นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาภาครัฐได้เร่ งออกมาตรการเพื่อดูแลผลกระทบต่ อประชาชนและภาคธุรกิจ ทั้งโดยการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ ายและภาระหนี้ ลดต้นทุนการระดมทุน รวมถึงการเยียวยาภาคประชาชน อย่างไรก็ดี สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรั สโคโรนา 2019 (COVID-19) ยังคงกระทบไปทั่วโลกและเป็ นการแพร่ระบาดที่มีความรุ นแรงมากที่สุดในรอบ 100 ปี ส่งผลให้รายได้ของธุรกิจและครั วเรือนภายในประเทศได้รั บผลกระทบเป็นวงกว้างมากขึ้น ส่งผลให้อุปสงค์ภายในประเทศทั้ งการลงทุนและการบริ โภคภาคเอกชนมีแนวโน้มหดตัวลง และเริ่มส่งผลกระทบต่ อระบบการเงินของประเทศ เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่ างประเทศที่ลดลง การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ในประเทศ และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
กระทรวงการคลังรับผิดชอบการดู แลเศรษฐกิจไทยในภาพรวม เล็งเห็นว่ารัฐบาลจำเป็นต้องเร่ งเข้าไปช่วยเหลื อประชาชนและภาคธุรกิจที่ได้รั บผลกระทบอย่างทันท่วงที กระทรวงการคลังจึงได้พิจารณาจั ดหาแหล่งเงินที่จะนำมาใช้แก้ปั ญหาวิกฤติของประเทศโดยอยู่ ในระหว่างดำเนินการอย่างครบถ้ วนแล้ว ซึ่งมีข้อจำกัดและเงื่ อนเวลาของการงบประมาณ โดยงบกลางของปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และเงินทุนสำรองจ่ายตามพระราชบั ญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 ต้องสำรองไว้เพื่อใช้จ่ายในเหตุ ฉุกเฉินอื่นที่อาจจะเกิดขึ้น และวงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุ ลงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เหลืออยู่อย่างจำกัด นอกจากนี้ การโอนงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2563 ของส่วนราชการและหน่วยงานของรั ฐที่ยังไม่จำเป็นต้องใช้ภายในปี งบประมาณ 2563 มาใช้เพิ่มเติม และการจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่ มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 รวมถึงการจัดงบประมาณรายจ่ ายประจำปี พ.ศ. 2564 จะใช้เวลานานซึ่งไม่ทันต่ อสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ดังนั้น รัฐบาลจึงมีความจำเป็นต้องจั ดหาแหล่งเงินงบประมาณเพิ่มเติม ซึ่งเป็นกรณีที่รัฐบาลต้องดำเนิ นการเพื่อประโยชน์ในการรั กษาความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ และป้องกันภัยพิบัติสาธารณะ โดยการกู้เงินด้วยวิธี การออกพระราชกำหนดเป็นการเฉพาะ
กระทรวงการคลังจึ งเสนอมาตรการเพื่อดูแลและเยี ยวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อบรรเทาผลกระทบดังกล่าว ต่อระบบเศรษฐกิจ ป้องกันไม่ให้สถานการณ์รุ นแรงเข้าขั้นวิกฤติจนต้องสูญเสี ยทรัพยากรทางเศรษฐกิจและการเงิ นที่มากเกินจำเป็นอันจะเป็ นภาระให้กับประเทศในอนาคต และวางรากฐานเพื่อให้การฟื้นตั วของเศรษฐกิจหลังจากที่ สถานการณ์การแพร่ระบาดคลี่ คลายดีขึ้น โดยเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ เรื่อง มาตรการดูแลและเยี ยวยาผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรั สโคโรนา 2019 ต่อเศรษฐกิจไทยทั้ งทางตรงและทางอ้อม ระยะที่ 3 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ร่างพระราชกำหนดให้ อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่ อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรั สโคโรนา 2019 พ.ศ. …. (ร่าง พ.ร.ก. กู้เงินฯ)
รัฐบาลมีเจตนารมณ์และความมุ่ งมั่นที่จะบรรเทาความเดือดร้ อนของประชาชนและควบคุม
การชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจ แต่ด้วยข้อจำกัดและเงื่ อนเวลาการงบประมาณ รัฐบาลจำเป็นต้องตราร่าง พ.ร.ก. กู้เงินฯ โดยมีกรอบวงเงินกู้ไม่เกิน 1,000,000 ล้านบาท เพื่อเป็นงบประมาณเพิ่มเติมเพื่ อรองรับการช่วยเหลือ เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ ได้รับผลกระทบจากการแพร่ ระบาดของ COVID-19 โดยสามารถแบ่งกรอบการใช้เงินได้ ดังนี้
1.1 ชุดมาตรการที่มีวัตถุประสงค์เพื่ อช่วยเหลือ และเยียวยาประชาชนที่ได้รั บผลกระทบจาก COVID-19 และด้านการแพทย์และสาธารณสุขเพื่ อแก้ไขปัญหาการระบาดจาก COVID-19 วงเงิน 600,000 ล้านบาท โดยครอบคลุมการช่วยเหลือและเยี ยวยาให้กับประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการที่ได้รั บผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ ระบาดของ COVID-19 และการแก้ไขปัญหาการแพร่ ระบาดของ COVID-19 การแพทย์และสาธารณสุข
1.2 ชุดมาตรการที่มีวัตถุประสงค์เพื่ อดูแลเศรษฐกิจภายในประเทศ วงเงิน 400,000 ล้านบาท โดยครอบคลุม
1).การเพิ่มศักยภาพ และยกระดับการค้า การผลิต และการบริการในสาขาเศรษฐกิจที่ สำคัญของประเทศและในระดับพื้นที่ เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ ตลาดจนการส่งเสริมตลาดสำหรั บผลผลิต และผลิตภัณฑ์
ในระดับ ที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ ยวหรือภาคบริการอื่น
2). การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในชุ มชน การจัดหาปัจจัยการผลิตและสิ่ งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นสำหรั บการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่ นและชุมชน รวมทั้งการสร้างช่ องทางทางการตลาด และยกระดับมาตรฐานคุณภาพและมู ลค่าเพิ่มของสินค้าและผลิตภัณฑ์ ท้องถิ่น (Local Economy)
3).การส่งเสริมและกระตุ้นการบริ โภคภาคครัวเรือนและเอกชน รวมทั้งการส่งเสริมและกระตุ้ นการลงทุนต่างๆ ของภาคเอกชนที่จะทำให้ สภาวะการบริโภคและการลงทุนกลั บเข้าสู่ระดับปกติ
2. มาตรการเพื่อรักษาเสถี ยรภาพทางเศรษฐกิจและระบบการเงิน
รัฐบาล โดยกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมกันวางแนวทางเพื่อรักษาเสถี ยรภาพระบบเศรษฐกิจและระบบการเงิ น ในสภาวการณ์ที่มีการแพร่ ระบาดของ COVID-19 ผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งเป็น
ผู้จ้างแรงงานร้อยละ 80 ของประเทศ ประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง จึงอาจส่งผลให้มีการเลิกจ้ างงานและผิดนัดชำระหนี้ ในขณะเดียวกันความผั นผวนในตลาดการเงินอาจทำให้บริษั ทที่มีคุณภาพ ไม่สามารถไถ่ถอนตราสารหนี้ที่ ครบกำหนดได้ จนกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ ลงทุนและลดประสิทธิ ภาพในการระดมทุน รัฐบาลจึงมีความจำเป็นเร่งด่ วนในการเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ผู้ ประกอบการ SMEs พร้อมกับการเสริมสภาพคล่องและรั กษาเสถียรภาพตลาดตราสารหนี้ ภาคเอกชน โดยการตราร่างพระราชกำหนด 2 ฉบับ ดังนี้
2.1 ร่างพระราชกำหนดการให้ความช่ วยเหลือทางการเงินแก่วิสาหกิ จขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รั บผลกระทบจากการแพร่ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา พ.ศ. …. (ร่าง พ.ร.ก. soft loan 500,000 ล้านบาท) สำหรับช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs โดยร่าง พ.ร.ก. soft loan 500,000 ล้านบาท กำหนดให้ ธปท. สามารถปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (soft loan) ให้แก่ธนาคารพาณิชย์และสถาบั นการเงินเฉพาะกิจในอัตราร้อยละ 0.01 ต่อปี วงเงิน 500,000 ล้านบาท เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์และสถาบั นการเงินเฉพาะกิจไปปล่อยสินเชื่ อใหม่เพิ่มเติมให้แก่ผู้ ประกอบการ SMEs ที่มียอดสินเชื่อคงค้างเดิมไม่ เกิน 500 ล้านบาท ที่ไม่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่ งประเทศไทย และไม่เป็น NPL ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 โดยผู้ประกอบการ SMEs จะได้รับสินเชื่อเพิ่มเติมไม่ เกินร้อยละ 20 ของยอดสินเชื่อเดิม ในอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปี ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไม่ต้องชำระเงินต้ นและดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อที่ ได้เพิ่มเติมในระยะ 6 เดือนแรก นอกจากนี้ ยังมีโครงการให้ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิ จสามารถพักชำระหนี้เดิมทั้งเงิ นต้นและดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการ SMEs เป็นระยะเวลา 6 เดือน ให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นลูกหนี้ชั้นดี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 และมีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาท
2.2 ร่างพระราชกำหนดการสนับสนุ นสภาพคล่องเพื่อดูแลเสถี ยรภาพตราสารหนี้ภาคเอกชน พ.ศ. …. (ร่าง พ.ร.ก. BSF) สำหรับเพิ่มสภาพคล่องและรั กษาเสถียรภาพของตลาดตราสารหนี้ ภาคเอกชนและระบบการเงิน โดย ร่าง พ.ร.ก. ฉบับนี้ กำหนดให้จัดตั้งกองทุนเสริ มสภาพคล่องเพื่อลดความเสี่ ยงของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ ภาคเอกชน (Corporate Bond Liquidity Stabilization Fund: BSF)และให้ ธปท. สามารถซื้อขายหน่วยลงทุนในกองทุ นดังกล่าว เพื่อสนับสนุนให้การระดมทุ นโดยการออกตราสารหนี้ ในตลาดแรกให้ทำงานได้เป็นปกติ (Market functioning) โดยกองทุนจะเข้าไปซื้อตราสารหนี้ เพื่อช่วยเพิ่มสภาพคล่องแก่บริ ษัทผู้ออกหุ้นกู้ที่มีคุณภาพ แต่ประสบปัญหาสภาพคล่องชั่วคราว (Temporary liquidity shortage) จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ให้บริษัทสามารถ rollover หุ้นกู้ต่อไปได้ ทั้งนี้ ธปท. สามารถซื้อหน่วยลงทุนของกองทุ นดังกล่าวได้ไม่เกิน 400,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังให้อำนาจ ธปท. ในการซื้อขายตราสารหนี้ ภาคเอกชนในตลาดรองในกรณีที่มี ความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อการรั กษาเสถียรภาพของตลาดตราสารหนี้ ภาคเอกชนและระบบการเงิน
3). มาตรการช่วยเหลืออื่น ๆ ประกอบด้วย 3 มาตรการ ดังนี้
3.1 ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดจำนวนเงิ นฝากที่ได้รับการคุ้มครองเป็ นการทั่วไป พ.ศ. ….เพื่อให้ขยายวงเงินคุ้ มครองเงินฝากที่ระดับ 5 ล้านบาทไปถึงวันที่ 10 สิงหาคม 2564 เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่ นให้แก่ผู้ฝากเงิน ซึ่งจะเพิ่มความมั่นคงและรั กษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิ จและระบบสถาบันการเงินในภาพรวม
3.2 มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ สำหรับผู้ประกอบธุรกิจการเงินที่ ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-banks) เพื่อให้ธนาคารออมสินปล่อยสิ นเชื่อให้แก่ Non-Banks เพื่อให้สามารถช่วยเหลือลูกหนี้ รายย่อยของแต่ละบริษัทโดยการผ่ อนปรนเงื่อนไขสินเชื่อบัตรเครดิ ต สินเชื่อส่วนบุคคล ลิสซิ่ง เช่าซื้อ เช่าซื้อรถจักรยานยนต์และสินเชื่ อทะเบียนรถให้แก่ประชาชน
3.3 การปรับลดอัตราเงินนำส่ งจากสถาบันการเงินเป็นการชั่ วคราว ทราบการปรับลดอัตราเงินนำส่ งจากสถาบันการเงินจากอัตราร้ อยละ 0.46 ต่อปี เหลือร้อยละ 0.23 ต่อปี เพื่อให้สถาบันการเงินมีต้นทุ นต่ำลง ซึ่งจะนำไปสู่การลดอัตราดอกเบี้ ยเงินกู้ที่จะช่วยบรรเทาภาระหนี้ ของภาคธุรกิจและประชาชน
กระทรวงการคลังมั่นใจว่ ามาตรการดูแลและเยี ยวยาผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรั สโคโรนา 2019 ต่อเศรษฐกิจไทยทั้ งทางตรงและทางอ้อม ระยะที่ 3 จะเป็นหนึ่งในกลไกที่สำคั ญในการช่วยเหลือและเยี ยวยาประชาชนและภาคธุรกิจที่ได้ รับผลกระทบจาก COVID-19 ให้เดินต่อไปได้และมาตรการดั งกล่าวจะเป็นรากฐานสำคัญให้ เศรษฐกิจของประเทศฟื้นตัวได้อย่ างมั่นคงเมื่อวิกฤติครั้งนี้ผ่ านพ้นไป กระทรวงการคลังจะติ ดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิ ดและพร้อมที่จะออกมาตรการที่ เหมาะสมมาดูแลเศรษฐกิจไทยอย่ างทันท่วงทีเมื่อสถานการณ์เปลี่ ยนแปลงไป
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
• ข้อ 1. โทร 0 2265 8050 ต่อ 5516
• ข้อ 2. โทร 0 2283 5401
• ข้อ 3.1 โทร 0 2273 9020 ต่อ 3691
• ข้อ 3.2 โทร 0 2273 9020 ต่อ 3219
• ข้อ 3.3 โทร 0 2356 7100