สถานการณ์ COVID-19 พิสูจน์ความเป็น ‘ธนาคารแรกที่ลูกค้านึกถึง’ เมื่อคิดถึงหุ้นกู้

นายภูดินันท์ เศรษฐนันท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่พัฒนาผลิตภัณฑ์การเงิน ธุรกิจผลิตภัณฑ์การเงิน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า ความตั้งใจและทุ่มเทในการสร้างตลาดซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรอง (Secondary Bond) ต่อเนื่องมานานกว่า 5 ปี ส่งผลให้ปัจจุบัน ธนาคารครองส่วนแบ่งตลาด เฉลี่ย 46% ใน12 เดือนย้อนหลัง และเป็นส่วนแบ่งตลาดที่เติบโตขึ้นจากที่เคยทำได้ 20-30% เมื่อปี 2559

   นอกจากนี้ จากข้อมูลของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) ถ้าย้อนไปปี 2559 มูลค่าการซื้อขาย Secondary Bond เฉพาะลูกค้าบุคคล ยังมีอยู่เพียงราวๆ 500-600 ล้านบาท/เดือน มาในปี 2560 และปี2561ปริมาณธุรกรรมขยับขึ้นเป็น 1,000-1,200 ล้านบาท/เดือน มาปี 2562 เพิ่มขึ้นเป็น 1,300-1,500 ล้านบาท/เดือน ในปีนี้ 2563 ขยับมาที่ 2,000 ล้านบาท/เดือน เรียกได้ว่า ภายในเวลา 5 ปี การซื้อขายหุ้นกู้ในตลาดรองโตขึ้น 4 เท่า

เราอยากเห็น Secondary Bond โตขึ้นกว่านี้ เพราะเป็นกลไกหลักที่จะพัฒนาตลาดทุนไทย เทียบเคียงได้กับตลาดหุ้น ธนาคารจึงทุ่มเททรัพยากรเพื่อสร้างให้เกิดสภาพคล่องในสินทรัพย์ ทำให้กลุ่มลูกค้าบุคคล สนใจและเข้าใจมากขึ้น ว่าหุ้นกู้ซื้อแล้วไม่จำเป็นต้องถือครองนิ่งๆ วันนี้ซื้อ พรุ่งนี้ขายได้ ของอะไรก็ตามที่มีการซื้อขายกันบ่อยๆ ราคาจะสะท้อนความจริงมากขึ้น เมื่อเกิดสภาพคล่อง หุ้นกู้เปลี่ยนมือได้เร็ว คนกล้าเข้ามา ตลาดโตขึ้น นักลงทุนได้รับประโยชน์ และดีกับเศรษฐกิจ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เราปักธงชัดเจน ที่จะสร้างบริการครบวงจรในด้านตราสารหนี้ หรือ Best Bond house ในกลุ่มลูกค้าบุคคล จึงเข้ามาบุกเบิกและพัฒนาตลาด เราเป็นผู้เล่นที่ active ที่สุดนานกว่า 5 ปี วันนี้เราขึ้นมาเป็นผู้นำตลาดตราสารหนี้ ความเชี่ยวชาญทำให้เราสามารถคว้า 3 รางวัลตราสารหนี้ยอดเยี่ยมแห่งปี 2562 ได้แก่ รางวัล Most Active Bank in Corporate Bond Secondary Market รางวัล Sales Staff of the Year และ รางวัล Best Bond Dealer จัดโดยสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย” นายภูดินันท์ กล่าว

นายกรกฎ กมลเนตรพิสุทธิ์ ธุรกิจผลิตภัณฑ์ตราสารหนี้และเงินตราต่างประเทศ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า สถานการณ์ช่วง COVID-19 เป็นอีกเหตุการณ์ที่ตอกย้ำว่า ธุรกรรมซื้อขาย Secondary Bond ที่ธนาคารเป็นผู้เล่นหลักที่สร้างตลาดนี้มาล่วงหน้านานกว่า 5 ปี มีความยืดหยุ่นพร้อมรับสภาวะตลาดการเงินช่วงนั้นที่เปราะบางและอ่อนไหว โดยสังเกตได้จากลูกค้าเราไม่ได้เงียบหาย ยังคงทำการซื้อขาย เพิ่มความระมัดระวังและคัดสรร เลือกลงทุนโดยเน้นคุณภาพ และเลือกขายหุ้นกู้ที่รู้สึกไม่สบายใจออกไป เพราะช่วง COVID-19 ที่เพิ่งผ่านไป หากจำกันได้ ใครถือครองตราสารหนี้ที่ทำให้ไม่สบายใจคงนอนไม่หลับ การที่เราเข้าไปเอื้ออำนวยให้ตลาดเดินไปได้ ราคาจะดีบ้าง หรือยังไม่น่าพอใจบ้าง แต่ธนาคารยังสามารถส่งมอบความสบายใจให้นักลงทุนคลายกังวลและนอนหลับฝันดี สะท้อนภาพชัดว่า ซีไอเอ็มบี ไทย ได้เข้าไปอยู่ในใจลูกค้าแล้ว  

“เป้าหมายถัดไป คือ ขยายการแนะนำ Secondary Bond ต่อลูกค้า 3 กลุ่ม 1.ลูกค้ากลุ่มนิยมฝากเงิน ขยับมาลงทุนหุ้นกู้คุณภาพดี เรตติ้งระดับ investment grade ที่นักลงทุนสถาบันชอบซื้อกัน เพื่อให้เงินทำงานได้ดียิ่งขึ้น 2. คนที่ชอบหุ้นกู้อยู่แล้ว แต่ไม่เคยได้หุ้นกู้เต็มความต้องการ เราคัดสรรหุ้นกู้ดีๆ ให้เลือกลงทุนทุกวัน และ 3. คนที่ถือครองหุ้นกู้อยู่แล้ว หรือมีอยู่เต็มมือ แต่มองเห็นหรือสนใจการลงทุนในสินทรัพย์ตัวอื่น “สามารถขายหุ้นกู้ที่มี แล้วไปคว้าโอกาสดีๆได้ทุกช่วงเวลา” นายกรกฎ กล่าว

นายกรกฎ กล่าวว่า 3 ข้อหลักในการทำงานที่สร้างความต่างให้ธนาคารจากผู้เล่นอื่นในตลาดที่ทำให้กลุ่มลูกค้าบุคคล คิดถึงหุ้นกู้ คิดถึง ซีไอเอ็มบี ไทย คือ 1. เราคัดสรรหุ้นกู้ดีๆ มาให้ลูกค้าเลือกทุกวัน ขจัดความกังวลของลูกค้าที่ต้องเฝ้ารอวันเสนอขายหุ้นกู้ 2.นำความต้องการซื้อและความต้องการขายมาเจอกัน แก้ปัญหาสภาพคล่อง รวมถึงความต้องการซื้อที่ล้นจากตลาดแรก และ 3. เป็นจุดแตกต่างที่ชัดเจน คือ การอบรมเจ้าหน้าที่แนะนำการลงทุนทุกคน ไม่ได้เลือกอบรมเฉพาะคน หรือเฉพาะกลุ่ม เพื่อสร้างผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมแนะนำหุ้นกู้ ด้วยความเข้าใจผลิตภัณฑ์ เข้าใจและจริงใจต่อลูกค้า กลยุทธ์นี้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องจนทำให้เราขึ้นเป็นผู้นำตลาดทั้งหุ้นกู้ตลาดรองและตลาดแรกด้วยนายภูดินันท์ กล่าวปิดท้ายว่า Forward Your Wealth คือพันธกิจของธนาคารที่จะยกระดับผลตอบแทนของกลุ่มลูกค้าบุคคล ซึ่งหนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญคือ การแนะนำการลงทุนผ่านตราสารหนี้ที่ธนาคารมีความเชี่ยวชาญและเป็นผู้นำตลาด