ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดฉากลุยตลาดเมียนมา ได้รับอนุมัติในการจัดตั้ งธนาคารลูก (Subsidiary Bank) ในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา เตรียมแผนให้บริการทางการเงิ นแก่ลูกค้ารายใหญ่ เอสเอ็มอี และรายย่อยครบวงจร ผลักดันให้เมียนมาเป็ นประเทศกลยุทธ์ที่จะสร้างการเติ บโตให้เครือข่ายธุรกิจต่ างประเทศ พร้อมเป็นสะพานเชื่อมโยงการค้ าการลงทุนระหว่างไทย-เมียนมา และต่อยอดสู่เครือข่ายการค้ าระดับภูมิภาคที่ครอบคลุมกลุ่ มประเทศ CLMV+2 รองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิ จและอุตสาหกรรมที่มีศั กยภาพในระยะยาว คาดว่าจะตั้งธุรกิจแล้วเสร็จพร้ อมให้บริการได้ภายในสิ้นปีนี้ ตั้งเป้า 5 ปีแรกอัดฉีดสินเชื่อ 7,000 ล้านบาท
นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา เป็นประเทศที่มีศั กยภาพทางเศรษฐกิจและธุรกิจอันดั บต้นๆ ของภูมิภาคที่นักลงทุนจากทั่วทุ กมุมโลกให้ความสนใจ โดยใน 5 ปีที่ผ่านมามีอัตราการขยายตั วของจีดีพีเฉลี่ยประมาณ 6-7% และมีมูลค่าการลงทุ นตรงจากประเทศไทย (FDI) ที่ได้รับการอนุมัติแล้วจนถึงปั จจุบันที่ 11 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งประเทศไทย
เป็นผู้ลงทุนรายใหญ่เป็นอันดั บที่ 3 รองจากสิงคโปร์ และ จีน นอกจากนั้น ประเทศไทยยังเป็นคู่ค้าในลำดั บที่ 2 รองจากจีน โดยมีมูลค่าการค้า 7.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2562 ด้วยศักยภาพดังกล่าว ธนาคารไทยพาณิชย์จึงมีความตั้ งใจที่จะขยายธุรกิจเข้าไปยังเมี ยนมาอย่างจริงจัง โดยเริ่มต้นให้บริการผ่านสำนั กงานผู้แทนธนาคารในเมียนมาตั้ งแต่ปี 2555 จนกระทั่งวันนี้ ธนาคารไทยพาณิชย์ จึงมีความภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่ ได้รับอนุมัติจากธนาคารกลางเมี ยนมาให้จัดตั้งธุรกิจแบบจดทะเบี ยนจัดตั้งนิติบุคคลตามกฎหมายเมี ยนมา (Subsidiary Bank) ทำให้เราสามารถเปิดธนาคารในรู ปแบบบริษัทลูกที่มี ธนาคารไทยพาณิชย์เป็นผู้ถือหุ้น 100% และสามารถประกอบธุรกิ จธนาคารพาณิชย์ได้เต็มรู ปแบบเสมือนธนาคารท้องถิ่นในเมี ยนมา โดยภายใต้ Subsidiary License ทำให้ธนาคารสามารถเปิ ดสาขาในแหล่งธุรกิจที่สำคัญได้ ถึง 10 สาขา ในระยะแรกธนาคารจะมุ่ งตอบสนองความต้องการให้กับลูกค้ าธุรกิจไทยที่เข้าไปลงทุนแล้ วและที่ต้องการเข้าไปขยายธุรกิ จทั้งด้านการค้าและการลงทุ นในเมียนมา ด้วยโซลูชั่นทางการเงินเพื่อธุ รกิจการค้าครบวงจร อาทิ สินเชื่อ อัตราแลกเปลี่ยน ธุรกรรมการค้า ซัพพลายเชน และบริหารเงินสด เป็นต้น”
“ด้วยแนวโน้มการเติ บโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่ องในทุกภาคอุตสาหกรรม และจุดเด่นที่ทำให้เมียนมาเป็ นที่สนใจของนักลงทุนจากต่างชาติ อีกประการหนึ่งคือ ค่าแรงที่อยู่ในระดับไม่สู งมากนักของแรงงานเมียนมา จึงเป็นโอกาสของนักลงทุนไทยที่ จะเข้ามาใช้เมียนมาเป็ นฐานการผลิตและส่งออกไปทั่วภูมิ ภาคได้ ซึ่ง ณ ปัจจุบันมีลูกค้านักธุรกิจไทยที่ เข้าไปลงทุนที่เมียนมาและมี ความสนใจใช้บริการกับธนาคารแล้ วกว่า 100 ราย จากกลุ่มอุปโภคบริโภค พลังงาน นิคมอุตสาหกรรม ภาคการผลิต และอุตสาหกรรมการเกษตร โดยธนาคารตั้งเป้ าประมาณการวงเงินสินเชื่อ 7,000 ล้านบาท ภายในปี 2567”
นอกจากนี้ ธนาคารยังได้รับอนุญาตให้บริ การทางการเงินสำหรับลูกค้ารายย่ อยของเมียนมาได้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ซึ่งตลาดลูกค้ารายย่อยของเมี ยนมานั้นถือว่าเป็นโอกาสที่น่ าสนใจอย่างมากสำหรับธุรกิ จธนาคาร ด้วยประชากรกว่า 54 ล้านคนถือเป็นตลาดใหม่ที่มีศั กยภาพที่ธนาคารจะพัฒนาการเข้าถึ งผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิ นขั้นพื้นฐานให้แก่ชาวเมียนมา ทั้งนี้ ธนาคารวางแผนที่จะพิจารณาการให้ บริการลูกค้ารายย่อยชาวเมี ยนมาด้วยผลิตภัณฑ์ทางด้านเงิ นฝาก สินเชื่อบุคคล ดิจิทัลแบงกิ้ง และกลุ่มลูกค้ามั่งคั่งอีกด้วย
การได้รับอนุมติในการจัดตั้ งธนาคารลูกเพื่อสามารถเข้าทำธุ รกิจเมียนมาครั้งนี้ เป็นการตอกย้ำถึงความพร้ อมของธนาคารไทยพาณิชย์ทางด้ านเครือข่ายต่างประเทศที่สมบู รณ์ครอบคลุมกลุ่มประเทศ CLMV+2 ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม จีน และสิงคโปร์ และธนาคารไทยพาณิชย์พร้อมเป็ นสะพานเชื่อมโยงการลงทุนระหว่ างภูมิภาคให้กับนักลงทุนจากทุ กชาติที่ต้องการขยายการค้ าการลงทุนมายัง ประเทศไทย เมียนมา ตลอดจนประเทศอื่นในลุ่มแม่น้ำ โขง