำคัญนั้นสมาชิกพรรคเพื่อไทยเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2557 จึงไม่เป็นที่สุด และชอบที่ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของคำสั่งดังกล่าวได้ เนื่องจากสาระสำคัญของคำสั่งหัวหน้า คสช. ดังกล่าว เป็นเรื่องแก้ไขเพิ่มเติม พรป. ว่าด้วยพรรคการเมือง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าว รัฐธรรมนูญ มาตรา 131 และมาตรา 132 บัญญัติให้เป็นอำนาจสภานิติบัญญัติแห่งชาติในปัจจุบัน การที่หัวหน้า คสช.ออกคำสั่งแก้ไขกฎหมายดังกล่าวเท่ากับเป็นการลบล้าง (Overrule) กระบวนการตรากฎหมายตามรัฐธรรมนูญ จึงไม่อาจใช้อำนาจที่ขัดหรือแย้งหรือนอกเหนือไปจากที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ได้

ในอีกประเด็นที่สำคัญ คำสั่งหัวหน้า คสช. ดังกล่าวเป็นการใช้อำนาจโดยไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้และใช้อำนาจซึ่งเป็นขององค์กรอื่น อันไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ จึงเป็นการกระทำโดยที่รัฐธรรมนูญไม่ได้ให้อำนาจไว้และขัดต่อรัฐธรรมนูญ การออกคำสั่งที่มีผลเป็นการลบล้างสมาชิกภาพของสมาชิกพรรคการเมือง มิใช่การออกกฎหมายจำกัดสิทธิเท่านั้น แต่เป็นการยกเลิกสิทธิของการเป็นสมาชิกพรรค จึงกระทบต่อสาระสำคัญของสิทธิเสรีภาพของบุคคลและเป็นการออกกฎหมายที่มีผลย้อนหลังเป็นโทษแก่บุคคล จึงขัดต่อหลักนิติธรรมในรัฐธรรมนูญ การกำหนดให้ผู้ที่เป็นสมาชิกพรรค ถ้าจะเป็นสมาชิกพรรคต่อไปต้องทำหนังสือยืนยันต่อหัวหน้าพรรคพร้อมแสดงหลักฐานการมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามภายใน 30 วัน ซึ่งลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายของการเป็นสมาชิกพรรคมีหลายประการ ต้องขอหนังสือรับรองจากหน่วยงานต่างๆ ถึง 14 หน่วยงาน กรณีดังกล่าวจึงถือเป็นการเพิ่มภาระหรือจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ  และยังขัดต่อหลักความเสมอภาคตามรัฐธรรมนูญอีกด้วย เนื่องจากผู้ที่สมัครสมาชิกใหม่ไม่ต้องดำเนินการดังกล่าว ในคำสั่งมิได้ระบุเหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิเสรีภาพของสมาชิกพรรคการเมืองข้างต้นไว้ จึงขัดต่อรัฐธรรมนูญ เช่นกัน

นอกจากนี้ คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 53/2560 ยังเป็นการละเมิดสิทธิทางการเมืองของพรรคการเมืองด้วย ซึ่งพรรคเพื่อไทยจะได้ดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญและผู้ตรวจการแผ่นดินให้ดำเนินการต่อไป


 

RELATED ARTICLES

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img