เอะอะ นักปฏิรูปที่ หิวแสง ก็วิพากษ์ต้องปฏิรูปตำรวจ แต่ไม่เคยสร้างระบบคุณธรรม เติมเต็ม คุณภาพชีวิตให้กับตำรวจ 2 แสนกว่านาย

เมื่อเกิดวิกฤตศรัทธาตำรวจ ขึ้นทุกครั้ง พวกนักวิจารณ์ที่หิวแสงมักจะวิพากษณ์ องค์กรตำรวจ แบบไร้เหตุผล ล่อกันไปมาแบบยับเยิน ไม่เคยใช้เหตุและผล เน้นอารมณ์ ความสะใจ  “ประดู่แดง” อยากถามกลับไปยังบรรดา  นักวิพากษ์ (พิพากษา) หิวแสงทั้งหลายว่า ในเมื่อตำรวจ มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย ขืนไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กรอบกฎหมายกำหนดไว้ จะต้องทำอย่างไร.?

เอะอะ..!! ก็ปฏิรูปตำรวจ เห็นได้ทุกยุค ทุกสมัย ใช้บุคลากรมากหมายหลายคณะ หมดงบประมาณไปเป็น หลักร้อยล้านแล้วมั่ง.?  แก้กฎหมายวน ๆ ไปเพื่อให้ได้ประโยชน์จากตำรวจ  อยากให้นักหิวแสง นักปฏิรูป พวกนี้ ไปนั่งอ่าน “พ.ร.บ.ตำรวจ ปี พ.ศ.2547 ดูให้ละเอียด (เอาแบบอ่านให้เข้าใจโดยละเอียดนะ) มันเป็น กฎหมายที่เป็น พ.ร.บ.มีความสมบูรณ์ ครอบคลุมไว้ในทุก ๆ ด้าน” และส่วนตัวที่ ”ประดู่แดง” ได้คลุกคลีกับแวดวงสีกากีมา 20 กว่าปี ถือได้ว่า เป็นฉบับที่ดีที่สุดฉบับหนึ่ง  อีกพร้อมทั้ง “ประดู่แดง ได้นั่งอ่านบทสัมภาษณ์ ของ พล.ต.อ.ชัยยง กีรติขจร อดีต รอง ผบ.ตร. ซึ่งปัจจุบันท่านเป็น รองนายกสมาคมข้าราชการตำรวจ ได้ให้สัมภาษณ์ไว้กับ “มติชน ทีวี ซึ่ง “ประดู่แดง ได้ตัดเอามาให้อ่านกันบางส่วน มีใจความ ว่า

ตำรวจ ถือเป็นต้นทางแห่งกระบวนการยุติธรรม ถ้าตำรวจสามารถทำสำนวนการสอบสวนได้อย่างรอบคอบรัดกุม จากต้นทาง ขึ้นไปยังอัยการ หรือปลายทางผู้พิพากษา ก็จะพิจารณาได้ง่าย เหมือนกับการสร้างบ้าน ตำรวจต้องเป็นคนสร้างและวางรากฐานของงานสอบสวน คือ ต้องมีโครงสร้างบ้านที่แข็งแรง แล้วจะทำให้การต่อเติมเสาหรือฝาบ้านมันทำง่าย

ฉะนั้น เรื่องทั้งหมดนี้ที่ต้องเน้นย้ำ คือ เรื่อง “การปฏิรูปงานสอบสวน” เราพูดกันมาทุกยุคว่า ตำรวจต้องปฏิรูป นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2557 หลังการปฏิวัติรัฐประหาร และรัฐบาลปัจจุบัน ต้องการจะทำคือ “การปฏิรูปตำรวจ”

ปรากฏว่า เวลาล่วงเลยผ่านมา มีคณะกรรมการ 6 คณะ คณะสุดท้าย คือ ท่านมีชัย ฤชุพันธุ์ ได้ยกร่าง พ.ร.บ.การสอบสวนคดีอาญาและ พ.ร.บ.ตำรวจขึ้นมาใหม่ ตนได้อ่านก็พยายามมาวิเคราะห์ดูว่า จะทำอะไรได้หรือไม่ .? เช่น มีการแยกพนักงานสอบสวนออกมาเป็นแท่ง เพิ่มตำแหน่งให้เติบโตไปถึงระดับผู้บังคับการ-ผู้บัญชาการ โดยมีการเพิ่มตำแหน่งให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจสอบสวน เพื่อมีเป้าหมายคงต้องการป้องกันการแทรกแซง การทำสำนวนของพนักงานสอบสวน

รวมทั้ง พ.ร.บ.การสอบสวนก็เปิดช่องให้อัยการ เข้ามาร่วมสอบสวนได้ เข้ามาให้คำแนะนำ ตำรวจ จะทำตาม หรือไม่ก็ได้ ถ้าไม่ทำตามขอให้มีเหตุผล มองไปที่การสร้างสายงานแบบนี้ ทำให้พนักงานสอบสวนออกห่างจากฝ่ายปราบปราม-สายสืบสวน จะทำให้งานสอบสวนของตำรวจไม่ครบถ้วน ไม่มีสายสืบไปหาพยานให้กับพนักงานสอบสวน

ฉะนั้น การปฏิรูปตามกฎหมายฉบับนี้เรื่องการสอบสวน มันไม่เป็นผลดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่มีอัยการเข้ามาร่วมสอบสวน ขนาดลำพังแค่เป็นเรื่องของการตรวจสอบและถ่วงดุลยังเกิดปัญหา แล้วถ้าปฏิรูปไปแบบนี้ให้มาร่วมการสอบสวนไปตั้งแต่ต้น มันจะเกิดอะไรขึ้นก็ต้องไปคาดเดาเอา

ส่วนตำแหน่งที่จะเกิดขึ้นจำนวนมาก ถามว่า ใครได้ประโยชน์? 1. จะมีนายพลเพิ่มเป็นร้อยคน 2. ผู้มีอำนาจและได้แต่งตั้งตำรวจขึ้นเป็นนายพลอีกเป็นร้อย ๆ คน มองแล้วว่า ประชาชนไม่ได้อะไรจากการปฏิรูปการสอบสวนจากกฎหมายทั้งสองฉบับนี้ประชาชนอยู่ไหน

ในสมการปฏิรูปตำรวจ? ผลของการ “ปฏิรูปตำรวจ” เมื่อเราพูดถึงร่างกฎหมายทั้งสองฉบับนั้นที่กำลังเข้าสู่ขั้นตอนการดำเนินการ คำถามที่ง่ายที่สุด คือ เราต้องถามว่า ประชาชนต้องการอะไรจากตำรวจ คิดว่า ประชาชนต้องการให้ตลอดทั้งวันตั้งแต่เช้าที่เขาตื่นมา บ้านเขาไม่ถูกงัด ไปทำงานได้โดยที่รถไม่ต้องติดมากนัก กลางวันสามารถออกไปกินข้าวรถไม่โดนงัด ตกเย็นกลับบ้านหลับนอนมีความสุขไม่ต้องกลัวว่าจะมีคนร้ายเข้ามา ในสังคมที่เขาอยู่ไม่มีบ่อนการพนัน ไม่มีสิ่งอบายมุขผิดกฎหมาย ไม่มีนักเลงมาระรานลูกหลานเขาหรือตัวเขา

คิดว่า แค่นี้ประชาชนมีความสุข และชื่นชมตำรวจไปแล้วมากกว่า 80% แต่ถามว่า กฎหมายฉบับนี้ ทำแบบนี้ได้หรือไม่ มันก็ต้องย้อนกลับไปว่า ความสุขของประชาชนที่กล่าว ตั้งแต่เช้าจรดค่ำของประชาชนมันจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง

บอกได้เลยว่า มันเกิดจากโรงพัก 1,483 โรงพัก ครอบคลุมทั่วประเทศ ทั้ง บช.น., ตำรวจภูธรภาค 1-9 ถ้าเรามีผู้กำกับ หรือตำรวจที่อยู่โรงพักทั้งหมด เข้าไปดูแลประชาชน ไม่ต้องไปวิ่งเต้นหาใคร เขาได้ทำงานให้ประชาชน รักษาความสงบเรียบร้อยให้กับประชาชน โดยมีผู้บังคับการ 87 คนทั่วประเทศ+นครบาล ไปกำกับดูแลจริงจัง แค่นี้ประชาชนก็ได้ประโยชน์

แต่ถามว่า ทำไมภาพแบบนี้ยังไม่เกิดขึ้นเพราะผู้บังคับบัญชา 3 ระดับ  (1.) ผู้บัญชาการ โดยตรง (2.) ก.ตร. และ (3.) ผบ.ตร. ถ้า 3 ส่วนนี้เป็นหลักก็จะได้ตำรวจทำงานให้ประชาชน แต่ ผบช. บางส่วนก็ยังวิ่งเต้นให้ได้อยู่ในพื้นที่ที่ดี เกรดเอ ไม่มีใครอยากเป็น ผบช.ประจำ-จเรฯ ทำให้การสรรหาผู้กำกับจะได้คนแบบไหนเข้ามาเป็น ก็ไปคิดดู ผบ.ตร. ควรมีคุณสมบัติอย่างไร  ต้องกล้าสู้กับความเป็นจริง ถึงแม้ว่า เวลานี้ยังไม่ได้มีการปฏิรูปตำรวจ แต่ท่านต้องออกมาสู้กับความเป็นจริง และชี้แจงให้ได้ว่า ปัญหาที่แท้จริงของตำรวจนั้นคืออะไร จะต้องชี้แจงกับผู้มีอำนาจในบ้านเมืองว่าจะ ต้องทำอะไร

นอกจากนี้ ต้องรู้งานตำรวจทุกด้าน โดยเฉพาะงานป้องกันปราบปราม และงานสอบสวนจะต้องเข้าใจ หากมีความกล้าหาญ มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ก็จะสามารถพาสำนักงานตำรวจแห่งชาติเดินไปได้   ส่วนผู้มีอำนาจในปัจจุบัน ถ้าต้องการเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองต้องกล้าทำ ท่านเสียสละอำนาจที่มีอยู่ได้หรือไม่ การปฏิรูปตำรวจไม่ใช่ให้ตำรวจเข้าไปหาท่าน แต่ต้องทำเพื่อให้ตำรวจเข้าไปหาประชาชน ท่านทำได้หรือไม่ ถ้าตราบใดที่ผู้มีอำนาจยังทำแบบนี้ไม่ได้ การปฏิรูปบ้านเมืองและการปฏิรูปตำรวจมันไปไม่ได้

ตนเองก็ยังมีความหวังอยู่ หลังท่านนายกฯ เข้ามาคุม การแต่งตั้งตำรวจ กับ ผบ.ตร.คนปัจจุบัน ก็ต้องชมเชยว่า เสียงเรื่องของการซื้อ-ขายตำแหน่ง การวิ่งเต้นมันน้อยลง ตำรวจมีขวัญกำลังใจมากขึ้น ขอขอบคุณท่าน ผบ.ตร. ที่สร้างสิ่งที่ดีได้ ก็ยังอยากจะฝากความหวังไว้ว่า ผบ.ตร. และท่านนายกฯ ต้องตั้งใจปฏิรูปตำรวจเพื่อให้เป็นตำรวจของประชาชนเพราะในช่วงที่ผ่านมา หลังจากที่ท่านนายกฯ มาคุมตำรวจเอง การแต่งตั้งโยกย้ายก็ดีขึ้น แต่ถ้าทำอีกนิดหนึ่งให้ตำรวจได้เป็นตัวของตัวเอง ให้ตำรวจสามารถดูแลประชาชนได้ เข้าไปหาประชาชน แล้วเจริญหน้าที่การงาน ไม่ใช่เข้าบ้านผู้มีอำนาจ นี่ไม่ใช่เรื่องยาก ขอฝากความหวังไว้กับท่านนายกฯ และ ผบ.ตร. “พล.ต.อ.ชัยยง ได้ให้สัมภาษณ์ ใว้กับ มติชน ทีวี”

ซึ่งโดยส่วนตัว “ประดู่แดง” เองมองว่า การปฏิรูปตำรวจที่ตรงจุดที่สุด คือ การเติมเต็ม เรื่อง ปากท้อง คุณภาพชีวิต ของครอบครัว ลูกเมียข้าราชการตำรวจ ให้ดี สร้างจิตสำนึกให้ ตำรวจทุกนาย ให้ มีคุณธรรม จริยธรรม รู้จักแยก อันนี้ชั่ว อันนี้ดี ออก  อายต่อบาปตามหลักพุทธศาสนา นั้นแหละคือ ถูกทาง ไม่ต้องไปเลอะเทอะจัดตั้งคณะปฏิรูป ให้มันเสียเวลา นะจ๊ะ..!!!

พ.ร.บ.ตำรวจ ปี พ.ศ. 2547

RELATED ARTICLES
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img