หน้าแรกการเมือง'อภิสิทธิ์' ค้าน 'ธปท.' หลังห้ามสถาบันการเงินยุ่งเกี่ยว 'คริปโต'ย้ำ เกินเลย-ไม่เกิดประโยชน์

‘อภิสิทธิ์’ ค้าน ‘ธปท.’ หลังห้ามสถาบันการเงินยุ่งเกี่ยว ‘คริปโต’ย้ำ เกินเลย-ไม่เกิดประโยชน์

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ในรายการต้องถาม จากประเด็นที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาประกาศไม่ให้ธนาคารและสถาบันการเงิน ส่งเสริมการทำธุรกรรมหรือการเกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิตอล หรือคริปโตเคอเรนซี่ (Cryptocurrency) โดยนายอภิสิทธิ์กล่าวว่า อยากให้แยกออกเป็นสองเรื่องคือหนึ่ง วิธีการชำระเงินที่ไม่ต้องใช้กระดาษเช่น การโอนเงินหรือแสกนจากมือถือ แต่ทุกอย่างยังอิงกับสกุลเงินบาท ที่ทางการหรือ ธปท. รับรองว่าชำระหนี้ได้ตามกฏหมาย ส่วนที่สองคือคริปโตเคอเรนซี่ ซึ่งคนจะรู้จักกันยกตัวอย่างเช่น บิทคอยน์ (Bitcoin) ตนคิดว่า การแปลว่าเป็นสกุลเงินดิจิตอลจะไม่ค่อยตรงเท่าไหร่ มันเป็นอีกระบบหนึ่งแล้ว มันเป็นระบบที่สามารถใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า บล็อกเชน (Blockchain) เข้ามาเพื่อที่จะทำระบบบันทึกรับรอง แล้วก็มีคนคิดและก็ได้ปฏิบัติแล้วจำนวนมหาศาลในโลก ก็เอาระบบดังกล่าวมาสร้างเป็นสกุลเงินขึ้นมา หรือเอามาแลกเปลี่ยนกันได้ และก็เป็นที่ยอมรับกัน ก็เลยกลายเป็นมีค่าขึ้นมา โดยที่ไม่ต้องอิงกับสินทรัพย์อะไรทั้งสิ้น ไม่ได้อิงอยู่กับอำนาจรัฐ ของประเทศใดประเทศหนึ่งทั้งสิ้น เป็นระบบที่ทำขึ้นมากันเอง และมีระบบรับรอง แต่เนื่องจากเป็นระบบที่มันกระจายอำนาจ ก็จะทำให้เกิดความมั่นใจ เพราะไม่มีใครสามารถไปควบคุมคนที่เข้ามากำกับตรงนี้ได้ทั้งหมด ตัวนี้กำลังเกิดปัญหาเพราะว่ามันเป็นเรื่องใหม่

เมื่อถูกถามว่าต่อไปมันอาจจะกลายเป็นเงินตราได้ใช่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่าบางคนก็บอกว่ามันก็เป็นอยู่แล้ว ในแง่ที่ว่าปัจจุบันเว็บไซต์บางแห่งก็รับชำระเป็นบิทคอยน์หรือคริปโตเคอเรนซี่ได้ การที่บางคนยอมรับ เพราะเขารู้ว่ารับไปแล้วก็สามารถเอาไปใช้ในการจ่ายเพื่อให้คนอื่นรับ มันก็เกิดตรงนี้ขึ้นมา คนที่คิดเรื่องนี้ขึ้นมาเขาก็บอกว่า ถึงแม้เขาไม่มีสินทรัพย์ที่จะรองรับ คิดหรือว่าสกุลเงินปกติไม่มีความเสี่ยง ถ้าเกิดเจอธนาคารกลาง หรือรัฐบาลกลางที่พิมพ์ธนบัตรอย่างที่ว่า ก็มีความเสี่ยงอยู่ดี ตรงนี้ก็เลยกลายเป็นเรื่องใหม่ แล้วก็ต้องยอมรับเช่นเดียวกันว่า คริปโตเคอเรนซี่มันก็มีความเป็นไปได้สูงมาก ว่าจะเป็นวิธีการชำระเงินของธุรกิจสีเทา หรืออาจจะสีดำด้วยซ้ำ เพราะมันเป็นระบบที่ไม่ต้องไปผ่านทางการ นำมาสู่การการลบเลี่ยง หรืออาจจะลบเลี่ยงกฏหมายได้อีกหลายฉบับ เพราะฉนั้นทางการของหลายประเทศต้องมาคิดค้นวิธีการว่าจะทำอย่างไร

นายอภิสิทธิ์กล่าวต่อไปว่า เห็นว่ามีสองสามเรืิ่องที่ทางการจะต้องทำ ข้อแรกคือการคุ้มครองผู้บริโภค เพราะความเข้าใจของคนจำนวนมากเกี่ยวกับเรื่องนี้ยังไม่ค่อยชัดเจน แล้วปรากฏว่ามีการเอาเรื่องนี้ไปหลอกลวงเช่น แชร์ลูกโซ่ แต่ตัวคริปโตเคอเรนซี่ ไม่ใช่แชร์ลูกโซ่ แต่มีคนที่มีพฤติกรรมเป็นแชร์ลูกโซ่ โดยอ้างว่ากำไรจากเรื่องของคริปโตเคอเรนซี่ มาหลอกเงินคนไป โดยการบอกว่ากำลังเงินได้จากตรงนี้ และได้ค่าตอบแทนสูงมากผ่านระบบแชร์ลูกโซ่ แบบนี้ต้องเข้าไปปราบปรามจัดการ โดยที่ข้อสองคือการเข้าไปให้ความรู้ว่า การลงทุนมีความเสี่ยงอย่างไร และในส่วนที่สามว่าถ้าเริ่มกังวลว่าการกำกับดูแล ไม่ว่าจะเป็นในเชิงปริมาณเงิน ความมั่นคงของสถาบันการเงิน ก็จำเป็นจะต้องออกระเบียบเพิ่มเติม การที่ ธปท. ออกมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ตนเห็นด้วยถ้ากังวลในเรื่องของเสถียรภาพทางการเงินในการลงทุนต่างๆ เป็นอำนาจ ธปท. อยู่แล้ว สองถ้าเห็นว่าการกระทำการบางอย่าง อาจจะเอื้อต่อการทำผิดกฏหมายก็เข้ามาจัดการทำไป แต่คำว่าขอความร่วมมือ หรือห้ามมันก็ไม่ค่อยชัดเพราะในหัวข้อประกาศขึ้นว่าขอความร่วมมือ แต่ในข้อแต่ละข้อเขียนห้ามเลยมองว่าเป็นการห้ามมากกว่า แต่ถ้าบอกว่าจะห้ามไม่ให้ระบบธนาคารเอื้อ หรือเข้าไปเกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมเกี่ยวกับเรื่องนี้ทั้งหมดเลย ตนไม่แน่ใจว่ามันจะเป็นสิ่งที่ได้ผล และเกิดประโยชน์จริงหรือไม่ เพราะขณะนี้ตัวคริปโตเคอเรนซี่เอง ก็เป็นวิธีการระดมทุนเป็นวิธีการชำระเงิน ซึ่งสามารถทีี่จะช่วยเหลือธุรกิจประเภทใหม่ๆเกิดขึ้นได้ และก็จะมีแนวโน้มที่ทำกันเยอะขึ้น สมมุติว่า ธปท. ประสบความสำเร็จในการทำให้สถาบันการเงินไทยทั้งหมดไม่เกี่ยวข้องกับคริปโตเคอเรนซี่เลย ตนก็ยังเชื่อว่าคนที่ทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับคริปโตเคอเรนซี่ก็ยังทำอยู่ เพียงแต่จะไปทำผ่านที่อื่น สรุปสุดท้ายการที่เราคิดว่าจะไม่ให้มีสิ่งเหล่านี้ก็ไม่จริง กับสองก็คือว่าสิ่งที่เป็นประโยชน์เกี่ยวข้องกับการใช้คริปโตเคอเรนซี่ ก็เลยไปตกอยู่กับคนอื่นที่อื่น มันก็คงจะต้องระมัดระวังว่า ธปท. คงจะค่อยๆทบทวนปรับเพื่อให้มันเหมาะสม

เมื่อถูกถามว่าขณะนี้มีกรณี Jaymart หรือ JVC เป็นบริษัทลูก ออกโทเคน (Token) เป็น Initial Coin Offering (ICO) เป็นการระดมเงินที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ก็ให้ทำได้โดยที่ ธปท. ไม่ให้ธนาคารพาณิชย์ทำ ตกลงจะเป็นอย่างไร นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ตนมองว่าส่วนของ ธปท. ที่ใช้คำที่คิดว่าเกินเลยไปหน่อย คือส่วนที่ธนาคารไม่ควรไปลงทุน อันนี้ตนคิดว่าเขาควรน่าจะทำเต็มที่ แต่ในใจตนวิธีการหน้าที่หลัก ที่สำคัญที่สุดในตอนนี้ คือการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ทั้งหมด รู้และเข้าใจความเสี่ยง แล้วเป็นเรื่องที่เขาจะต้องตัดสินใจ แล้วก็ดูแลความเสี่ยงที่คนตัดสินใจ ไม่นำมาสู่ความเสี่ยงเชิงระบบ จะมาบอกว่าไม่มีความเสี่ยงเลยไม่ได้ เพราะมันมีความเสี่ยง วิธีการทำ ICO ต่างๆ ตนเข้าใจว่า กลต. ประเมินแล้วว่าผู้เกี่ยวข้องรู้ความเสี่ยง และไม่ทำให้เกิดความเสี่ยงในเชิงระบบ ก็เลยอาจจะยังไม่ได้ทำอะไร แต่ต่อไปถ้าทำกันมากขึ้น ก็คงจำเป็นที่จะต้องมีวิธีการในการที่จะมากำกับ เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงเชิงระบบ แต่ตนไม่เห็นด้วย และไม่เชื่อว่า การที่พยายามจะบอกว่าการไปสกัดกั้นห้ามไม่ให้มีใครไปทำเรื่องนี้เลยจะประสบความสำเร็จ และจะไม่เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศ

ที่มา: รายการต้องถาม

ข่าวประกอบ: ขอความร่วมมือสถาบันการเงินไม่ให้ทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับคริปโตเคอเรนซี (Cryptocurrency)

‘กรณ์’ จี้ รัฐบาล ให้มืออาชีพมีโอกาสทดลองประยุกต์ใช้ ‘Crypto-ICO’


 

RELATED ARTICLES

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img