อนาคตจนตอนแก่
การปาฐกถา 45 ปี 14 ตุลา ครั้งที่ 2 ประชาธิปไตยกับความท้าทายทางเศรษฐกิจของประเทศไทย เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาของ “ประสาร ไตรรัตน์วรกุล” ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจและอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
ถือว่าน่าสนใจพอสมควร !?
โดยมีการระบุว่าประเทศไทยเหมือน “ผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง” แม้หลายรัฐบาลจะพยายามให้ยาหลายขนาน แต่ก็ยังไม่หายขาด แถมมองว่าสาเหตุมาจากประเทศไทยเผชิญกับปัญหาในหลายด้าน ซึ่งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจเห็นว่าต้องเร่งแก้ไข
ปัญหาความเหลื่อมล้ำ !!
ที่มาจากทิศทางการพัฒนาที่มุ่งไปที่ปริมาณ แต่ให้น้ำหนักการเติบโตน้อยไป ถือเป็นต้นตอความขัดแย้งของโลก รวมถึงในประเทศไทย ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการปะทะกันเพื่อแย่งทรัพยากรในทุกระดับ ซึ่งการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ
การกระจายอำนาจไปให้ท้องถิ่นมากขึ้น ??
ส่วนชุมชนควรเพิ่มความเข้มแข็ง เพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มเกษตรกรและรายงานไร้ทักษะ รวมถึงคนระดับฐานรากเพื่อให้สามารถยืนอยู่ได้ และปัญหาการเติบโตของเศรษฐกิจที่ลดลงและสังคมไทยที่กำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ ฐานกำลังคนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจลดลง ทำให้ในอนาคตคนไทยจนตอนแก่
เป็นภาระให้กับวัยทำงาน !?
ส่วนควันหลงอีกเรื่องที่น่าสนใจไม่แพ้กัน ที่ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอเขาค้อ กรณีศูนย์ดำรงธรรมอำเภอเขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ และฝ่ายทหารเชิญกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) สาขาเพชรบูรณ์ และเกษตรกร ร่วมหารือเพื่อเคลียร์ปัญหากรณีเกษตกรตกเป็นหนี้สินกองทุนฯ
ทั้งที่ไม่เคยกู้ยืมนั้น !!
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีต ส.ส.พรรคประชาปัตย์ แย้มว่าเรื่องนี้มีการแอบอ้างชื่อเกษตรไปเป็นหนี้ แล้วสร้างหลักฐานให้เป็นหนี้เสีย มีการส่งหนี้ไปให้กองทุนฟื้นฟูฯ ซึ่งหนี้เหล่านี้กองทุนฟื้นฟู โดยรัฐบาลจะรับภาระชำระหนี้เสียให้ 50% แล้ว มาแจ้งเกษตรกรให้รับภาระหนี้ แต่เมื่อไม่มีหลักฐาน…
คงจะไปปรักปรำใครไม่ได้ !!
แต่อย่างน้อยในกรณีนี้ควรทำให้เป็นคดีตัวอย่าง ให้ “ขบวนการทุจริต” และแอบอ้างเอาชื่อเกษตรกรมาทำให้เกิดความเสียหายแบบนี้ต้องไม่มีในประเทศไทย ส่วนการขยายผลเพื่อเปิดโปงว่าการทุจริตแบบนี้มีขบวนการหรือไม่ “นพ.วรงค์” เชื่อว่าต้องเป็นขบวนการ และเชื่อว่าที่นี่มีแบบนี้ แล้วที่อื่นก็อาจจะต้องมีเช่นเดียวกัน แถมโพสข้อความบนเฟซบุ๊ก จี้ “รมว.เกษตรฯ” ตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจขึ้นมาตรวจสอบด้วย จึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจจริงๆ…!!!