พร้อมขับเคลื่อน”แม่ฮ่องสอนโมเดล”เพิ่มรายได้เกษตรกร 3 เท่าในปี 70

418

พร้อมขับเคลื่อน”แม่ฮ่องสอนโมเดล”เพิ่มรายได้เกษตรกร 3 เท่าในปี 70

จากที่ กรมส่งเสริมการเกษตร เปิด Kick off “แม่ฮ่องสอนโมเดล” ภายใต้นโยบายของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรฯ เพื่อพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำ มุ่งเป้าจ.แม่ฮ่องสอน ให้เป็นต้นแบบการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนใช้หลักการเกษตรแม่นยำ พัฒนาตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การเตรียมการก่อนปลูกได้แก่ ตลาดแม่นยำ พื้นที่แม่นยำ พันธุ์แม่นยำ การดูแลรักษา ได้แก่ ปุ๋ยแม่นยำ น้ำแม่นยำ เครื่องจักรกลแม่นยำการจัดการโรคและแมลงแม่นยำ และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวแม่นยำ และการจำหน่ายแม่นยำ

นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า สำหรับการขับเคลื่อน แม่ฮ่องสอนโมเดลได้ตั้งเป้าหมายที่จะบรรลุภายในปี 70 ประกอบด้วยปรับเพิ่มสภาพการผลิตภาพการผลิต 8 มิติ สู่เกษตรมูลค่าสูงด้วยเกษตรแม่นยำ ทั้งเรื่อง ที่ดิน ดินและปุ๋ย น้ำ ทักษะเกษตรกร เทคโนโลยี ทุน ป่าชุมชน และตลาด ซึ่งมีสินค้าเกษตรที่สามารถยกระดับเป็นสินค้ามูลค่าสูงเนื่องจากพื้นที่ของแม่ฮ่องสอนเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง ทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ นอกจากการขับเคลื่อนแนวทางยกระดับสินค้าเกษตร ต้องมองในมิติการอยู่ร่วมกับป่า และไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติเชื่อมต่อการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและสามารถสร้างพื้นที่การทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคการศึกษา

“การดำเนินโครงการแม่ฮ่องสอนโมเดล วางเป้าขับเคลื่อน 29 โครงการ ทั้งหมดนี้จะทำให้เกษตรกรในพื้นที่มีรายได้สุทธิที่เพิ่มขึ้น 3 เท่าในปี 70 ซึ่งจะเกิดความหลากหลายของรายได้ที่ยั่งยืนจากการทำเกษตรผสมผสาน พืชมูลค่าสูง เน้นผลิตเพื่อความมั่นคงด้านอาหาร ใช้พื้นที่น้อยโดยจะเพิ่มกำไรสุทธิและบริหารจัดการต้นทุนด้วย เทคโนโลยีพลังงานสะอาดแบบดิจิทัลชีวภาพ ซึ่งภายใต้โครงการนี้จะทำให้เกษตรกรและผู้บริโภคมีความพึงพอใจจากคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย มีประสบการณ์ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และอาหารเชิงวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ อีกทั้งภายในพื้นที่แม่ฮ่องสอนยังมีสินค้าเกษตรพื้นที่สูงที่มีเอกลักษณ์มีคุณค่า ส่งเสริมพลังงานสีเขียว ส่งเสริมพลังงานสีเขียวด้วยระบบไฟฟ้าพลังงานสะอาด มาตรฐานสิ่งแวดล้อมสุขภาพและโภชนา สามารถเข้าถึงง่ายและสะดวกด้วยแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซและการจัดส่งสินค้าที่มีคุณภาพ มีความมั่นคงด้านอาหาร สร้างความหลากหลายทางชีวภาพป่าชุมชน food bank สร้างงานวิจัยและพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์เกษตรสู่พรีเมี่ยม สินค้าอาหารสุขภาพ สินค้าเวชสำอางและสินค้าเภสัชพันธุ์ มีการเชื่อมต่อธุรกิจท่องเที่ยวและบริการอาหารสุขภาพ และห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตรมูลค่าสูง ตลอดจนเพิ่มโอกาสให้เกษตรกรเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ”นายพีรพันธ์ กล่าว

สำหรับการขับเคลื่อนแบ่งเป็น 6 โมเดลย่อย ได้แก่ ที่ดินและดิน น้ำ พืช ปศุสัตว์ ประมง เกษตรที่สูงสำหรับโมเดลย่อยพืช เป็นส่วนที่กรมส่งเสริมการเกษตรจะขับเคลื่อน ผ่าน 9 โครงการ เช่น ส่งเสริมการผลิตและการตลาดถั่วลิสงลายเสือ การผลิตและการตลาดพริกและกระเทียม การพัฒนากาแฟตลอดห่วงโซ่อุปทานเพิ่มประสิทธิการการผลิตกระเทียมอินทรีย์ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดข้าว และเพิ่มประสิทธิภาพและปริมาณการผลิต plant base food และเกษตรผสมผสาน เป็นต้น.

#Thaitabloid#สำนักข่าวไทยแทบลอยด์#แม่ฮ่องสอน#ข่าวการเกษตรวันนี้