แอดบนเมนู
หน้าแรกแท็กธนาคารกรุงเทพ

ธนาคารกรุงเทพ

ธนาคารกรุงเทพ ร่วมงาน ‘มหกรรมการเงินโคราช ครั้งที่ 14’

ชวนพี่น้องชาวอีสานสัมผัสประสบการณ์การเงินการลงทุนครบวงจร ยุค Next Normal   "เพื่อนคู่คิด" – ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) นำโดย ดร.ทวีลาภ ฤทธาภิรมย์ กรรมการผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ และ นางสาวพจณี คงคาลัย ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ร่วมให้การต้อนรับ นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานเปิดงานฯ นายเทวัญ ลิปตพัลลภ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายประเสริฐ บุญชัยสุข อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม...

ธนาคารกรุงเทพรายงานกำไรสุทธิครึ่งแรกปี 2563 จำนวน 10,765 ล้านบาท ในครึ่งแรกของปี 2563

เศรษฐกิจไทยหดตัวอย่างหนักจากผลกระทบของมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (โควิด-19) มาตรการปิดเมืองทั่วโลกและมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศเป็นผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวหดตัวอย่างหนักประกอบกับการส่งออกและการนำเข้าสินค้าของไทยลดลงตามความต้องการของประเทศคู่ค้าที่อ่อนแอส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศลดลงตามไปด้วยการบริโภคภาคเอกชนลดลงอย่างมากจากยอดขายรถยนต์ที่ลดลงและการหยุดชะงักของกิจกรรมภาคบริการการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการลงทุนหดตัวจากความต้องการที่ลดลงทั้งในและต่างประเทศอย่างไรก็ดีการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐขยายตัวจากการเร่งเบิกจ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปีนี้ นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบทางเศรษฐกิจต่อประชาชนและผู้ประกอบการในหลายภาครัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงได้ออกมาตรการต่างๆเพื่อผ่อนคลายผลกระทบดังกล่าวมาเป็นลำดับในการนี้ธนาคารกรุงเทพได้ร่วมสนับสนุนนโยบายของภาครัฐและธนาคารแห่งประเทศไทยโดยเร่งออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าธุรกิจอาทิการสนับสนุนวงเงินสินเชื่อเพิ่มเติมการพักชำระหนี้และออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยโดยปรับลดอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำเพิ่มวงเงินรวมทั้งปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นการทั่วไปสำหรับทั้งลูกค้าธุรกิจและลูกค้ารายย่อยด้วยความเข้าใจถึงสถานการณ์ที่ผู้ประกอบการและประชาชนยังคงเผชิญอยู่ธนาคารกรุงเทพมีความมุ่งมั่นพร้อมเป็น “เพื่อนคู่คิด” ที่จะประคับประคองให้ลูกค้าผู้ประกอบการและประชาชนสามารถผ่านช่วงวิกฤตนี้ไปได้ด้วยการให้คำปรึกษาและความช่วยเหลือลูกค้าให้มีเงินทุนและสภาพคล่องเพียงพอเพื่อเสริมศักยภาพในการรับมือกับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิค-19 นอกจากนี้ธนาคารมีความห่วงใยในสวัสดิภาพและความปลอดภัยของลูกค้าพนักงานและประชาชนเป็นสำคัญโดยได้ดำเนินการตามมาตรฐานด้านสุขอนามัยเพื่อร่วมป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของ โรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัดและพร้อมเคียงข้างในการเป็นเพื่อนคู่คิดเพื่อก้าวผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน ธนาคารกรุงเทพต้อนรับธนาคารเพอร์มาตาเข้าสู่ครอบครัวเสร็จสมบูรณ์ในเดือนพฤษภาคม 2563 เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563 ธนาคารกรุงเทพได้เข้าถือหุ้นธนาคารเพอร์มาตาในประเทศอินโดนีเซียที่ร้อยละ 89.12 เสร็จสมบูรณ์นับเป็นสมาชิกใหม่ในกลุ่มธุรกิจการเงินของธนาคารกรุงเทพที่จะเสริมสร้างศักยภาพการให้บริการด้านการเงินเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในการดำเนินธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนได้ดียิ่งขึ้นซึ่งการดำเนินการในครั้งนี้สอดคล้องกับกลยุทธ์ของธนาคารในการเสริมสร้างรากฐานเพื่อการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนสำหรับงบการเงินรวมของธนาคารกรุงเทพและบริษัทย่อยในครึ่งแรกของปี 2563 ได้รวมผลประกอบการของธนาคารเพอร์มาตาตั้งแต่วันที่ธนาคารเข้าถือหุ้นโดยธนาคารเพอร์มาตามีสินทรัพย์ณสิ้นเดือนมิถุนายน 2563 จำนวน 336,964 ล้านบาทและหนี้สินจำนวน 285,022 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 9 ของสินทรัพย์รวมและร้อยละ 8 ของหนี้สินรวมของธนาคาร ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจหดตัวอย่างหนักทั่วโลกและความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้าจากผลกระทบของสถานการณ์โควิด-19 ธนาคารกรุงเทพยังคงยึดมั่นแนวทางในการดำเนินธุรกิจด้วยความรอบคอบและระมัดระวังควบคู่กับการดำรงฐานะการเงินและเงินกองทุนของธนาคารอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินที่ยั่งยืนพร้อมก้าวเข้าสู่บริบทใหม่ของการดำเนินชีวิต (New Normal) ณสิ้นเดือนมิถุนายน 2563 ธนาคารมีเงินให้สินเชื่อจำนวน 2,353,848 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 จากสิ้นปี 2562 หากไม่รวมธนาคารเพอร์มาตาเงินให้สินเชื่อเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 จากสินเชื่อธุรกิจซึ่งเป็นไปตามประมาณการสินเชื่อที่คาดไว้ตั้งแต่ปลายปีก่อนสำหรับอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตต่อเงินให้สินเชื่อรวมอยู่ที่ร้อยละ 4.1 ขณะที่อัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตต่อเงินให้สินเชื่อรวมที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตอยู่ที่ร้อยละ 170.5 ทั้งนี้ธนาคารยังคงอยู่เคียงข้างและดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิดเพื่อฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจและก้าวเข้าสู่บริบทใหม่ของการดำเนินชีวิต (New Normal) พร้อมทั้งให้ความสำคัญในการดูแลกระบวนการอำนวยสินเชื่อและบริหารความเสี่ยงควบคู่กับการดำรงค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมซึ่งเป็นไปตามแนวทางการดำเนินธุรกิจด้วยความระมัดระวังทั้งในภาวะเศรษฐกิจปกติและภาวะถดถอยด้านเงินกองทุนและสภาพคล่องณวันที่ 30 มิถุนายน 2563 ธนาคารมีเงินรับฝากจำนวน 2,852,295 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.3 จากสิ้นปี 2562 หากไม่รวมธนาคารเพอร์มาตาเงินรับฝากเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 จากเงินรับฝากทุกประเภทจากการที่ลูกค้ามุ่งเน้นการบริหารสินทรัพย์โดยเน้นกลยุทธ์เชิงคุณภาพสำหรับอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินรับฝากอยู่ที่ร้อยละ 82.5 สะท้อนถึงสภาพคล่องที่เพียงพอรองรับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจขณะที่อัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของและอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ต่อสินทรัพย์เสี่ยงของธนาคารและบริษัทย่อยอยู่ที่ร้อยละ 16.6 ร้อยละ 14.0 และร้อยละ 14.0 ตามลำดับซึ่งอยู่ในระดับที่สูงกว่าอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ำตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด กำไรสุทธิของธนาคารกรุงเทพและบริษัทย่อยในครึ่งแรกของปี 2563 มีจำนวน 10,765 ล้านบาท ธนาคารกรุงเทพและบริษัทย่อยรายงานกำไรสุทธิครึ่งแรกของปี 2563 จำนวน 10,765 ล้านบาทซึ่งได้รวมผลประกอบการของธนาคารเพอร์มาตาตั้งแต่วันที่ธนาคารเข้าถือหุ้นโดยกำไรสุทธิลดลงจากครึ่งแรกของปี 2562 เนื่องจากธนาคารมีการตั้งผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษเพื่อกันเงินสำรองสำหรับความไม่แน่นอนที่อาจเพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจที่หดตัวจากผลกระทบของสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งการคาดการณ์วิกฤตในครั้งนี้ยังยากที่จะคาดคะเนเพราะเป็นวิกฤตด้านสาธารณสุขที่ส่งผลกระทบกว้างไกลต่อระบบเศรษฐกิจโลกไม่ใช่วิกฤตเศรษฐกิจโดยตรงเหมือนที่ผ่านมาในอดีตสำหรับรายได้ดอกเบี้ยสุทธิของธนาคารเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 หากไม่รวมธนาคารเพอร์มาตารายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ตามการเติบโตของสินเชื่อขณะที่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิของธนาคารอยู่ที่ร้อยละ 2.31 สำหรับรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงส่วนใหญ่จากกำไรสุทธิจากเงินลงทุนและรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิลดลงสาเหตุหลักจากการเปลี่ยนแปลงการรับรู้รายได้ค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวกับการให้สินเชื่อตาม TFRS 9 สำหรับค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอยู่ในระดับใกล้เคียงกับครึ่งแรกของปี 2562 โดยมีอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้จากการดำเนินงานอยู่ที่ร้อยละ 45.0 โดยธนาคารยังคงดูแลค่าใช้จ่ายอย่างมีวินัยเน้นการใช้จ่ายที่ช่วยเสริมสร้างความปลอดภัยด้านสาธารณสุขรวมถึงการดำเนินการปรับปรุงระบบงานให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นและชะลอการใช้จ่ายที่ยังไม่จำเป็นในช่วงภาวะซบเซาการนำมาตรฐานกลุ่มเครื่องมือทางการเงินฉบับใหม่มาถือปฏิบัติ ธนาคารและบริษัทย่อยได้นำมาตรฐานกลุ่มเครื่องมือทางการเงินฉบับใหม่ (ฉบับที่ 9) มาถือปฏิบัติกับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไปโดยไม่ปรับงบการเงินเปรียบเทียบย้อนหลังการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญได้แก่การจัดประเภทและการวัดมูลค่าสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินการคำนวณการด้อยค่าของสินทรัพย์ทางการเงินโดยใช้ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Loss) การบัญชีป้องกันความเสี่ยงและการรับรู้รายได้ดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อโดยใช้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Effective Interest Rate: EIR)

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) แจ้งขออภัยในความไม่สะดวก กรณีขอปิดปรับปรุงระบบงานชั่วคราว

เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการบริการให้ดียิ่งขึ้นซึ่งจะทำให้ลูกค้าของธนาคารและลูกค้าต่างธนาคารไม่สามารถใช้บริการในวันและช่วงเวลาที่กำหนดได้ตามรายละเอียดดังนี้ วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคมพ.ศ.2563 เวลา 23.00 น.– วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคมพ.ศ.2563 เวลา 08.00 น.• บริการโมบายแบงก์กิ้งจากธนาคารกรุงเทพ (Bangkok Bank Mobile Banking)• บริการบัวหลวงไอแบงก์กิ้ง (Bualuang iBanking)• บริการบิซไอแบงก์กิ้ง (BIZ iBanking)วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคมพ.ศ.2563 เวลา 00.00 น. – 02.30 น.• บริการโอนเงินพร้อมเพย์ (PromptPay) จากต่างธนาคารเข้าบัญชีของธนาคารกรุงเทพและจากเครื่องบัวหลวงเอทีเอ็ม (ATM)• บริการ eWallet• บริการชำระบิลข้ามธนาคาร (Cross Bank Bill Payment)• บริการชำระค่าสินค้าและบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต (E-commerce) ด้วยบัตรเดบิตธนาคารกรุงเทพ• ลงทะเบียนสมัครใช้บริการ Direct Debit บริการ SMS ผ่านเครื่องบัวหลวงเอทีเอ็ม (ATM) บริการโมบายแบงก์กิ้งจากธนาคารกรุงเทพ (Bangkok Bank Mobile Banking) และบริการบัวหลวงไอแบงก์กิ้ง (Bualuang iBanking)• บริการซื้อ-ขายกองทุนเปิดและพันธบัตรผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆของธนาคาร• ธุรกรรมการโอนเงินบุคคลที่ 3 โอนเงินต่างธนาคาร (ORFT) และชำระค่าสินค้าและบริการผ่านเครื่องบัวหลวงเอทีเอ็ม (ATM) จะไม่ได้รับ SMS แจ้งการทำรายการ ทั้งนี้ธนาคารขออภัยลูกค้าทุกท่านสำหรับความไม่สะดวกในครั้งนี้ด้วยโดยสามารถติดตามและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากสื่อประชาสัมพันธ์ของธนาคารกรุงเทพทุกช่องทางได้แก่www.bangkokbank.com, Bangkok Bank Line Official หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร.1333 หรือ 0 2645 5555

ธนาคารกรุงเทพ ขานรับนโยบายธปท. เรื่อง มาตรการช่วยเหลือลูกค้ารายย่อย

ครอบคลุมลูกค้าบัตรเครดิตลูกค้าสินเชื่อบุคคลภายใต้การกำกับลูกค้าสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ระยะที่ 2 ทั้งปรับลดเพดานดอกเบี้ยเป็นการทั่วไปขยายเพิ่มวงเงินและมาตรการขั้นต่ำเพิ่มเติมรวมถึงการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพื่อช่วยบรรเทาภาระให้ลูกหนี้ นายสุวรรณ แทนสถิตย์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ประกาศมาตรการเพิ่มเติมระยะที่ 2 เพื่อช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 (COVID-19) นั้นธนาคารเข้าใจถึงสถานการณ์ที่ประชาชนยังคงเผชิญอยู่ด้วยเหตุนี้จึงได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยครอบคลุมลูกค้าบัตรเครดิตลูกค้าสินเชื่อบุคคลภายใต้การกำกับลูกค้าสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันโดยเน้นการปรับลดเพดานดอกเบี้ยเป็นการทั่วไปการเพิ่มวงเงินและมาตรการขั้นต่ำเพิ่มเติมเช่นการลดอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำการเปลี่ยนสินเชื่อระยะสั้นเป็นระยะยาวการลดค่างวดการเลื่อนชำระค่างวดหรือเงินต้นเป็นต้นรวมถึงการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพื่อช่วยลูกค้าลดความวิตกและกังวลใจจากผลกระทบดังกล่าว สำหรับมาตรการช่วยเหลือลูกค้าดังกล่าวประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้ 1.) สินเชื่อบัตรเครดิตมาตรการทั่วไป- ปรับลดเพดานดอกเบี้ยมาอยู่ที่ 16% ต่อปี (จากเดิม 18% ต่อปี) มีผลตั้งแต่.วันที่ 1 สิงหาคม 2563- ขยายวงเงินให้แก่ลูกค้าที่มีความจำเป็นและมีประวัติการชำระหนี้ที่ดีมาอย่างต่อเนื่องสำหรับลูกค้าที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 30,000 บาทจาก 1.5 เท่าเป็น 2 เท่าเป็นการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2563 สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2564มาตรการขั้นต่ำ-ลูกค้าสามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563- คงอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำ 5% ในปี 2563-2564 เป็น 8% ในปี 2565 และ 10% ในปี 2566- เปลี่ยนประเภทเป็นสินเชื่อที่มีระยะเวลา (term loan) 48 งวดหรือขยายระยะเวลาตามความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้าโดยคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 12% ต่อปีทั้งนี้การพิจารณาให้ใช้วงเงินที่เหลืออยู่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การพิจารณาของธนาคารโดยเมื่อรวมกับยอดคงเหลือของสินเชื่อเดิมต้องไม่เกินกว่าวงเงินที่ได้รับการอนุมัติ- มีมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมสำหรับกลุ่มลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทำให้รายได้ไม่เพียงพอในการชำระหนี้โดยพิจารณาเป็นรายกรณี 2.) สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับมาตรการทั่วไป- ปรับลดเพดานดอกเบี้ยมาอยู่ที่ 25% ต่อปีมีผลตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2563- ขยายวงเงินให้แก่ลูกค้าที่มีความจำเป็นและมีประวัติการชำระหนี้ที่ดีมาอย่างต่อเนื่องสำหรับลูกค้าที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนหรือกระแสเงินสดหมุนเวียนเข้าในบัญชีเงินฝากเฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 30,000 บาทจาก 1.5 เท่าเป็น 2 เท่าเป็นการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2563 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2564มาตรการขั้นต่ำลูกค้าสามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563ประเภทสินเชื่อที่มีลักษณะหมุนเวียน (Revolving Loan)- ลดอัตราผ่อนขั้นต่ำตามความสามารถในการชำระหนี้- เปลี่ยนเป็นสินเชื่อที่มีระยะเวลา (term loan) 48 งวดหรือขยายระยะเวลาตามความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้าโดยคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 22% ต่อปีทั้งนี้จะพิจารณาให้ใช้วงเงินที่เหลือตามความสามารถในการชำระหนี้ตามเกณฑ์การพิจารณาของธนาคารประเภทสินเชื่อที่ผ่อนชำระเป็นงวด (Installment Loan)- ลดค่างวดอย่างน้อย 30% โดยคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 22% ต่อปี 3.) สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันลูกค้าสามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563- เลื่อนชำระค่างวด (เงินต้นและดอกเบี้ย) เป็นระยะเวลา 3 เดือนหรือ- เลื่อนชำระเงินต้น (จ่ายเฉพาะดอกเบี้ย) เป็นระยะเวลา 3 เดือนและพิจารณาลดดอกเบี้ยให้ลูกค้าแต่ละรายตามความเหมาะสมหรือ- ลดค่างวดโดยขยายเวลาการชำระหนี้- ช่วยเหลือเพิ่มเติมสำหรับกลุ่มลูกค้าสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันโดยพิจารณาเป็นรายกรณีตามหลักเกณฑ์การพิจารณาของธนาคาร 4.) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้- กรณีที่ลูกค้าไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามสัญญาหรือมาตรการขั้นต่ำหรือมาตรการอื่นธนาคารจะเร่งดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกค้าโดยคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้เพื่อช่วยเหลือลูกค้าและบรรเทาความเดือดร้อนเป็นการเร่งด่วนต่อไป “มาตรการเหล่านี้ธนาคารกรุงเทพได้เร่งดำเนินการเพื่อช่วยเหลือลูกค้าและบรรเทาความเดือดร้อนเป็นการเร่งด่วนโดยเน้นให้ความช่วยเหลือทั้งในวงกว้างแก่ลูกค้าเป็นการทั่วไปและความช่วยเหลือแบบเจาะจงสำหรับกลุ่มลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ซึ่งเน้นให้ความช่วยเหลือก่อนที่ลูกค้าจะกลายเป็นหนี้เสียมิฉะนั้นจะกระทบต่อประวัติเครดิตของลูกค้าอันจะเป็นผลเสียต่อการขอใช้บริการสินเชื่ออื่นๆในอนาคต” นายสุวรรณกล่าว สำหรับลูกค้าที่มีสินเชื่อหลายประเภทสามารถขอรับความช่วยเหลือได้ทุกประเภทสินเชื่อตามเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้นโดยเบื้องต้นลูกค้าสามารถแจ้งความประสงค์และลงทะเบียนได้ทางช่องทางเว็บไซต์ https://www.bangkokbank.com/COVID19-Update หรือ QR Code ตามแนบหรือสาขาธนาคารหรือสำนักธุรกิจของธนาคารกำหนดลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563 ขณะเดียวกันลูกค้าที่ไม่ได้รับผลกระทบรุนแรงหรือมีความสามารถผ่อนชำระสินเชื่อได้เช่นเดิมยังคงสามารถใช้บริการและชำระสินเชื่อต่างๆได้ตามปกติ ทั้งนี้ลูกค้าทุกท่านสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากสื่อประชาสัมพันธ์ของธนาคารกรุงเทพทุกช่องทางได้แก่ www.bangkokbank.com, Bangkok Bank Line Official หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่บัวหลวงโฟนโทร.1333 หรือ 0 2645 5555

ธนาคารกรุงเทพ เปิดตัว Bangkok Bank Mobile Banking ปรับดีไซน์ ทันสมัย

พร้อมเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ใช้งานง่าย สะดวกมากขึ้นตอบโจทย์ธุรกรรมการเงินยุค New Normalและโลกแห่ง Mobile First ตั้งเป้าผู้ใช้งานเติบโตแตะ 11 ล้านรายในสิ้นปีนี้  นางปรัศนี อุยยามะพันธุ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการยกระดับศักยภาพการให้บริการแก่ลูกค้าโมบายแบงก์กิ้งของธนาคารกรุงเทพ รวมทั้งตอกย้ำว่าธนาคารให้ความสำคัญกับการรับฟังเสียงสะท้อนและมุ่งสร้างความพึงพอใจอย่างสูงสุดให้แก่ลูกค้ามาโดยตลอด นำมาสู่การปรับโฉมใหม่เป็น Bangkok Bank Mobile Banking เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานของลูกค้า สามารถทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้สะดวกและง่ายมากยิ่งขึ้น ในหลากหลายมิติ ต่อไปนี้• ดีไซน์ใหม่ทันสมัย...
20,831แฟนคลับชอบ
3,912ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Hot Topics