ขณะกรณีหาก สสร. มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ซึ่งจะวนกลับไปที่นักการเมือง ศาสตราจารย์อุดม กล่าวว่า เป็นเรื่องธรรมดา หากนึกถึงการทำงานที่เป็นหลักฐานการเมืองระบอบประชาธิปไตย สะท้อนการยอมรับความคิดเห็นที่หลากหลาย แต่คงไม่ง่ายที่จะหาข้อสรุปที่ยุติและลงตัว หากจะมี สสร.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ก็คงจะเป็นความยุ่งยากของสังคมอีกครั้งหนึ่ง เพราะคงไม่ได้มาในแนวทางความคิดที่ไปในทิศทางเดียวกันเหมือนคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ.
ส่วนการคาดการณ์ระยะเวลาจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดย สสร. ศาสตราจารย์อุดม กล่าวว่า หากต้องร่างรัฐธรรมนูญใหม่ จะต้องมีการกำหนดระยะเวลาไว้อยู่แล้ว เพื่อไม่ให้เวลายืดยาวมากอาจจะเป็น 240 หรือ 120 วัน ก็แล้วแต่ ตามที่ผู้ที่อยากจะแก้ไขรัฐธรรมนูญจะดำเนินการ
สำหรับปัญหาในบทเฉพาะกาล นานอุดม กล่าวว่า จะบอกว่าไม่ใช่ กรธ. ยกร่าง ก็ไม่สามารถพูดได้เต็มปาก แต่ย้ำว่าอะไรที่อยู่ในบททั่วไปและบทเฉพาะกาล ต่างมีที่มาที่ไปทั้งนั้น อย่างกรณีที่บอกให้ ส.ว.เลือกนายกรัฐมนตรี ก็เป็นคำถามพ่วงที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช.ขอให้ไปทำประชามติ จึงออกมาเป็นมาตรา 272 ส่วนการกำหนดให้ ส.ว. บทเฉพาะกาลมี 250 คน ก็เป็นสิ่งที่ คสช.เสนอมา ส่วน กรธ. ก็เสนอให้ 50 คน มาจากการเลือกกันเอง ย้ำว่า กรธ.ไม่ได้ยกร่างรัฐธรรมนูญตามใจตัวเองทั้งหมด