หน้าแรกการเมืองกูรูเลือกตั้ง 'สมชัย' ฟันธง โอกาสได้เลือกตั้ง ก.พ.ปี 62 มีร้อยละ 30

กูรูเลือกตั้ง ‘สมชัย’ ฟันธง โอกาสได้เลือกตั้ง ก.พ.ปี 62 มีร้อยละ 30

นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวถึงการจัดการเลือกตั้งในเดือน ก.พ. 2562 ตามที่รัฐบาลได้ประกาศไว้ โดยระบุว่า “โอกาสได้เลือกตั้ง ก.พ.ปี ๖๒ มีร้อยละ ๓๐

แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยว่า ร่าง พรป.ส.ส.ไม่มีส่วนใดที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ หากพิจารณาถึงขั้นตอนต่างๆที่ต่อเนื่องจากนี้ไป จะมีขั้นตอนดังนี้
๑. ศาลรัฐธรรมนูญส่งคำวินิจฉัยเป็นลายลักษณ์อักษรกลับถึงประธาน สนช.
๒. ประธาน สนช. ส่งเรื่องถึงนายกรัฐมนตรี
๓. นายกรัฐมนตรีนำร่าง พรป. ทั้งสองฉบับขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อลงพระปรมาภิไธย
๔. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
๕. การชะลอการบังคับใช้ พรป.ส.ส. ๙๐ วันตามที่เขียนไว้ในบทเฉพาะกาลของ พรป.ส.ส.
๖. การกำหนดวันเลือกตั้งภายใน ๑๕๐ วันนับแต่ พรป.ส.ส.มีผลการบังคับใช้

ประมาณการเวลา ในขั้น ๑-๓ คือ ๑๕-๓๐ วัน ไม่สามารถทำได้เร็วกว่านี้เนื่องจากมีขั้นตอนทางธุรการที่ต้องใช้เวลา
ประมาณการเวลา ในขั้น ๔ คือ ๓๐-๙๐ วัน ไม่สามารถก้าวล่วงได้ เนื่องจากเป็นพระราชอำนาจ
ประมาณการเวลา ในขั้นที่ ๕ คือ ๙๐ วัน เนื่องจากป็นข้อกำหนดที่ต้องทำตามกฎหมาย
ประมาณการเวลาในขั้นที่ ๖ คือ ๙๐-๑๕๐ วัน โดย กกต.สามารถกำหนดวันเลือกตั้งให้เร็วขึ้นได้ แต่ต้องเร่งรัดการดำเนินงานในขั้นตอนของ กกต.ในเรื่องการแบ่งเขตเลือกตั้ง และกำหนดระยะเวลาการหาเสียงที่น้อยลง ในขณะเดียวกัน พรรคการเมืองต้องเร่งรัดตนเองในเรื่องการทำไพรมารีโหวตเพื่อให้ได้มาซึ่งผู้สมัคร

กรณีที่หนึ่ง เวลาน้อยที่สุดที่เป็นไปได้ คือ ๑๕+๓๐+๙๐+๙๐ วัน เท่ากับ ๗ เดือนครึ่งนับแต่ต้นมิถุนายน ๒๕๖๑ การเลือกตั้งจะมีได้ประมาณกลางกุมภาพันธ์ ๒๕๖๒

กรณีที่สอง หากขั้นตอน ๑-๓ ใช้เวลา ๓๐ วัน เวลาที่ใช้ คือ ๓๐+๓๐+๙๐+๙๐ วัน เท่ากับ ๘ เดือน การเลือกตั้ง จะมีขึ้นปลาย กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒

กรณีที่สาม หากขั้นตอนที่ ๔ ใช้เวลา ๖๐ วัน เวลาที่ใช้คือ ๓๐+๖๐+๙๐+๙๐ วัน เท่ากับ ๙ เดือน การเลือกตั้งจะมีขึ้นในเดือนมีนาคม ๒๕๖๒

กรณีที่สี่ หากขั้นตอนที่ ๔ ใช้เวลา ๙๐ วันเวลาที่ใช้คือ ๓๐+๙๐+๙๐+๙๐ วัน เท่ากับ ๑๐ เดือน การเลือกตั้งจะมีขึ้นในเดือนเมษายน ๒๕๖๒

กรณีที่ห้า หากขั้นตอนที่ ๖ กกต.ใช้เวลา ๑๒๐ วัน วันเวลาที่ใช้คือ ๓๐+๙๐+๙๐+๑๒๐ วัน เท่ากับ ๑๑ เดือน การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๒

กรณีที่หก หากขั้นตอนที่ ๖ กกต.ใช้เวลาเต็มที่ ๑๕๐ วัน วันเวลาที่ใช้ คือ ๓๐+๙๐+๙๐+๑๕๐ วัน เท่ากับ ๓๖๐ วัน หรือ เดือน มิถุนายน ๒๕๖๒

หากใช้วิธีการคิดทางคณิตศาสตร์แบบหยาบๆ กรณีที่จะเกิดการเลือกตั้งในเดือน กุมภาพันธ์ ปี ๒๕๖๒ จะมีเพียงแค่ ๒ ทางเลือกใน ๖ ทางเลือกที่เป็นไปได้ โอกาสความน่าจะเป็นจึงมีประมาณ ๑ ใน ๓ หรือประมาณร้อยละ ๓๐ ส่วนที่จะเกิดขึ้นจริงในวันใด เป็นเรื่องที่ทุกฝ่าย (ยกเว้นขั้นตอนในพระราชอำนาจที่มิอาจเร่งรัด) ต้องจริงใจในการเดินหน้าประเทศสู่การเลือกตั้ง โดยหวังว่าคงไม่มีเรื่องการใช้อภินิหารทางกฎหมายใดๆมายื้อการเลือกตั้งออกไปอีก”

โอกาสได้เลือกตั้ง ก.พ.ปี ๖๒ มีร้อยละ ๓๐แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยว่า ร่าง พรป.ส.ส.ไม่มีส่วนใดที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ…

โพสต์โดย Somchai Srisutthiyakorn เมื่อ วันพุธที่ 30 พฤษภาคม 2018


 

RELATED ARTICLES

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img