หน้าแรกการเมืองเอกฉันท์ยุบ 'ไทยรักษาชาติ' ฐานเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

เอกฉันท์ยุบ ‘ไทยรักษาชาติ’ ฐานเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้ออกนั่งบัลลังก์เพื่ออ่านคำวินิจฉัยในคดีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) เสนอให้มีคำสั่งยุบพรรคไทยรักษาชาติ(ทษช.) กรณีเสนอชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ตามพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา 92 เนื่องจากกระทำการอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

โดยศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย 3 ประเด็น กรณีที่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย เพื่อมีคำสั่งยุบพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) กรณีเสนอรายชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี โดยมองว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ประเด็นแรก ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ยุบพรรคไทยรักษาชาติ ประเด็นที่สอง ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 6 ต่อ 3 เพิกถอนสิทธิกรรมการบริหารพรรค 10 ปี ประเด็นที่สามศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ ผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคจะไปยื่นจดทะเบียนจัดตั้งพรรคไม่ได้

สำหรับองค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย

1. นายนุรักษ์ มาประณีต ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่วันที่ 28 พ.ค. 2551 (เคยเป็นหนึ่งในตุลาการธรรมนูญ พิพากษาคดียุบพรรคไทยรักไทย เมื่อปี 2550)

2. นายจรัญ ภักดีธนากุล (ดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่วันที่ 28 พ.ค. 2551)

3. นายชัช ชลวร (ดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่วันที่ 28 พ.ค. 2551)

4. นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์

5. นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์

6. นายบุญส่ง กุลบุปผา (ดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่วันที่ 28 พ.ค. 2551)

7. นายปัญญา อุดชาชน

8. นายวรวิทย์ กังศศิเทียม

9. นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี ดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่วันที่ 28 พ.ค. 2551 (เคยเป็นหนึ่งในตุลาการธรรมนูญ พิพากษาคดียุบพรรคไทยรักไทย เมื่อปี 2550)

อย่างไรก็ตาม กรรมการบริหารพรรคที่ถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมือง จะสามารถกลับมาดำเนินการทางการเมืองได้ ภายในวันที่ 9 ก.พ.2572


 

RELATED ARTICLES

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img