ส่วนการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร. ขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ นายอุดม กล่าวว่า เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับแนวคิดเพราะคนที่เสนอให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีเหตุผลที่มา 2 ประการคือ 1. การร่างรัฐธรรมนูญที่มีเนื้อหา 200 ถึง 300 มาตรา ไม่ใช่เรื่องที่จะแก้ไขมาตราใดมาตราหนึ่งแล้วเพียงพอ อาจจะจำเป็นต้องเชื่อมโยงมาตราอื่นๆ จึงทำให้เห็นว่า หากจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ควรจะดูทั้งหมด 2. สิ่งที่พูดกันมากในคณะกรรมาธิการ คือ ต้องการเห็นรัฐธรรมนูญมาจากประชาชนจริงๆ มาจากคนที่ประชาชนให้ความเห็นชอบ ไม่ใช่เพียงกลุ่มคน ซึ่งเป็นเรื่องความคิดทางการเมืองที่ไม่อาจก้าวล่วงได้
นายอุดม กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาก็เคยมีรัฐธรรมนูญที่มาจาก สสร. ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง แต่ความมั่นคงและความเสถียรของรัฐธรรมนูญ ก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีที่มาจากใคร แต่ก็ทำให้มีความรู้สึกมั่นใจ มากกว่าเอากลุ่มคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมาแต่งตั้ง แต่ในความเป็นจริงคนที่ไปยกร่างรัฐธรรมนูญในเชิงเทคนิค ต้องยอมรับว่าการร่างกฎหมายให้มีการความชัดเจนสอดคล้องกับสังคมต้องการ ไม่ให้ขัดแย้งด้วยกันเอง จึงจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้ ทั้งเรื่องการใช้ภาษาการเข้าใจที่มาเพื่ออธิบายเหตุผล อาศัยความต้องการอย่างเดียวของประชาชนไม่ได้ ต้องอาศัยความต้องการ บวกกับเทคนิค จึงเห็นควรให้มีสัดส่วนผู้เชี่ยวชาญใน สสร. หรืออาจจะต้องมีคณะกรรมาธิการยกร่างไปดูในรายละเอียดก่อนเสนอต่อ สสร. และเสนอสภาผู้แทนราษฎร ส่วนจะกำหนดให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ร่วมร่างด้วยหรือเป็นผู้เข้ามาให้ข้อมูล