พร้อมกล่าวว่า รัฐธรรมนูญปี 40 ได้รับการยกย่องว่าดีที่สุด แต่แล้วก็ไปไม่ได้ อะไรที่ไม่ได้ห้ามไว้ก็ถูกผู้ใช้รัฐธรรมนูญบิดเบือน ดังนั้นรัฐธรรมนูญดีต้องมาพร้อมกับผู้ใช้ดี บางทีอาจไม่ต้องแก้รัฐธรรมนูญ แต่ต้องแก้นิสัยผู้ใช้รัฐธรรมนูญต่างหาก ส่วนที่มีการวิจารณ์ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญแก้ยากจนแทบเป็นไปไม่ได้ แต่ผมขอยืนยันว่าหากมีเหตุผลเพียงพอในการแก้ไขจะเอาเสียงส.ว.ทั้งหมด 250 เสียงก็ได้ แต่ต้องเป็นประเด็นที่เป็นประโยชน์ของประเทศ หรือที่ภาษาวัยรุ่นเรียกว่าได้ทั้งหมดถ้าสดชื่น ผมอ่านรัฐธรรมนูญปี 60 หลายรอบ มีแต่เขียนว่าให้แก้ไขเพิ่มเติม ไม่มีคำว่ารื้อหรือร่างใหม่ ดังนั้นการจะแก้ไขเพิ่มเติมให้มี สสร. เพื่อยกร่างใหม่ทั้งฉบับ เกรงว่าจะไม่ใช่เจตนารมของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ และอาจขัดกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ปี 55 ดังนั้น ถ้าจะรื้อต้องกลับไปถามประชาชนอีกครั้ง
นายถวิล กล่าวอีกว่า ถ้าทำประชามติ เราจะต้องทำถึง 3 ครั้ง ครั้งแรก ถามประชาชนว่าจะให้แก้รัฐธรรมนูญหรือไม่ ครั้งที่สอง เมื่อแก้แล้วก็ต้องทำอีกครั้ง สุดท้ายเมื่อได้ประชามติแล้วจัดทำร่างเสร็จต้องนำกลับไปทำประชามติว่าจะรับหรือไม่ ใช้เงิน 1.6 หมื่นล้านบาท ไม่ได้เกิดประโยชน์กับพี่น้องประชาชน ส่วนจะเกิดประโยชน์กับใคร ไม่ทราบ ประชาชนไม่ได้ เดือดร้อนรำคาญ ดังนั้น ย้ำอีกครั้งตนไม่เห็นชอบกับการขอแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 256 เช่นเดียวการขอแก้ไขมาตรา 272 ว่าด้วยส.ว.โหวตเลือกนายกฯ เพราะเป็นมาตราที่ผ่านการทำประชานิยมเช่นกัน