เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. ที่กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ นายอริณชย์ ทองแตง หรืออิน อายุ 17 ปี และ น.ส.อริสา ทองแตง หรือเอม อายุ 15 ปี สองพี่น้อง ผู้ก่อตั้ง กลุ่ม “Below the Tides” นำอุปกรณ์ สถานีไฟฟ้าพกพา 2 ชุดมูลค่า 40,000 บาท มาส่งมอบให้ ศูนย์วิจัยทางทะเลและชายฝั่ง อันดามันตอนบน ต.วิชิต อ.เมือง จ.ภูเก็ต นำไปใช้ในโครงการสำรวจแหล่งหญ้าทะเลเพื่อสำรวจและอนุรักษ์พะยูน ที่กำลังใกล้สูญพันธุ์ โดยมี ายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง เป็นตัวแทนรับมอบ
สืบเนื่องจาก นายอริณชย์ และ น.ส.อริสา สองพี่น้องหัวใจนักอนุรักษ์ ผู้ก่อตั้ง กลุ่ม “Below the Tides” เปิดโครงการ “Long Live Dugongs: อยู่ยงคงพะยูน” เพื่อระดมทุนสมทบทุนร่วมสนับสนุน ซื้อเครื่องบินโดรน DJI Mavic 3 Thermal Surveillance Combo มูลค่า 240,000บาท และสถานีไฟฟ้าพกพา 2 ชุด มูลค่า 40,000 บาท รวมเป็นเงิน 280,000 บาท ซึ่งทางกลุ่มสามารถระดมทุนได้ส่วนหนึ่งแล้ว แต่ยังขาดอีกประมาณ 80,000 บาท เพื่อสนับสนุนการสำรวจอนุรักษ์พะยูนและแหล่งอาหารให้แก่ ศูนย์วิจัยทางทะเลและชายฝั่ง อันดามันตอนบนใช้ในการสำรวจฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเลจากเทคนิคที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีโดรนเพื่อป้องกันพะยูนที่ใกล้สูญพันธุ์ ดังกล่าว
สองพี่น้อง นายอริณชย์ และ น.ส.อริสา เปิดเผยว่า จากโครงการ“Long Live Dugongs: อยู่ยงคงพะยูน” ที่เปิดระดมทุนผ่านเว็บไซต์ “เทใจดอทคอม” ดังกล่าว ล่าสุดวันนี้(26ธ.ค.)ได้มีการจัดซื้อ สถานีไฟฟ้าพกพา 2 ชุด ไปส่งมอบให้ทาง ศูนย์วิจัยทางทะเลและชายฝั่งฯ ก่อนเบื้องต้น โดยมีการส่งมอบที่กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ มีนายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง เป็นตัวแทนรับมอบ ส่วนโดรน มูลค่า 2.4 แสนบาท ยังอยู่ระหว่างระดมทุนให้ครบตามกำหนดการเดิมที่จะสิ้นสุดช่วงเดือนมิถุนายน 2568 ซึ่งตั้งเป้าไว้ 80,000 บาท ทางเว็บไซต์ “เทใจดอทคอม” ปัจจุบันมีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคมาแล้ว 22,750 บาท ยังขาดเงินทุนบางส่วน จึงอยากเชิญชวนพี่น้องประชาชนผู้มีจิตศรัทธาช่วยเหลือ พะยูน สามารถร่วมสนับสนุนได้ทาง เว็บไซต์ “เทใจดอทคอม” ได้ตามกำลัง
นายปิ่นสักก์ กล่าวว่า ขอบคุณที่ Below the Tides ให้ความสนใจ และการสนับสนุนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเลตลอดมา ไม่ว่าจะเริ่มตั้งต้นโครงการแรกที่เกี่ยวข้องกับการอนุบาลลูกเต่าทะเลภายใต้การดูแลของศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กับโครงการอิ่มท้องน้องเต่า ที่ต้องการเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของเต่าทะเล จาก 0.1% เป็นมากกว่า 70% ซึ่งเต่าทะเลจัดเป็นสัตว์คุ้มครองซึ่งใกล้สูญพันธุ์ ตามมาด้วยโครงการปะ ปลา ยูน หญ้า ณ เกาะหมาก ที่ช่วยกองทุนอนุรักษ์ปะการังท้องถิ่นในการดูแลรักษาปะการังให้ยั่งยืน เติบโต ตามมาด้วยโครงการล่าสุดที่ช่วยวิกฤตที่เกิดขึ้นกับหญ้าทะเลที่เป็นแหล่งอาหารของพะยูน ซึ่งเสื่อมโทรมและตายหลายหมื่นไร่ เนื่องจากสภาวะโลกร้อน ทำให้พะยูนมีอาหารไม่เพียงพอ ต้องอพยพหาแหล่งอาหารใหม่เพื่อการอยู่รอดกับโครงการ อยู่ ยง คง พะยูน: Long Live Dugongs รวมทั้งงานอาสาที่ไปปลูกป่าชายเลน เก็บขยะในแม่น้ำ ลำคลอง ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเยาวชน สร้างความตระหนักรู้ในวงกว้าง และแสดงถึงความใส่ใจ จิตสาธารณะประโยชน์ต่อส่วนรวม
ร่วมบริจาคคลิก
https://taejai.com/th/project/env-LongLiveDugongs