โดย นายสุชาติ อ่านแถลงการณ์ ย้ำถึงข้อเรียกร้องทางการเมือง 3 ข้อ ได้แก่ “หยุดคุกคามประชาชน ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ยุบสภา และความฝันในการอยู่ร่วมกับสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมถึงความเคลื่อนไหวให้ปฏิรูประบบการศึกษา ทั้งหมดนี้นอกจากจะไม่ได้มีเนื้อหาส่วนใดละเมิดกฎหมายแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงเจตจำนงของคนรุ่นใหม่ ความใฝ่ฝันที่จะเห็นสังคมดีขึ้นกว่าเดิม พร้อมขอเรียกร้องให้รัฐและผู้เห็นต่าง โต้แย้งด้วยข้อมูล ข้อเท็จจริง และเหตุผล หยุดให้ร้ายบิดเบือน หยุดละเมิดเยาวชน ด้วยวิธีการและท่วงทำนองต่ำทราม
ส่วนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกาศไม่อนุญาตให้ใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในการชุมนุมวันที่ 19 กันยายน 2563 นั้น ขอเรียกร้องให้คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิจารณาทบทวน เปิดพื้นที่ให้นักเรียน นักศึกษา เยาวชน และประชาชน ได้แสดงออกถึงจุดยืนทางการเมืองอันเป็นเรื่องพื้นฐาน สนับสนุนระบบดูแลความปลอดภัยในการชุมนุม
นอกจากนี้ ขอเรียกร้องสื่อมวลชน และขอความร่วมมือจากผู้สนใจติดตามข่าวสาร ให้ออกแรงช่วยกันตรวจสอบข้อมูลหลักฐาน ร่วมกันยับยั้ง แก้ไข ข้อมูลข่าวสารอันเป็นเท็จ จากกลุ่มคนที่ประสงค์ให้เกิดการเผชิญหน้า
นายสุชาติ กล่าวถึงการชุมนุมของนักศึกษา ว่า ดำเนินการภายใต้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ แต่การที่มหาวิทยาลัยไม่อนุญาต เป็นการผลักนักศึกษาให้ไปเผชิญกับอันตรายนอกมหาวิทยาลัย และเห็นว่ามหาวิทยาลัยต้องเป็นหลังอิงของคนที่ ต่อสู้เพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย ในฐานะที่เป็นศิษย์เก่าได้เห็นถึงความหลากหลายทางความคิด แต่การคิดจนเลยเถิดไปถึงการมองว่านักศึกษา บิดเบือนและละเมิดรัฐธรรมนูญ ถือเป็นความเห็นที่เลอะเลือน พร้อมยืนยันว่านักศึกษาไม่ได้เลอะเทอะ แต่มาใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ การชุมนุมก็ปราศจากอาวุธ มหาวิทยาลัย จึงควรเป็นหลักอิงและดูแลการชุมนุมให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงจะเป็นจิตวิญญาณ ของธรรมศาสตร์อย่างแท้จริง
ส่วนข้อกังวลโดยเฉพาะข้อเรียกร้องสิทธิที่เกี่ยวข้องกับการ ปฏิรูปสถาบันนั้น ตนเห็นว่า นักศึกษาไม่ได้ล้มสถาบัน แต่ต้องการให้สถาบันมีความงอกงามและสง่างามในโลกสมัยใหม่ เพราะฉะนั้นจึงใช้คำว่าระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งหมายถึงการอยู่ใต้รัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง
ส่วนกรณีที่ศิษย์เก่ามีความเห็นแตกต่างกัน อย่างรุนแรงโดยเฉพาะการจัดการชุมนุม ส่วนตัวเห็นว่าความขัดแย้งทางความคิดเป็นเรื่องปกติในระบอบประชาธิปไตยแต่ขอให้ใช้ตรรกะและเหตุผลใช้การแลกเปลี่ยนข้อมูลและอดทนรับฟังซึ่งกันและกันจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด ที่จะไม่สูญเสียไปกว่านี้
ทั้งนี้ เห็นว่าธรรมศาสตร์ในยุคของตนเองและปัจจุบันอุดมการณ์ไม่ได้เปลี่ยนแปลงแต่ตัวบุคคลอาจจะเปลี่ยนแปลง