หน้าแรกการเมืองชำแหละ! การแบ่งเขตเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ปี 2562

ชำแหละ! การแบ่งเขตเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ปี 2562

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 83 กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) แบบแบ่งเขตมีจำนวน 350 คน และใน มาตรา 85 ระบุว่า สส.แบบแบ่งเขต ได้มาจากการออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ (หรือก็คือการกากบาทในบัตรเลือกตั้ง ณ คูหาเลือกตั้ง) ของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยให้แต่ละเขตเลือกตั้งมี สส. ได้เขตละ 1 คน และผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งได้คนละ 1 คะแนน โดยจะลงคะแนนเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ใด หรือจะลงคะแนนไม่เลือกผู้ใดเลยก็ได้ (โหวตโน-Vote No)

ซึ่งเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2561 มีการเผยแพร่ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง การแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ในราชกิจจานุเบกษา โดยแบ่งได้ดังนี้ “จังหวัดที่มี 1 เขตเลือกตั้ง มี 8 จังหวัด” ได้แก่ จ.ตราด นครนายก พังงา แม่ฮ่องสอน ระนอง สมุทรสงคราม สิงห์บุรี และอ่างทอง “จังหวัดที่มี 2 เขตเลือกตั้ง มี 12 จังหวัด” ได้แก่ จ.กระบี่ ชัยนาท บึงกาฬ แพร่ ภูเก็ต มุกดาหาร ลำพูน สตูล อำนาจเจริญ อุตรดิตถ์ อุทัยธานี และจันทบุรี

“จังหวัดที่มี 3 เขตเลือกตั้ง มี 18 จังหวัด” ได้แก่ จ.ชุมพร ตรัง ตาก น่าน ปราจีนบุรี พะเยา พัทลุง พิจิตร เพชรบุรี ยโสธร ยะลา เลย สมุทรสาคร สระแก้ว สระบุรี สุโขทัย หนองคาย และหนองบัวลำภู “จังหวัดที่มี 4 เขตเลือกตั้ง มี 10 จังหวัด”ได้แก่ จ.กำแพงเพชร ฉะเชิงเทรา นครพนม นราธิวาส ปัตตานี พระนครศรีอยุธยา ระยอง ลพบุรี ลำปาง และสุพรรณบุรี

“จังหวัดที่มี 5 เขตเลือกตั้ง มี 7 จังหวัด” ได้แก่ จ.กาญจนบุรี กาฬสินธุ์ นครปฐม พิษณุโลก เพชรบูรณ์ มหาสารคาม และราชบุรี “จังหวัดที่มี 6 เขตเลือกตั้ง มี 6 จังหวัด” ได้แก่ จ.ชัยภูมิ นครสวรรค์ นนทบุรี ปทุมธานี สกลนคร และสุราษฎร์ธานี “จังหวัดที่มี 7 เขตเลือกตั้ง มี 4 จังหวัด” ได้แก่ จ.เชียงราย ร้อยเอ็ด สมุทรปราการ และสุรินทร์

“จังหวัดที่มี 8 เขตเลือกตั้ง มี 6 จังหวัด” ได้แก่ จ.ชลบุรี นครศรีธรรมราช บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สงขลา และอุดรธานี “จังหวัดที่มี 9 เขตเลือกตั้ง มี 1 จังหวัด” ได้แก่ จ.เชียงใหม่ “จังหวัดที่มี 10 เขตเลือกตั้ง มี 2 จังหวัด” ได้แก่ จ.ขอนแก่นและอุบลราชธานี “จังหวัดที่มี 14 เขตเลือกตั้ง มี 1 จังหวัด” ได้แก่ จ.นครราชสีมา และ “จังหวัดที่มี 30 เขตเลือกตั้ง มี 1 จังหวัด” ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีเขตเลือกตั้งมากที่สุดในประเทศ ทั้งนี้ใน รธน. 2560 มาตรา 86 กำหนดวิธีการแบ่งเขตเลือกตั้งไว้ว่า

1.ให้ใช้จำนวนประชากรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง เฉลี่ยด้วยจำนวน สส. 350 คน จำนวนที่ได้รับให้ถือว่าเป็นจำนวนประชากรต่อ สส. 1 คน 2.จังหวัดใดมีประชากรไม่ถึงเกณฑ์จำนวนประชากรต่อ สส. 1 คน ตามข้อ 1 ให้มี สส. ในจังหวัดนั้นได้ 1 คน โดยให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง

3.จังหวัดใดมีประชากรเกินจำนวนประชากรต่อ สส. 1 คน ให้มี สส. ในจังหวัดนั้นเพิ่มขึ้นอีก 1 คน ทุกจำนวนประชากรที่ถึงเกณฑ์จำนวนประชากรต่อ สส. 1 คน 4. เมื่อได้จำนวน สส. ของแต่ละจังหวัดตามข้อ 2 และข้อ 3 แล้ว ถ้าจำนวน สส. ยังไม่ครบ 350 คน จังหวัดใดมีเศษที่เหลือจากการคำนวณตามข้อ 3 มากที่สุด ให้จังหวัดนั้นมี สส. เพิ่มขึ้นอีก 1 คน และให้เพิ่ม สส. ตามวิธีการดังกล่าวแก่จังหวัดที่มีเศษที่เหลือจากการคำนวณนั้นในลำดับรองลงมาตามลำดับจนครบจำนวน 350 คน

5.จังหวัดใดมีการเลือกตั้ง สส. ได้เกิน 1 คน ให้แบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้งเท่าจำนวน สส. ที่พึงมี โดยต้องแบ่งพื้นที่ของเขตเลือกตั้งแต่ละเขตให้ติดต่อกัน และต้องจัดให้มีจำนวนประชากรในแต่ละเขตใกล้เคียงกัน!


 

RELATED ARTICLES

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img