วันที่17 ธันวาคม 2566 เวลา 10.20 น. ตามเวลาท้องถิ่นกรุงโตเกียว นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถ้อยแถลงในการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ เพื่อฉลองวาระครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น (the ASEAN-Japan Commemorative Summit for the 50th Year of ASEAN-Japan Friendship and Cooperation) ช่วงที่ 1 Plenary Session ในหัวข้อ Review of ASEAN-Japan relations และ Partners for Peace and Stability & Regional and International Issues ณ โรงแรม Okura Tokyo กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยได้แสดงมุ่งมั่นที่จะยกระดับความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่น ให้ก้าวหน้า พร้อมรุบุว่า “การเดินกับมิตรในความมืดมิด ยังดีกว่าเดินลำพังในแสงสว่าง”
นายกรัฐมนตรีไทยได้กล่าวขอบคุณนายกรัฐมนตรีคิชิดะของญี่ปุ่นสําหรับการต้อนรับที่อบอุ่น โดยประเทศไทยในฐานะประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น ยินดีอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการประชุมครั้งประวัติศาสตร์นี้ ซึ่งเป็นการเฉลิมฉลองมิตรภาพและความร่วมมืออาเซียน – ญี่ปุ่น สะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมืออันยาวนาน รวมถึงการสถาปนาความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์แบบรอบด้านในปีนี้ยังเกิดจากความสัมพันธ์ที่โดดเด่นมาตลอดระยะเวลา 50 ปี แสดงถึงความสำเร็จที่ญี่ปุ่นซึ่งเป็นพันธมิตรที่ได้รับความไว้วางใจ ในการนำสันติภาพ เสถียรภาพ ตลอดจนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งมาสู่ภูมิภาค
นายเศรษฐากล่าวว่า สำหรับการกำหนดทิศทางอาเซียน – ญี่ปุ่นด้วยวิสัยทัศน์และแผนปฏิบัติการใหม่ เกิดขึ้นท่ามกลางวิกฤตและความเปราะบางของสันติภาพโลก รวมทั้งความมั่นคงในภูมิภาคที่เกี่ยวโยงกัน จึงจำเป็นต้องดำเนินการอย่างระมัดระวังท่ามกลางความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ ภูมิเศรษฐศาสตร์และภูมิเทคโนโลยี
ผู้นำไทยยังกล่าวถึงความพยายามของรัฐบาลในการสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาธิปไตยและเศรษฐกิจในประเทศ พร้อมแสดงความมุ่งมั่นในการแสดงบทบาทเชิงรุกมากขึ้นในภูมิภาคและเวทีระหว่างประเทศ รวมถึงยังเน้นย้ำถึงความเข้มแข็งและเป็นเอกภาพของอาเซียน ซึ่งทุกฝ่ายควรทำงานร่วมกันเพื่อมุ่งสู่วิสัยทัศน์ร่วมกันของภูมิภาคอินโดแปซิฟิกที่เสรี เปิดกว้าง และครอบคลุม ที่มีอาเซียนเป็นแกนกลางของสถาปัตยกรรมความร่วมมือในภูมิภาค
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้นำเสนอประเด็นความร่วมมือในอนาคตเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน 3 ประการ ดังนี้ ประการแรก การบูรณาการความร่วมมือระดับภูมิภาคที่ก้าวหน้า ทุกฝ่ายจำเป็นต้องใช้ประโยชน์จากความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน – ญี่ปุ่น (ASEAN – Japan Comprehensive Economic Partnership – AJCEP) และความตกลง RCEP อย่างเต็มที่ เพื่อเชื่อมโยงตลาดที่มีศักยภาพ รวมถึงเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ความร่วมมือภายใต้กรอบอนุภูมิภาคต่าง ๆ เช่น ACMECS และความร่วมมือแม่โขง-ญี่ปุ่น เพื่อความเชื่อมโยงในระดับภูมิภาค ลดช่องว่างการพัฒนา และสร้างขีดความสามารถระดับภูมิภาคเพื่อการเติบโตที่ครอบคลุมมากขึ้น ซึ่งขณะนี้ ประเทศไทยกำลังพัฒนาโครงการ Landbridge เพื่อส่งเสริมการเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อ เชื่อมระหว่างมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งไทยยินดีร่วมมือกับทุกพันธมิตรที่สนใจทั้งภาครัฐและเอกชน
นายเศรษฐากล่าวว่า ประการที่สอง การพัฒนาที่ยั่งยืนและการเติบโตสีเขียว ไทยยินดีสนับสนุนข้อริเริ่ม Asia Zero Emission เพื่อเร่งรัดการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน และยุทธศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมของอาเซียน (Strategic Program for ASEAN Climate and Environment) เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมยินดีที่ญี่ปุ่นริเริ่มและมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสีเขียวของอาเซียนด้วย นอกจากนี้ ไทยมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้ผลิตพลังงานสะอาดชั้นนำและเป็นศูนย์กลางการผลิต EV และรัฐบาลยังดำเนินการเตรียมออกตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืน (Sustainability-linked Bond) ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี
สำหรับประการที่สาม นายกรัฐมนตรีไทยระบุว่า ความมั่นคงด้านสุขภาพ โดยการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ตระหนักถึงความมั่นคงทางสุขภาพ โดยนายกรัฐมนตรีชื่นชมที่ญี่ปุ่นสนับสนุนเงินจำนวน 50 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้กับศูนย์อาเซียนว่าด้วยสาธารณสุขฉุกเฉินและโรคอุบัติใหม่ หรือ ACPHEED เพื่อเสริมสร้างการตอบสนองด้านสาธารณสุขในภูมิภาค รวมถึงยินดีที่ไทยและญี่ปุ่นมีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการส่งเสริมประเด็นเรื่องประกันสุขภาพถ้วนหน้าในระดับโลก พร้อมหวังว่าจะนำไปสู่ระบบสาธารณสุขที่มีความเท่าเทียมและยั่งยืนมากยิ่งขึ้น
นายเศรษฐากล่าวว่า ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องกระชับความร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหาความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นในความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ เพื่อนำไปสู่สันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคและต่อโลก ทั้งสงครามในยูเครนที่ยังคงไม่สงบ รวมถึงสถานการณ์ในตะวันออกกลางที่ความขัดแย้งเริ่มขยายตัว สำหรับสถานการณ์ในเมียนมา ความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชน ไทยหวังว่าทุกฝ่ายจะยังไม่ยอมแพ้ต่อการสร้างความสงบสุขในเมียนมา ซึ่งประเทศไทยในฐานะประเทศเพื่อนบ้านพร้อมแสดงบทบาทนำในการช่วยเหลือเมียนมา เพื่อนำไปสู่การดำเนินการตามฉันทามติ 5 ข้อ ของอาเซียน นอกจากนี้ไทยยังได้ดำเนินการอย่างเร่งด่วนในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมตลอดแนวชายแดน เพื่อให้พลเรือนได้รับความช่วยเหลือที่จำเป็น พร้อมหวังว่าความช่วยเหลือดังกล่าวจะช่วยสร้างพื้นที่สำหรับการเจรจาจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายมากยิ่งขึ้น ทั้งในเมียนมาเองและในกรอบของอาเซียน และเชื่อมั่นว่า อาเซียนและญี่ปุ่นจะร่วมมือกับไทยในเรื่องดังกล่าว
นายกรัฐมนตรียอมรับว่า การดำเนินการจะไม่ง่าย แต่ด้วยความมุ่งมั่นในการทำงานร่วมกันและส่งเสริมมิตรภาพที่ใกล้ชิดของทุกฝ่าย โดยมีความไว้วางใจเป็นกุญแจสำคัญ จะสามารถจัดการกับความท้าทายร่วมกัน และเสริมสร้างโอกาสทองในความสัมพันธ์ของอาเซียนและญี่ปุ่นได้มากขึ้น ดังสุภาษิตที่ว่า “การเดินกับมิตรในความมืดมิด ยังดีกว่าเดินลำพังในแสงสว่าง”
#Thaitabloid #ไทยแทบลอยด์
ไทยมุ่งมั่นยกระดับความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่น ให้ก้าวหน้า
วันที่17 ธันวาคม 2566 เวลา 10.20 น. ตามเวลาท้องถิ่นกรุงโตเกียว นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถ้อยแถลงในการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ เพื่อฉลองวาระครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น (the ASEAN-Japan Commemorative Summit for the 50th Year of ASEAN-Japan Friendship and Cooperation) ช่วงที่ 1 Plenary Session ในหัวข้อ Review of ASEAN-Japan relations และ Partners for Peace and Stability & Regional and International Issues ณ โรงแรม Okura Tokyo กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยได้แสดงมุ่งมั่นที่จะยกระดับความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่น ให้ก้าวหน้า พร้อมรุบุว่า “การเดินกับมิตรในความมืดมิด ยังดีกว่าเดินลำพังในแสงสว่าง”
นายกรัฐมนตรีไทยได้กล่าวขอบคุณนายกรัฐมนตรีคิชิดะของญี่ปุ่นสําหรับการต้อนรับที่อบอุ่น โดยประเทศไทยในฐานะประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น ยินดีอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการประชุมครั้งประวัติศาสตร์นี้ ซึ่งเป็นการเฉลิมฉลองมิตรภาพและความร่วมมืออาเซียน – ญี่ปุ่น สะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมืออันยาวนาน รวมถึงการสถาปนาความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์แบบรอบด้านในปีนี้ยังเกิดจากความสัมพันธ์ที่โดดเด่นมาตลอดระยะเวลา 50 ปี แสดงถึงความสำเร็จที่ญี่ปุ่นซึ่งเป็นพันธมิตรที่ได้รับความไว้วางใจ ในการนำสันติภาพ เสถียรภาพ ตลอดจนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งมาสู่ภูมิภาค
นายเศรษฐากล่าวว่า สำหรับการกำหนดทิศทางอาเซียน – ญี่ปุ่นด้วยวิสัยทัศน์และแผนปฏิบัติการใหม่ เกิดขึ้นท่ามกลางวิกฤตและความเปราะบางของสันติภาพโลก รวมทั้งความมั่นคงในภูมิภาคที่เกี่ยวโยงกัน จึงจำเป็นต้องดำเนินการอย่างระมัดระวังท่ามกลางความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ ภูมิเศรษฐศาสตร์และภูมิเทคโนโลยี
ผู้นำไทยยังกล่าวถึงความพยายามของรัฐบาลในการสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาธิปไตยและเศรษฐกิจในประเทศ พร้อมแสดงความมุ่งมั่นในการแสดงบทบาทเชิงรุกมากขึ้นในภูมิภาคและเวทีระหว่างประเทศ รวมถึงยังเน้นย้ำถึงความเข้มแข็งและเป็นเอกภาพของอาเซียน ซึ่งทุกฝ่ายควรทำงานร่วมกันเพื่อมุ่งสู่วิสัยทัศน์ร่วมกันของภูมิภาคอินโดแปซิฟิกที่เสรี เปิดกว้าง และครอบคลุม ที่มีอาเซียนเป็นแกนกลางของสถาปัตยกรรมความร่วมมือในภูมิภาค
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้นำเสนอประเด็นความร่วมมือในอนาคตเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน 3 ประการ ดังนี้ ประการแรก การบูรณาการความร่วมมือระดับภูมิภาคที่ก้าวหน้า ทุกฝ่ายจำเป็นต้องใช้ประโยชน์จากความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน – ญี่ปุ่น (ASEAN – Japan Comprehensive Economic Partnership – AJCEP) และความตกลง RCEP อย่างเต็มที่ เพื่อเชื่อมโยงตลาดที่มีศักยภาพ รวมถึงเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ความร่วมมือภายใต้กรอบอนุภูมิภาคต่าง ๆ เช่น ACMECS และความร่วมมือแม่โขง-ญี่ปุ่น เพื่อความเชื่อมโยงในระดับภูมิภาค ลดช่องว่างการพัฒนา และสร้างขีดความสามารถระดับภูมิภาคเพื่อการเติบโตที่ครอบคลุมมากขึ้น ซึ่งขณะนี้ ประเทศไทยกำลังพัฒนาโครงการ Landbridge เพื่อส่งเสริมการเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อ เชื่อมระหว่างมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งไทยยินดีร่วมมือกับทุกพันธมิตรที่สนใจทั้งภาครัฐและเอกชน
นายเศรษฐากล่าวว่า ประการที่สอง การพัฒนาที่ยั่งยืนและการเติบโตสีเขียว ไทยยินดีสนับสนุนข้อริเริ่ม Asia Zero Emission เพื่อเร่งรัดการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน และยุทธศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมของอาเซียน (Strategic Program for ASEAN Climate and Environment) เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมยินดีที่ญี่ปุ่นริเริ่มและมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสีเขียวของอาเซียนด้วย นอกจากนี้ ไทยมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้ผลิตพลังงานสะอาดชั้นนำและเป็นศูนย์กลางการผลิต EV และรัฐบาลยังดำเนินการเตรียมออกตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืน (Sustainability-linked Bond) ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี
สำหรับประการที่สาม นายกรัฐมนตรีไทยระบุว่า ความมั่นคงด้านสุขภาพ โดยการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ตระหนักถึงความมั่นคงทางสุขภาพ โดยนายกรัฐมนตรีชื่นชมที่ญี่ปุ่นสนับสนุนเงินจำนวน 50 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้กับศูนย์อาเซียนว่าด้วยสาธารณสุขฉุกเฉินและโรคอุบัติใหม่ หรือ ACPHEED เพื่อเสริมสร้างการตอบสนองด้านสาธารณสุขในภูมิภาค รวมถึงยินดีที่ไทยและญี่ปุ่นมีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการส่งเสริมประเด็นเรื่องประกันสุขภาพถ้วนหน้าในระดับโลก พร้อมหวังว่าจะนำไปสู่ระบบสาธารณสุขที่มีความเท่าเทียมและยั่งยืนมากยิ่งขึ้น
นายเศรษฐากล่าวว่า ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องกระชับความร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหาความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นในความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ เพื่อนำไปสู่สันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคและต่อโลก ทั้งสงครามในยูเครนที่ยังคงไม่สงบ รวมถึงสถานการณ์ในตะวันออกกลางที่ความขัดแย้งเริ่มขยายตัว สำหรับสถานการณ์ในเมียนมา ความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชน ไทยหวังว่าทุกฝ่ายจะยังไม่ยอมแพ้ต่อการสร้างความสงบสุขในเมียนมา ซึ่งประเทศไทยในฐานะประเทศเพื่อนบ้านพร้อมแสดงบทบาทนำในการช่วยเหลือเมียนมา เพื่อนำไปสู่การดำเนินการตามฉันทามติ 5 ข้อ ของอาเซียน นอกจากนี้ไทยยังได้ดำเนินการอย่างเร่งด่วนในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมตลอดแนวชายแดน เพื่อให้พลเรือนได้รับความช่วยเหลือที่จำเป็น พร้อมหวังว่าความช่วยเหลือดังกล่าวจะช่วยสร้างพื้นที่สำหรับการเจรจาจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายมากยิ่งขึ้น ทั้งในเมียนมาเองและในกรอบของอาเซียน และเชื่อมั่นว่า อาเซียนและญี่ปุ่นจะร่วมมือกับไทยในเรื่องดังกล่าว
นายกรัฐมนตรียอมรับว่า การดำเนินการจะไม่ง่าย แต่ด้วยความมุ่งมั่นในการทำงานร่วมกันและส่งเสริมมิตรภาพที่ใกล้ชิดของทุกฝ่าย โดยมีความไว้วางใจเป็นกุญแจสำคัญ จะสามารถจัดการกับความท้าทายร่วมกัน และเสริมสร้างโอกาสทองในความสัมพันธ์ของอาเซียนและญี่ปุ่นได้มากขึ้น ดังสุภาษิตที่ว่า “การเดินกับมิตรในความมืดมิด ยังดีกว่าเดินลำพังในแสงสว่าง”
#Thaitabloid #ไทยแทบลอยด์ #เศรษฐา #ประชุมอาเซียน #อาเซียนญี่ปุ่น