นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัว ‘Thirachai Phuvanatnaranubala‘ ถึงมาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในระบบราชการของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตามที่ พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก และเลขาธิการ คสช. นำเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 27 มี.ค.2561 ที่ผ่านมา
โดยนายธีระชัย กล่าวว่า ป.ป.ช. แถลงข่าว พล.อ.ประวิตร ชี้แจงว่า นาฬิกาหรูทั้ง 25 เรือน (ซ้ำกัน 3 เรือน) ที่ปรากฏตามสื่อนั้น ยืมมาจากเพื่อนเพียงคนเดียวซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว ถึงแม้คณะกรรมการมีมติให้สำนักงาน ป.ป.ช.ไปตรวจสอบที่มาของนาฬิกาว่า ผู้ที่ครอบครองเป็นเจ้าของจริงหรือไม่ รวมถึงข้อมูลจากบริษัทตัวแทนจำหน่ายนาฬิกาหรู ดังกล่าว เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูงและมีเลขรหัสสินค้า โดยสำนักงาน ป.ป.ช.ได้ส่งหนังสือสอบถามไปยัง 13 บริษัท แต่มีการชี้แจงกลับมาเพียง 3 บริษัท เหลืออีก 10 บริษัท จึงต้องตรวจสอบให้เกิดความชัดเจน และให้นำกลับมารายงานต่อที่ประชุม แต่ข้อเท็จจริงปรากฏชัดแจ้งแล้วว่า เป็นการยืมทรัพย์เป็นห้วงระยะเวลายาวนาน ตามวันที่ที่มีภาพนาฬิกาดังกล่าว
นายธีระชัย กล่าวต่อไปว่า ซึ่งการยืมทรัพย์สินอันมีมูลค่าสูง แต่ละเรือนนับหลายแสนบาทหลายล้านบาทนั้น ย่อมก่อให้เกิดผลประโยชน์แก่ผู้ยืม จากการยืมดังกล่าว คิดมูลค่าเป็นเงินได้ และโดยสามัญสำนึก ผลประโยชน์ดังกล่าวย่อมสูงกว่าเพดานที่กฎระเบียบกำหนดไว้ จึงน่าจะถือว่ามีเหตุน่าเชื่อถือแล้วว่า พล.อ.ประวิตรกระทำผิด นอกจากนี้ ในการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินนั้น การครอบครองทรัพย์สินมูลค่าสูงของผู้อื่นอันมีภาระจะต้องคืนในอนาคต ก็ถือเป็นภาระหนี้สินที่ต้องรายงานอย่างหนึ่ง แต่เนื่องจากมิได้มีการรายงานเช่นนั้น จึงน่าจะถือว่ามีเหตุน่าเชื่อถือแล้วว่าพล.อ.ประวิตรกระทำผิดอีกเรื่องหนึ่ง
“แต่เพียงสองประเด็น ก็อาจจะต้องถือว่าเข้าข่ายตามหลักเกณฑ์ของ คสช. ที่จะต้องเข้ากรุแล้ว จึงต้องตั้งคำถามว่า ท่านนายกฯ จะใช้มาตรฐานสำหรับสมาชิก คสช. เช่นเดียวกับที่ใช้อย่างเข้มงวดกับข้าราชการระดับลูกน้อง หรือไม่?” นายธีระชัย
[fb_pe url=”https://web.facebook.com/thirachai.phuvanatnaranubala/posts/1941313245902471″ bottom=”30″]