ศาลฏีกาฯราชทัณฑ์ไม่ได้ขอทักษิณนอน รพ.ตร. ผิดกฎกระทรวง ยธ.ปี 52 ระบุชัดเจน “รมต.ทวี วิษณุ” อาจจะโดน

95

ศาลฏีกาฯราชทัณฑ์ไม่ได้ขอทักษิณนอน รพ.ตร. ผิดกฎกระทรวง ยธ.ปี 52 ระบุชัดเจน “รมต.ทวี วิษณุ” อาจจะโดน

เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากที่มีรายงานพบหลักฐานชิ้นสำคัญ โดยจะมีการนำไปยื่นต่อศาลฏีกาฯ ซึ่งมีความข้อมูลที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เมื่อพบว่ามีบุคคลที่อาจเข้าข่ายช่วยเหลือนายทักษิณเพิ่ม นอกจากเจ้าหน้าที่และข้าราชการ จำนวน 12 ราย

โดยความคืบหน้าต่อกรณีดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2567 นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ อดีต ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์กับรายการ สีสันการเมือง ททท ทางช่องยูทูบ แนวหน้าออนไลน์ ในประเด็นที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตั้งองค์คณะไต่สวน กรณีการย้ายนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ขณะต้องโทษจำคุxก 1 ปี ไปพักรักษาตัวที่ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ
.
“นายทักษิณป่วยจริง หรือมีผู้ใช้อำนาจเอื้อประโยชน์ให้นายทักษิณไม่ต้องอยู่ในเรือนจำ ในส่วนของ ป.ป.ช. ก็ว่ากันไป แต่ในส่วนของตนก็จะไปยื่นคำร้องต่อศาลฎีกา
.
ในส่วนของตนที่ยื่นต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ต้องย้อนไปในการยื่นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2566 เรื่องพฤติกรรมซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าหน้าที่ ไล่ตั้งแต่ส่งตัวเข้าเรือนจำ และออกจากเรือนจำมา รพ.ตำรวจ ซึ่งแม้เจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์มีอำนาจส่งตัวผู้ต้องขังออกไปรักษานอกเรือนจำ แต่มีปัญหาต้องพิจารณาคือเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
.
จากนั้นในวันที่ 15 ก.พ. 2567 ตนได้ยื่นเรื่องเป็นครั้งที่ 2 คราวนี้เป็นเรื่องข้อกฎหมายล้วนๆ เพราะมีกฎหมายระบุว่า การส่งผู้ต้องขังไปรักษาตัวนอกเรือนจำต้องแจ้งให้ศาลทราบ จึงถามไปว่าเป็นอำนาจศาล หรือกรมราชทัณฑ์ ซึ่งศาลก็แจ้งว่าไม่มีการมาขอ แบบนี้ก็เท่ากับเป็นอำนาจของศาล” นายชาญชัย กล่าว

ทั้งนี้นายชาญชัย ระบุว่า เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิฯ อาญา) มาตรา 246 ว่าด้วยเรื่องการทุเลาโทษ และเคยมีตัวอย่างคดีเกิดขึ้นแล้ว เป็นกรณีหญิงตั้งครรภ์ร้องเรียนกรณีอธิบดีกรมราชทัณฑ์ไม่ให้ส่งตัวออกไปพักรักษานอกเรือนจำ แต่สุดท้ายศาลมีคำสั่งให้นำตัวออกไปรักษาโดยใช้เหตุเรื่องทุเลาโทษ คดีนี้สู้กันถึงชั้นฎีกา และศาลได้วางบรรทัดฐานว่าการทุเลาโทษตาม ป.วิฯ อาญา มาตรา 246 ไม่ได้กำหนดว่าจะต้องมีมาตรการทุเลาโทษก่อนบังคับคดีเท่านั้น หมายถึงจะใช้การทุเลาโทษก่อนหรือหลังบังคับคดีก็ได้
.
“กฎหมายจะมีความแตกต่างกันอยู่ หากเป็นมาตรการทุเลาโทษตาม ป.วิฯ อาญา จะถือว่าระหว่างออกไปนอกเรือนจำไม่ถือว่ากำลังถูกจำคุก แตกต่างกับการใช้อำนาจของอธิบดีกรมราชทัณฑ์ตาม พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ (ทั้งฉบับเดิมปี 2479 และฉบับปัจจุบันคือปี 2560)
.
มีกฎกระทรวงกำหนดสถานที่อื่นที่ใช้ในการขัง จำคุxก หรือควบคุมผู้ต้องหา จำเลย หรือผู้ซึ่งต้องจำคุxกตามคำพิพากษาถึงที่สุด พ.ศ. 2552 ซึ่งเริ่มยกร่างกันในปี 2551 สมัยนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี และนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และเมื่อรัฐบาลนายสมัครพ้นไป รัฐบาลชุดต่อมาที่นำโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกฯ และนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เป็น รมว.ยุติธรรม ก็หยิบร่างกฎกระทรวงนี้มาทำต่อ
.
ปัจจุบันกฎกระทรวงฉบับนี้ยังไม่ได้ถูกยกเลิก โดยในหมวด 2 การขังตาม ป.วิฯ อาญา ม.246 ในข้อ 24 ระบุว่า ให้ผู้ดูแลสถานที่ขังสอบถามผู้ถูกขังในเรื่องอาการเจ็บป่วยหรือความผิดปกติของสภาพร่างกายและจัดทำบันทึกในเบื้องต้น
.
หากพบว่ามีอาการเจ็บป่วยหรือเห็นว่าจะต้องได้รับการรักษาเป็นพิเศษ ซึ่งจะต้องได้รับการรักษาโดยเร็ว ต้องรีบจัดการให้ผู้ถูกขังได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ในกรณีที่ผู้ถูกขังตามวรรคหนึ่งมีความจำเป็นต้องได้รับการรักษานอกสถานที่ขัง ให้ผู้ดูแลสถานที่ขังนำตัวผู้ถูกขังไปรักษาพยาบาลยังสถานพยาบาลที่ใกล้เคียงได้และให้รายงานต่อศาลซึ่งสถานที่ขังนั้นตั้งอยู่ในเขตอำนาจ ดังนั้นก็ต้องรายงานต่อศาลด้วย”
.
อย่างไรก็ตาม นายชาญชัย ยังเปิดเผยว่า การที่ นายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี ให้ความเห็นว่า เมื่อศาลสั่งขังแล้วที่เหลือเป็นอำนาจหน้าที่ของกรมราชทัณฑ์ รวมถึง พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม ก็เคยให้ความเห็นว่า ป.วิฯ อาญา ม.246 หากไม่ขอก็ไม่เกี่ยวกับศาล เป็นอำนาจของกรมราชทัณฑ์ แต่ตามระเบียบก็บอกอยู่ว่าให้แจ้งต่อศาล ดังนั้น รมว.ยุติธรรม ตอบแบบขัดต่อกฎหมายของตนเอง
.
“ส่วนที่ไปอ้างถึงกฎกระทรวงการส่งตัวผู้ต้องขังไปรักษาตัวนอกเรือนจำ พ.ศ.2563 ที่ออกตาม พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 นั้น ใน พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 มาตรา 6 ก็ระบุว่าการออกกฎกระทรวงต้องไม่ขัดกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่สำคัญคือทั้งนายวิษณุ และ พ.ต.อ.ทวี รู้หรือไม่ว่า กฎกระทรวงกำหนดสถานที่อื่นที่ใช้ในการขัง จำคุxก หรือควบคุมผู้ต้องหา จำเลย หรือผู้ซึ่งต้องจำคุxกตามคำพิพากษาถึงที่สุด พ.ศ. 2552 ยังไม่ได้ถูกยกเลิก ยังมีผลบังคับใช้อยู่
.
อันนี้ทำผิดกันเยอะ แล้วก็รู้กันอยู่ไม่ใช่ไม่รู้ คนที่ปฏิบัติจริงคือราชทัณฑ์ เพราะใช้ระเบียบที่กระทรวงยุติธรรมออกให้ราชทัณฑ์ ถ้าปัจจุบัน (กฎกระทรวงปี 2563) ที่เอาคุณทักษิณไป มีอยู่ 2 โรค เป็นโรคสุขภาพจิตหรือโรคติดต่อ ไม่บอกว่าโรคไหล่เอียงหรืออะไรทั้งสิ้น แต่อันนี้ (กฎกระทรวงปี 2552) เป็นโรคไหนก็แล้วแต่ เอาไปรักษาเลย แต่ไปแจ้งให้ศาลรู้ ถ้าแจ้งให้ศาลรู้ ศาลจะไต่สวนทันที หรือจะไม่ไต่สวน แต่ต้องแจ้งก่อน” นายชาญชัย กล่าว
.
นอกจากนี้ นายชาญชัย กล่าวอีกว่า จะไปยื่นต่อศาล เพราะในเมื่อไม่แจ้ง แล้วศาลจะว่าอย่างไร และหากศาลจะไม่พิจารณาก็แล้วแต่ศาล อย่างที่นายวิษณุบอกว่าไม่เกี่ยวกับศาล ตนก็ยืนยันด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย
.
“นายวิษณุ รวมถึง พ.ต.อ.ทวี ถือเป็นคนหนึ่งที่เข้าข่ายร่วมกระทำผิดในการช่วยเหลือนายทักษิณ ตนจับตาดูพฤติกรรมนายทักษิณมา 20 ปี นายทักษิณเป็นคนมีวิบัติในตนเอง ไม่รู้จักพอ ใครเตือนก็ไม่ฟังและยังสร้างศัตรูไม่รู้จักหยุด ซึ่งบรรดาคนที่เป็นใหญ่เป็นโตในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง ขุนพลหรืออะไรก็แล้วแต่ หากวิบัติเหล่านี้จับตัวกันหายนะก็เกิดขึ้นทั้งตระกูล ไม่ใช่เฉพาะตัวบุคคลที่สร้างปัญหานั้นเพียงคนเดียว” นายชาญชัย กล่าวผ่านยูทูป ช่องดังกกล่าว“

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

#Thaitabloid#สำนักข่าวไทยแทบลอยด์#รมต.ทวี วิษณุ#ทักษิณ ชินวัตร