หน้าแรกเศรษฐกิจ-การเงินธนาคารกรุงเทพรายงานกำไรสุทธิครึ่งแรกปี 2563 จำนวน 10,765 ล้านบาท ในครึ่งแรกของปี 2563

ธนาคารกรุงเทพรายงานกำไรสุทธิครึ่งแรกปี 2563 จำนวน 10,765 ล้านบาท ในครึ่งแรกของปี 2563

เศรษฐกิจไทยหดตัวอย่างหนักจากผลกระทบของมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (โควิด-19) มาตรการปิดเมืองทั่วโลกและมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศเป็นผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวหดตัวอย่างหนักประกอบกับการส่งออกและการนำเข้าสินค้าของไทยลดลงตามความต้องการของประเทศคู่ค้าที่อ่อนแอส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศลดลงตามไปด้วยการบริโภคภาคเอกชนลดลงอย่างมากจากยอดขายรถยนต์ที่ลดลงและการหยุดชะงักของกิจกรรมภาคบริการการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการลงทุนหดตัวจากความต้องการที่ลดลงทั้งในและต่างประเทศอย่างไรก็ดีการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐขยายตัวจากการเร่งเบิกจ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปีนี้

นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบทางเศรษฐกิจต่อประชาชนและผู้ประกอบการในหลายภาครัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงได้ออกมาตรการต่างๆเพื่อผ่อนคลายผลกระทบดังกล่าวมาเป็นลำดับในการนี้ธนาคารกรุงเทพได้ร่วมสนับสนุนนโยบายของภาครัฐและธนาคารแห่งประเทศไทยโดยเร่งออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าธุรกิจอาทิการสนับสนุนวงเงินสินเชื่อเพิ่มเติมการพักชำระหนี้และออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยโดยปรับลดอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำเพิ่มวงเงินรวมทั้งปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นการทั่วไปสำหรับทั้งลูกค้าธุรกิจและลูกค้ารายย่อยด้วยความเข้าใจถึงสถานการณ์ที่ผู้ประกอบการและประชาชนยังคงเผชิญอยู่ธนาคารกรุงเทพมีความมุ่งมั่นพร้อมเป็น “เพื่อนคู่คิด” ที่จะประคับประคองให้ลูกค้าผู้ประกอบการและประชาชนสามารถผ่านช่วงวิกฤตนี้ไปได้ด้วยการให้คำปรึกษาและความช่วยเหลือลูกค้าให้มีเงินทุนและสภาพคล่องเพียงพอเพื่อเสริมศักยภาพในการรับมือกับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิค-19 นอกจากนี้ธนาคารมีความห่วงใยในสวัสดิภาพและความปลอดภัยของลูกค้าพนักงานและประชาชนเป็นสำคัญโดยได้ดำเนินการตามมาตรฐานด้านสุขอนามัยเพื่อร่วมป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของ โรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัดและพร้อมเคียงข้างในการเป็นเพื่อนคู่คิดเพื่อก้าวผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน

ธนาคารกรุงเทพต้อนรับธนาคารเพอร์มาตาเข้าสู่ครอบครัวเสร็จสมบูรณ์ในเดือนพฤษภาคม 2563 เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563 ธนาคารกรุงเทพได้เข้าถือหุ้นธนาคารเพอร์มาตาในประเทศอินโดนีเซียที่ร้อยละ 89.12 เสร็จสมบูรณ์นับเป็นสมาชิกใหม่ในกลุ่มธุรกิจการเงินของธนาคารกรุงเทพที่จะเสริมสร้างศักยภาพการให้บริการด้านการเงินเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในการดำเนินธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนได้ดียิ่งขึ้นซึ่งการดำเนินการในครั้งนี้สอดคล้องกับกลยุทธ์ของธนาคารในการเสริมสร้างรากฐานเพื่อการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนสำหรับงบการเงินรวมของธนาคารกรุงเทพและบริษัทย่อยในครึ่งแรกของปี 2563 ได้รวมผลประกอบการของธนาคารเพอร์มาตาตั้งแต่วันที่ธนาคารเข้าถือหุ้นโดยธนาคารเพอร์มาตามีสินทรัพย์ณสิ้นเดือนมิถุนายน 2563 จำนวน 336,964 ล้านบาทและหนี้สินจำนวน 285,022 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 9 ของสินทรัพย์รวมและร้อยละ 8 ของหนี้สินรวมของธนาคาร

ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจหดตัวอย่างหนักทั่วโลกและความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้าจากผลกระทบของสถานการณ์โควิด-19 ธนาคารกรุงเทพยังคงยึดมั่นแนวทางในการดำเนินธุรกิจด้วยความรอบคอบและระมัดระวังควบคู่กับการดำรงฐานะการเงินและเงินกองทุนของธนาคารอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินที่ยั่งยืนพร้อมก้าวเข้าสู่บริบทใหม่ของการดำเนินชีวิต (New Normal)

ณสิ้นเดือนมิถุนายน 2563 ธนาคารมีเงินให้สินเชื่อจำนวน 2,353,848 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 จากสิ้นปี 2562 หากไม่รวมธนาคารเพอร์มาตาเงินให้สินเชื่อเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 จากสินเชื่อธุรกิจซึ่งเป็นไปตามประมาณการสินเชื่อที่คาดไว้ตั้งแต่ปลายปีก่อนสำหรับอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตต่อเงินให้สินเชื่อรวมอยู่ที่ร้อยละ 4.1 ขณะที่อัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตต่อเงินให้สินเชื่อรวมที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตอยู่ที่ร้อยละ 170.5 ทั้งนี้ธนาคารยังคงอยู่เคียงข้างและดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิดเพื่อฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจและก้าวเข้าสู่บริบทใหม่ของการดำเนินชีวิต (New Normal) พร้อมทั้งให้ความสำคัญในการดูแลกระบวนการอำนวยสินเชื่อและบริหารความเสี่ยงควบคู่กับการดำรงค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมซึ่งเป็นไปตามแนวทางการดำเนินธุรกิจด้วยความระมัดระวังทั้งในภาวะเศรษฐกิจปกติและภาวะถดถอย
ด้านเงินกองทุนและสภาพคล่องณวันที่ 30 มิถุนายน 2563 ธนาคารมีเงินรับฝากจำนวน 2,852,295 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.3 จากสิ้นปี 2562 หากไม่รวมธนาคารเพอร์มาตาเงินรับฝากเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 จากเงินรับฝากทุกประเภทจากการที่ลูกค้ามุ่งเน้นการบริหารสินทรัพย์โดยเน้นกลยุทธ์เชิงคุณภาพสำหรับอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินรับฝากอยู่ที่ร้อยละ 82.5 สะท้อนถึงสภาพคล่องที่เพียงพอรองรับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจขณะที่อัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของและอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ต่อสินทรัพย์เสี่ยงของธนาคารและบริษัทย่อยอยู่ที่ร้อยละ 16.6 ร้อยละ 14.0 และร้อยละ 14.0 ตามลำดับซึ่งอยู่ในระดับที่สูงกว่าอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ำตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด

กำไรสุทธิของธนาคารกรุงเทพและบริษัทย่อยในครึ่งแรกของปี 2563 มีจำนวน 10,765 ล้านบาท

ธนาคารกรุงเทพและบริษัทย่อยรายงานกำไรสุทธิครึ่งแรกของปี 2563 จำนวน 10,765 ล้านบาทซึ่งได้รวมผลประกอบการของธนาคารเพอร์มาตาตั้งแต่วันที่ธนาคารเข้าถือหุ้นโดยกำไรสุทธิลดลงจากครึ่งแรกของปี 2562 เนื่องจากธนาคารมีการตั้งผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษเพื่อกันเงินสำรองสำหรับความไม่แน่นอนที่อาจเพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจที่หดตัวจากผลกระทบของสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งการคาดการณ์วิกฤตในครั้งนี้ยังยากที่จะคาดคะเนเพราะเป็นวิกฤตด้านสาธารณสุขที่ส่งผลกระทบกว้างไกลต่อระบบเศรษฐกิจโลกไม่ใช่วิกฤตเศรษฐกิจโดยตรงเหมือนที่ผ่านมาในอดีตสำหรับรายได้ดอกเบี้ยสุทธิของธนาคารเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 หากไม่รวมธนาคารเพอร์มาตารายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ตามการเติบโตของสินเชื่อขณะที่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิของธนาคารอยู่ที่ร้อยละ 2.31 สำหรับรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงส่วนใหญ่จากกำไรสุทธิจากเงินลงทุนและรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิลดลงสาเหตุหลักจากการเปลี่ยนแปลงการรับรู้รายได้ค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวกับการให้สินเชื่อตาม TFRS 9 สำหรับค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอยู่ในระดับใกล้เคียงกับครึ่งแรกของปี 2562 โดยมีอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้จากการดำเนินงานอยู่ที่ร้อยละ 45.0 โดยธนาคารยังคงดูแลค่าใช้จ่ายอย่างมีวินัยเน้นการใช้จ่ายที่ช่วยเสริมสร้างความปลอดภัยด้านสาธารณสุขรวมถึงการดำเนินการปรับปรุงระบบงานให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นและชะลอการใช้จ่ายที่ยังไม่จำเป็นในช่วงภาวะซบเซา
การนำมาตรฐานกลุ่มเครื่องมือทางการเงินฉบับใหม่มาถือปฏิบัติ

ธนาคารและบริษัทย่อยได้นำมาตรฐานกลุ่มเครื่องมือทางการเงินฉบับใหม่ (ฉบับที่ 9) มาถือปฏิบัติกับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไปโดยไม่ปรับงบการเงินเปรียบเทียบย้อนหลังการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญได้แก่การจัดประเภทและการวัดมูลค่าสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินการคำนวณการด้อยค่าของสินทรัพย์ทางการเงินโดยใช้ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Loss) การบัญชีป้องกันความเสี่ยงและการรับรู้รายได้ดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อโดยใช้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Effective Interest Rate: EIR)

RELATED ARTICLES
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img