พล.ต.อ.วินัย -พล.ต.อ.เอก“นำทีมนายพลขิงแก่ แท็กทีม ILow เร่งล่ารายชื่อ จี้รัฐบาล ปฏิรูปตำรวจ โดยตำรวจ และประชาชน”สมาคมตำรวจและภาคีเครีอข่ายเผย”ปฏิรูปตำรวจ
วันนี้ (16 พ.ค. 2567) เวลา 11.00 น.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้มีการแถลงข่าวการปฏิรูปตำรวจเพื่อประชาชน ที่โรงแรมโนโวเทลสยามสแควร์ โดย
พล.ต.อ.วุทฒิชัย ศรีรัตนวุทฒิ ประธานชมรมพนักงานสอบสวน, พล.ต.อ.วินัย ทองสอง นายกสมาคมตำรวจ, พล.ต.อ.ศักดา เตชะเกรียงไกร นายกสมาคมโรงเรียนนายร้อยตำรวจ, พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ ที่ปรึกษาชมรมพนักงานสอบสวน, รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงศ์ พูตระกูล รองอธิการบดี และประธานกรรมการ คณะอาชญาวิทยาๆ มหาวิทยาลัยรังสิต, ผศ.ดร.นพดล กรรณิกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ภาคประชาชน) นโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ผู้ก่อตั้งสำนักวิจัย Superpoll และ คุณยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการและแกนนำกลุ่ม iLaw
ในการแถลงข่าว ผศ.ดร.นพดล กรรณิกา ได้มีการเปิดเผยผลสำรวจของSuperpoll เกี่ยวกับวิกฤติศรัทธาในวงการตำรวจ จึงมีความจำเป็นต้องมีการปฏิรูปตำรวจเพื่อฟื้นศรัทธาของประชาชน และพล.ต.อ.วินัย ทองสองได้เพิ่มเติมว่านอกจากประชาชนแล้ว ตำรวจด้วยกันเองก็ยังเรียกร้องให้มีการปฏิรูปด้วยเช่นกัน โดยจะมีกรอบการเรียกร้องอยู่ 4 หัวข้อ คือ
1.ประชาชนจะได้อะไร ได้กล่าวถึงทุกข์ของประชาชนคือทุกข์ของตำรวจ ประชาชนที่เดือดร้อนจะต้องได้รับตำรวจและบริการที่ดี เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม ควบคุมอาชญากรรมให้อยู่ในประชาชนรับได้
2.พฤติกรรมตำรวจที่ไม่เหมาะสม โดย พล.ต.อ.ศักดา เตชะเกรียงไกร ได้กล่าวถึงตำรวจที่ประชาชนต้องการนั้น ต้องไม่ไปเรียกรับผลประโยชน์ ตำรวจทำต้องหน้าที่ด้วยความเป็นกลาง ชื่อสัตย์สุจริตและรับผิดชอบโดยผู้บังคับบัญชาต้องเป็นแบบอย่าง
3.แก้ไขความขาดแคลน โดยพล.ต.อ.วินัย ทองสอง ได้เรียกร้องให้แก้ปัญหาที่ตรงจุด คือเน้นที่สถานีตำรวจในประเด็น- กำลังพลที่ขาดแคลน โดยเฉพาะสายงานสอบสวน และสายป้องกันปราบปราม- การบริหารงบประมาณที่มีประสิทธิภาพของหัวหน้าสถานี- เครื่องมือ เครื่องใช้ วัสดุอุปกรณ์ ที่ไม่เพียงพอแก่การปฏิบัติหน้าที่ – สวัสดิการ บ้านพัก เบี้ยเลี้ยง เงินค่าล่วงเวลา หรือ O.T. ที่ไม่เพียงพอ ฯลฯ
4.แก้ไขพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 เพิ่มเติมให้มีประสิทธิภาพต่อการปฏิรูปตำรวจ โดย-พล.ต.อ.วุทฒิชัย ศรีรัตนวุทฒิ ได้เสนอการพัฒนาระบบการสอบสวนเพื่อประชาชน ให้พนักงานสอบสวนมี Service Mind มีจริยธรรม และคุณธรรม ความรู้ความสามารถ มีความทันสมัยเพื่อบริการที่ดีให้ประทับใจแก่ประชาชน
ด้าน พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ ได้นำเสนอการแก้ไขในประเด็น องค์ประกอบ ก.ตร.การแก้ไขที่มาของคณะกรรมการ ก.ร.ตร. การแก้ไขเรื่องสายงานที่เป็นอุปสรรคและไม่เป็นธรรม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ฯลฯ
รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงศ์ พูตระกูล ได้แถลงเพิ่มเติมถึงความจำเป็นต้องปฏิรูปตำรวจ และคุณยิ่งชีพอัขฌานนท์ ได้นำเสนอในประเด็นที่จะแสวงหาแนวทางที่ประชาชนจะมีส่วนร่วมในการปฏิรูปตำรวจได้อย่างไร ในช่วงท้าย
พล.ต.อ.วินัย ทองสอง ได้เรียกร้องเชิญชวนให้ทั้งตำรวจและประชาชนต้องมีศรัทธาร่วมกันในการปฏิรูปตำรวจเนื่องจากขณะนี้เรียกได้ว่าถึงจุดตกต่ำสุดของวงการตำรวจแล้ว หากได้เริ่มทำด้วยกันแล้วจะทำให้วงการตำรวจดีขึ้นอย่างแน่นอน”ปฏิรูปตำรวจ ไม่ต้องรอกฎหมาย ทำได้ทันที””พล.ต.อ.วินัย กล่าว“
ทั้งนี้สมาคมตำรวจฯ ได้ร่วมกับ ILAW เปิดให้ร่วมแสดงความคิดเห็น และร่วมลงชื่อร่วม “ปฏิรูปตำรวจ2567” แสดงความเห็นต่อ ร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ ( ฉบับแก้ไข ) …ผ่านเว็บไซต์ ……… URL …. โดยจะเสนอเข้าสภา….
สมาคมตำรวจ และภาคีเครือข่าย เห็นพ้องกันว่า ปัญหาขององค์กรตำรวจนอกจากเรื่องการบริหารบุคคลแล้ว เรื่องกำลังพล การจัดสรรงบประมาณ ค่าตอบแทน ที่ไม่สอดคล้องกับภาระ หน้าที่ ความรับผิดชอบ และปริมาณงาน ซึ่งกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่กัดกร่อนองค์กรตำรวจ นำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ เช่น งานล้น เป่าคดี การคอร์รัปชัน เรียกรับ ยอมรับผลประโยชน์ การปฏิรูปตำรวจ2567 จะผลักดันขับเคลื่อนเรื่องค่าตอบแทน งบประมาณให้สอดคล้อง เหมาะสม เป็นประเด็นสำคัญที่ต้องทำให้เห็นเป็นรูปธรรมด้วย เพื่อทำให้ตำรวจสามารถทำงานดูแล บริการประชาชนอย่างเป็นตำรวจอาชีพ มีประสิทธิภาพ สร้างความเชื่อมั่นศรัทธาต่อองค์กรตำรวจและกระบวนการยุติธรรรมโดยรวม
พล.ต.อ.เอก กล่าวว่า กรอบการเรียกร้องให้ปฏิรูป ตำรวจ ต้องมองว่าประชาชนได้อะไร,พฤติการณ์ของตำรวจไม่เหมาะสม,แก้ไขความขาดแคลนและการแก้ไขกฎหมายทั้งนี้การปฏิรูปเพื่อให้การบริหารบุคคลเป็นไปตามระบบคุณธรรมมีความธรรมาภิบาลต้องมีการปรับโครงสร้าง ก.ตร. ประธาน มาจากการเลือกตั้ง ,สัดส่วน ก.ตร. โดยตำแหน่งกับการเลือกตั้งเท่ากัน และ ก.ตร. ผู้ทรงคุณวุฒิมาจากการเลือกตั้งของ ก.ตร.ขณะที่นายยิ่งชีพ กล่าวว่ากระแสที่ประชาชนเรียกร้องอยากให้ปฏิรูปตำรวจมีมานานแล้ว ตนเห็นด้วย กับ รศ.ดร.พ.ต.ท.กฤษณะพงษ์ แบบแผนตำรวจที่ เป็นแบบปัจจุบันใครเข้าสู่อำนาจทางการเมืองตำรวจก็พร้อมจะทำงานให้ และเมื่อตำรวจทำงานให้เพื่อการรักษา อำนาจทางการเมือง อาทิการปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุม การดำเนินคดีกับฝ่ายตรงข้ามไม่ดำเนินคดีกับอีกฝ่ายหนึ่ง ผู้ที่มีอำนาจในการเมืองก็ไม่จำเป็นต้องเร่งที่จะต้องปฏิรูปการตำรวจ เพราะได้ประโยชน์ประชาชนมีสิทธิ์ที่จะเข้าชื่อเสนอหากต้องการจะแก้ไขพระราชบัญญัติ เพียงแค่ 10,000 รายชื่อลงชื่อร่วมกัน ยุคนี้ตนต้องบอกว่าเป็นยุคทองของการลงชื่อให้ประชาชนสามารถเข้าร่วม เสนอแก้ไขกฎหมายได้ ลงชื่อทางออนไลน์ก็ได้แต่นอกเหนือการตอบรับจากประชาชนตนก็อยากเห็นภาพจากตำรวจหรืออดีตตำรวจที่ชูธงการปฏิรูปองค์กรภายใน 10,000 รายชื่อ“ผมเชื่อว่าพลังจากภายในของตำรวจเอง รัฐบาลปฏิเสธได้ไม่ยาก ถ้าทุกท่านลงมือช่วยกันจริงก็น่าจะเป็นจริงได้ ฉะนั้นหวังว่ากระบวนการนี้ จะเห็นว่าขับเคลื่อนในรัฐบาลชุดนี้ ถ้ารัฐบาลตอบรับหรือไม่ตอบรับ เราก็สามารถผลักดันในกระบวนการรัฐธรรมนูญและสมาชิกวุฒิสภาในอนาคต และหวังว่าการเลือกตั้งครั้งต่อไปนอกจากการปฏิรูปกองทัพการศึกษาการปฏิรูปตำรวจน่าจะเป็นนโยบายที่พรรคการเมืองใช้หาเสียง”
นายยิ่งชีพ กล่าวในตอนท้ายของการแถลงข่าวพล.ต.อ.วินัย กล่าวสรุปว่าเรามาเรียกร้องให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติและตำรวจ ต้องปฏิรูปพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้นต้องเข้มงวดกวดขันสิ่งเหล่านี้เราได้สะท้อนไปแล้วว่าประชาชนต้องการหรือไม่ต้องการอะไรบ้างตนอยากเห็นสถานีตำรวจมีงบประมาณเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์เครื่องใช้สมบูรณ์ไม่ว่าจะเป็น น้ำมันหรืออุปกรณ์ต่างๆอยากเห็นหัวหน้าสถานีตำรวจเป็นคนดีมีความสามารถซื่อสัตย์สุจริตได้รับการแต่งตั้งจากผลงานไม่ใช่การฝากฝังเจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยู่ในสถานีต้องเป็นผู้ที่smart policeทั้งร่างกายและจิตใจเห็นทุกข์สุขพี่น้องประชาชนเหมือนทุกข์สุขของตัวเองมีความกระตือรือร้นที่จะเข้าไปช่วยเหลือพี่น้องที่ได้รับความเดือดร้อน สิ่งที่เราเรียกร้องคือให้เพียงพอต่อให้ตำรวจทำงาน ไม่ได้เรียกร้องให้มากเกินไปเมื่อถามว่าสิ่งที่จะเป็นรูปธรรมบันไดขั้นแรกของการปฎิรูปตำรวจคือสิ่งใด
พล.ต.อ.วินัย กล่าวว่า คือเรามีข้อมูล ว่ากำลังพลของแต่ละโรงพักมีเท่าใด เราก็จะต้องไปเรียกร้องให้มีจำนวนกำลังพลเพียงพอ และเราจะไปเรียกร้อง การดูแลงบประมาณ ในเรื่องสาธารณูปโภค วิ่งวอนไปถึงทุกส่วน ไปถึงรัฐบาลฝ่ายค้านทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง“แต่สิ่งที่ยากที่สุดในการปฏิรูปตำรวจคือการที่ผู้มีอำนาจไม่ยอมปล่อยอำนาจ” พล.ต.อ.วินัย กล่าวพล.ต.อ.เอก กล่าวเสริมว่า ตราบใดที่นายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ ทั้งที่ท่านยืนอยู่ 2 ขา คือเป็น ผู้บังคับบัญชาของฝั่งการเมืองด้วยก็จะมีการครอบงำของการเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เมื่อถามว่าประเด็นพนักงานสอบสวนที่จะมีการปรับปรุงเรื่องการเติบโตทางหน้าที่ จากการปฏิรูปครั้งนี้จะจัดการผู้ที่เคยล้มล้างระบอบที่มีมาอยู่ก่อนนี้อย่างไร จะต้องมีใครออกมาแสดงความรับผิดชอบอย่างไรบ้าง พล.ต.อ.วินัย ปัดตอบในคำถามดังกล่าวพร้อมระบุว่าขอให้เรื่องนี้เป็นการพูดคุยกันนอกรอบการแถลง ขณะที่พล.ต.อ.เอก กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นผู้แก้ไขเรื่องนี้เมื่อถามว่าการปฏิรูปตำรวจในครั้งนี้จะนำมาซึ่งการแก้ปัญหาคอรัปชั่นในองค์กรหรือไม่ พล.ต.อ.วินัยระบุว่า ตนพูดตั้งแต่แรกแล้วว่า เราต้องมีศรัทธาว่าการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้น เมื่อถามย้ำว่าท่านยอมรับหรือไม่ว่าในองค์กรตำรวจมีการคอรัปชั่น ผศ.ดร. นพดล กล่าวว่า ทุกองค์กรมีปัญหาเรื่องการคอรัปชั่น แต่องค์กรตำรวจ เป็นองค์กรที่ถูกเพ่งเล็งเพราะทำงานใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุดรศ.ดร.พ.ต.ท. กฤษณพงศ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า ระยะเร่งด่วนทำได้ทันที ผู้กำหนดนโยบายอย่างนายกรัฐมนตรีวันนี้ท่านทราบข้อมูลแล้วว่าตำรวจทำงานบนพื้นฐานความขาดแคลนขอให้ท่านได้สำรวจไว้ว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายใดขาดแคลนอะไรบ้าง การที่ตำรวจทำงานบนพื้นฐานความขาดแคลนจะนำมาซึ่งปัญหาคอรัปชั่นและขอให้ตัวตำรวจกลับมาทบทวนตัวเองว่าทำงานตอบโจทย์ประชาชนแล้วหรือไม่ เคารพในตัวกฎหมาย กฎระเบียบหรือไม่ ก่อนจะอยากเปลี่ยนแปลง ส่วนในระยะยาว ส่วนท้องถิ่นก็จะต้องเข้ามา มีส่วนร่วมกับองค์กรตำรวจเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
#Thaitabloid#สำนักข่าวไทยแทบลอยด์#ตำรวจ และประชาชน