พายุถล่มทางเศรษฐกิจ สถานการณ์จะหนักกว่านี้แน่นอน? | ครุ่นคิด

752

ไปไหนมาไหน ช่วงนี้ใคร ๆ ก็บ่นกันเรื่องเศรษฐกิจครับ และสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่การคาดเดา หรืออ่านเอาในโซเชียล เพียงแค่คุณออกมาสู่โลกความเป็นจริงไปขึ้นวินมอเตอร์ไซด์ ใช้บริการพี่ ๆแท๊กซี่ หรือลองไปเดินตลาดสด ตลาดนัด เชื่อได้ว่าหากสนทนากับพ่อค้าแม่ขายด้วยการเปิดคำถามว่า ช่วงนี้เป็นอย่างไรบ้าง? จะเจอกับความพรั่งพรู การต่อสู้ชีวิต และทุกท่านทราบดีว่าวงจรเศรษฐกิจนั้นมันเป็นเหมือนโดมิโน่ โดนกันเป็นทอด ๆ หากกำลังซื้อหด คนค้าขายก็ต้องลดการตุนวัตถุดิบ กระทบเขียงหมู แผงผัก ร้านค้า ก็ส่งผลกระทบ ถึงคนกลาง หรือไปถึงฟาร์ม ถูกลดปริมาณการสั่งลงไปเรื่อย ๆ แม้ไม่มาก แต่ถ้าหากซึมยาวๆ รายได้ลด กำไรหด จะกระทบต่อการคิดต้นทุน การจ้างงานคนขนาดไหน

เหมือนกับในสภาวะรอการเจรจาทางการค้ากับสหรัฐ ที่ทุกคนต้องขีดเส้นใต้เอาไว้ว่า ไม่มีทางที่ภาษี และโลกในการแข่งขันจะกลับไปเป็นเช่นอดีตแล้ว ยุคของทรัมป์จะนำมาซึ่งความปั่นป่วนคาดเดาไม่ได้อีกสารพัด หากพิจารณาปัจจัยทางเศรษฐกิจตัวชี้วัดที่ชัด ๆ ภายหลังจากรัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประกาศใช้มาตรการภาษีศุลกากรสูงถึง 36% ต่อสินค้านำเข้าจากไทย ทำให้ การส่งออกของไทยไปยังสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของไทย จะได้รับผลกระทบอย่างมาก ธนาคารแห่งประเทศไทยเตือนว่าภาคการผลิตจะได้รับผลกระทบโดยตรง แถมส่งผลให้เกิดการนำเข้าสินค้าราคาถูกจากประเทศอื่นเข้ามาแข่งขันในตลาดไทย 

และยังมีสัญญาณความชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ที่คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของ GDP ไทยในปี 2025 เหลือเพียง 2.0–2.2% จากเดิมที่คาดไว้ที่ 2.4–2.9% สาเหตุหลักมาจากผลกระทบของภาษีศุลกากรสหรัฐฯ และการส่งออกที่ชะลอตัว หากไม่มีการบรรเทาผลกระทบนี้ เศรษฐกิจไทยอาจเติบโตได้เพียง 0.7% ในปีนี้ และอาจสูญเสียรายได้จากการส่งออกสูงถึง 1.4 ล้านล้านบาทในระยะเวลา 10 ปี

แถมประเทศเรายังประสบปัญหาการการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะสูง การลงทุนที่ต่ำอย่างต่อเนื่อง และการพัฒนาเทคโนโลยีที่ล่าช้า  โครงสร้างประชากรที่เกิดใหม่มีน้อยกว่าจำนวนคนตาย ส่งผลให้กำลังแรงงานลดลงและเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว   ยังไม่รวมปัญหาหนี้ครัวเรือนของไทยยังคงสูง ธนาคารเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อรายย่อย ส่งผลให้การบริโภคชะลอตัวลง แม้ว่ารัฐบาลจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น โครงการ “กระเป๋าเงินดิจิทัล” ที่แจกเงิน 10,000 บาท แต่เราไม่ได้เห็นพายุหมุนทางเศรษฐกิตแต่อย่างใด

ดังนั้นเราลองมาจับกระแส “ลมพายุ”ที่รัฐบาลต้องเจอกับคลื่นความท้าทายรอบทิศ เรียกว่ามีทอร์นาโดรอกระหน่ำหลายลูก มรสุมเหล่านี้ ใครมาเป็นผู้นำถือว่า “งานหิน”เจอโจทย์ยาก ผู้บริหารต้องเก่งมีความสามรรถที่แท้จริง ที่จะประคองตัวให้ประเทศชาติและประชาชนอยู่รอดปลอดภัยจากมหันตภัยทั้งหมดนี้ อาทิ เราเจอวิกฤตเศรษฐกิจจากสงครามการค้าคือพายุที่1 เสถียรภาพภายในรัฐบาลคือพายุที่2 วิกฤตการเมืองจากราชการที่สะท้อนจากการทำงานเช่น สตง. และอีกหลายองค์กรที่ใส่เกียร์ไม่เต็มที่บางที่เกียร์ว่างด้วยซ้ำ การที่จีนเทา ทุนเทา ไทยเทาเกลื่อนบ้านเต็มเมืองจนซ้ำเติมผู้ประกอบการก็มาจากการกำกับดูแลของราชการอีกหรือไม่ นี่คือพายุลูกใหญ่มาก ไหนจะสภาวะตัวเลขนักท่องเที่ยวซึ่งเป็น”ขา“ของเครื่องยนต์หลักทางเศรษฐกิจเราพึ่งพาเป็นหลักก็เจอภาวะคนไม่มา โดยเฉพาะจีนที่หนีไปเที่ยวเวียดนาม พายุหลายลูกที่กล่าวมานี้ คือลูกที่ก่อกำลังและสั่นเขย่าคนทั้งประเทศอยู่แรงๆ บางลูกจะเขย่าไปถึงความมั่นคงของรัฐบาลนี้ด้วยซ้ำ

ถึงวันนี้ตอนนี้การเมืองตีกันแทบตาย แย่งชามข้าว แย่งกระทรวง แล้วหวังว่าจะรอเศรษฐกิจจะดีจะฟื้น รอแจกแบบอดีต จากนักการเมืองที่คิดถึงอำนาจและการเลือกตั้งเท่านั้นถือว่าเป็นการคิดที่ผิดมหันต์ และอาจไม่ทัน เราอาจอยู่ไม่รอด ต้องปิดการ หรือล้มหายตายจากไปจากพายุใหญ่ๆที่จ่อเป็นมรสุมรุมพวกเราอยู่ตอนนี้

สั้นๆเลยพวกเราอาจจะต้องอดออม ถือเงินสด ใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น อย่ารอรัฐที่เสมือนไร้ประสิทธิภาพยื่นเศษกระดูกมาให้ ตอนนี้ที่ว่าหนักแล้ว ว่ากันว่าตอนนี้มีความขัดแย้งอินเดีย ปากี และอีกหลายที่บนโลกในทางภูมิรัฐศาสตร์จะยิ่งซ้ำเติมสถานการณ์ให้น่าห่วงไปอีก นี่เพิ่งเริ่มสงครามที่ว่าหนักคือเพิ่งน้ำจิ้ม อาหารจากหลักรอเสิร์ฟรอทำให้เราอยู่ไม่รอด ไม่ได้ ดังนั้นหนทางรอดจึงต้องเป็นที่พึ่งแห่งตน ก่อนจะโดยพายุถล่มจนเราตาย..!!