วันนี้(วันพุธที่ 26 ก.พ.68(เวลา 10.30) น.ที่ ห้องประชุมรณศิลป์ ชั้น 2 หอประชุม ภ.9 ต.ฉลุง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา พล.ต.ท.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ ผู้ช่วย ผบ.ตร.(สส 1) รับผิดชอบกำกับการบริหารราชการ ภ.9 (เฉพาะ บก.สส.) รวมทั้งสั่งและปฏิบัติราชการแทน ผบ.ตร. ในลักษณะงานสืบสวนคดีอาญา และงานสอบสวนคดีอาญา เปิดเผยว่า : ตามคำสั่ง ตร. ที่ 578/2567 ลง 26 พ.ย.2567 และคำสั่ง ตร. ที่ 609/2567 ลง 20 ธ.ค.2567 ประกอบบันทึกสั่งการ ผบ.ตร. ลง 24 ธ.ค.2567 ท้ายหนังสือ สง.รอง ผบ.ตร.(สส) ที่ 0001(สส)/302 ลง 23 ธ.ค.2567 เรื่อง การมอบอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบในงานสืบสวนสอบสวน มอบหมาย นั้น

พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผบ.ตร. พล.ต.อ.ธนา ชูวงศ์ รอง ผบ.ตร.(สส)ได้มอบหมายให้ตน เดินทางมาประชุมขับเคลื่อนพร้อมทั้งแนะนำชี้แจงแนวทางการปฏิบัติราชการงานสืบสวน และงานสอบสวน ให้แก่ข้าราชการตำรวจในสังกัด ภ.9 เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของ ผบ.ตร. และ รอง ผบ.ตร.(สส)
โดยมี พล.ต.ท.ปิยะวัฒน์ เฉลิมศรี ผบช.ภ.9-พล.ต.ต.นรินทร์ บูสะมัญ รอง ผบช.ภ.9-พล.ต.ต.สาธิต พลพินิจรอง ผบช.ภ.9-พล.ต.ต.วรา เวชชาภินันท์ รอง ผบช.ภ.9-พล.ต.ต.ธีรศักดิ์ ไชยโยธา ผบก.สส.ภ.9-พล.ต.ต.ชุมพล ศักดิ์สุรีย์มงคล ผบก.สส.จชต.-พล.ต.ต.นิพล เหมสลาหมาด ผบก.กค.ภ.9 รวมถึงรอง ผบก.ฯ ที่รับผิดชอบงานสืบสวนสอบสวนแต่ละ ภ.จว. ในสังกัด ภ.9และข้าราชการตำรวจสังกัด ภ.9 เข้าร่วมการประชุม

พล.ต.ท.ธนายุตม์ ได้กล่าวภายหลังประชุมว่า วันนี้ได้กำชับให้ปฏิบัติดังนี้ ข้อสั่งการงานสืบสวน
(1)การรายงานเหตุให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น “ทันทีเมื่อมีเหตุเกิดขึ้น” โดยให้รายงานทางโทรศัพท์ ทางไลน์ หรือช่องทางที่สามารถทำได้ แล้วจึงรายงานทางเอกสารตามประมวลระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ 18 บทที่ 1 ด้วย
(2)ให้จัดทำแฟ้มหมายจับ และมีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบแต่ละหมายจับให้ชัดเจนในแฟ้มต้องมีข้อมูลครบถ้วนถูกต้องสมบูรณ์มีการเคลื่อนไหวเป็นปัจจุบันตลอดเวลา โดยให้ผู้บังคับบัญชาควบคุม สั่งการ เร่งรัดคดีทุกระยะ จนกว่าจะสืบสวนคลี่คลายคดีหรือปิดคดีได้ ตรวจสอบทุกหมายว่าขาดอายุความหรือถอนหมายแล้วหรือไม่ทุกครั้ง
(3)ให้เร่งรัดจับกุมตามหมายจับ โดยเฉพาะหมายที่ใกล้หมดอายุความโดยใช้แนวคิด “กัดไม่ปล่อย ล่าไม่ถอย คอยไม่เลิก”
(4)เมื่อมีเหตุเกิดขึ้นฝ่ายสืบสวนทุกระดับ ต้องลงไปในพื้นที่เกิดเหตุทันที ไม่ต้องรอ สั่งการ ให้ออกไปพื้นที่เกิดเหตุโดยเร็ว โดยให้ผู้บังคับบัญชาระดับภาคและ ภ.จว. ลงไปเป็นผู้อำนวยการสั่งการด้วยตนเอง
(5)ต้องมีข้อมูลท้องถิ่นครบถ้วน-แผนที่เดินดิน สถานที่สำคัญ-ข้อมูลบุคคลพ้นโทษ-ข้อมูลกล้อง CCTV-ข้อมูลอาชญากรรม
(6)การทำงานต้องมีการบูรณาการร่วมกัน ระหว่าง สืบสวนภาค สืบสวนจังหวัด และสืบสวนโรงพัก ให้มีการประสานงานกัน มีการแบ่งหน้าที่กันทำ และทำงานกันเป็นทีม ”ยุคนี้ไม่มีเด็ดยอดหรืออาบัง เป็นผลงานภาพรวมทุกหน่วย“
(7)การให้ข่าวหรือการสัมภาษณ์ในคดีต่าง ๆ ห้ามให้ข่าวเกี่ยวกับรายละเอียดของคดีเพราะอาจทำให้เสียหายต่อรูปคดี “นักสืบต้องพูดให้น้อย ทำงานให้มาก”
(8)การบริหารคดีให้มีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล-งานสืบสวน งานสอบสวน และนิติวิทยาศาสตร์ต้องทำงานแบบบูรณาการร่วมกัน มีการประสานความร่วมมือและข้อมูลซึ่งกันและกัน
(9)กรณีชาวต่างชาติเข้ามากระทำความผิดในราชอาณาจักร ตำรวจพื้นที่ต้องเข้มข้นเรื่องบังคับใช้กฎหมายและ สตม. ต้องผลักดันออกทุกราย เรากำลังอยู่ในโลกโซเชียล ดังนั้งเมื่อตำรวจพื้นที่ตรวจสอบและจับกุม ต้องประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและสังคมรับรู้รับทราบ ส่วน สตม. ก็ต้องดำเนินการเช่นเดียวกัน เมื่อผลักดันออกก็ต้องประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและสังคมได้เห็น รับรู้รับทราบด้วย
(10)ให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับ ตรวจสอบควบคุม กำกับ ดูแล ผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด หากพบว่ามีการกระทำความผิดให้ดำเนินการทั้งคดีอาญาทางวินัยและทางปกครองอย่างถึงที่สุด การทำงานของนักสืบต้องยึดกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง ข้อบังคับ นโยบายของผู้บังคับบัญชาโดยเคร่งครัด

พล.ต.ท.ธนายุตม์ ยังกล่าวอีกว่า ด้านข้อสั่งการงานสอบสวน นัั้น พนักงานสอบสวนต้องรวบรวบพยานหลักฐาน ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จะรวบรวมได้เพื่อพิสูจน์ความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา ผู้บังคับบัญชาทุกระดับต้องควบคุม ตรวจสอบเสนอแนะ พนักงานสอบสวน ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง ที่เกี่ยวข้อง เป็นที่พึ่งของน้อง ๆ
กำชับให้พนักงานสอบสวนรวมทั้งผู้บังคับบัญชา ทุกระดับ ปฏิบัติตามคำสั่ง ตร. ที่ 419/2556 ลง 1 ก.ค.2556 เรื่อง การอำนวยความยุติธรรมในคดีอาญา การทำสำนวน การสอบสวนและมาตรการควบคุมตรวจสอบเร่งรัดการสอบสวนคดีอาญา อย่างเคร่งครัด “อย่าปล่อยให้พนักงานสอนสวนทำงานอย่างโดดเดี่ยว” ให้รับเลขรับคำร้องทุกข์ให้เป็นไปตามระเบียบ อย่าให้เกิดข้อร้องเรียนว่าพนักงานสอบสวนไม่รับคำร้องทุกข์ ห้ามมิให้พนักงานสอบสวนปฏิเสธการรับคำร้องทุกข์ โดยเหตุว่าการกระทำความผิดอาญานั้นมิได้เกิดใน ท้องที่รับผิดชอบของตน ให้รับคำร้องทุกข์แล้วเสนอ ผู้บังคับบัญชา เพื่อพิจารณาส่งสำนวนการสอบสวนไปยังท้องที่รับผิดชอบตามกฎหมายโดยเร็ว การสั่งปล่อยตัวชั่วคราวพิจารณาด้วยความรวดเร็ว จะเรียกประกันหรือหลักประกันเกินควรแก่กรณีไม่ได้ คดีความเสียหายเกี่ยวกับทรัพย์ให้พิจารณาประกันหรือหลักประกันเป็นไปด้วยความรอบคอบได้สัดส่วนในความเสียหายที่เกิดขึ้น ทั้งนี้เป็นไปตามข้อบังคับประธานศาล ฎีกา รวมทั้งคำสั่ง ตร. ที่กำหนดไว้
กรณีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในคดีสำคัญหรือ คดีที่เป็นที่น่าสนใจ ตร. อาจให้นำสำนวนมาพบ เพื่อติดตามเร่งรัด การสอบสวนให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ คำสั่งที่เกี่ยวข้องส่วนการออกหมายจับ-ออกเฉพาะหมายจับคุณภาพ-กรอกข้อมูลหมายในระบบ -ตรวจสอบหมายไม่มีคุณภาพ
การกระทำความผิดในลักษณะมีความต่อเนื่องหลายพื้นที่ สลับซับซ้อน ประชาชนให้ความสนใจเกี่ยวข้องกับผู้มีอิทธิพล หรือคดีที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านหากพิจารณาแล้วเห็นว่าเพื่อประโยชน์ในการรวบรวมพยานหลักฐาน เห็นสมควรโอนคดีให้ส่วนกลางหรือให้ส่วนกลางตังคณะทำงาน ให้เร่งรัดดำเนินการเสนอมา ตร. เพื่อมิให้เกิดความล่าช้าในการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน“พล.ต.ท.ธนายุตม์”กล่าว