“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นภายใต้หัวข้อ “ความเคลื่อนไหวทางการเมือง ในทัศนะประชาชน” จากความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ โดยเฉพาะประเด็นการแต่งตั้งนักการเมืองเข้ามา ทำงานกับรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการเมืองอย่างร้อนแรง ซึ่งความเคลื่อนไหว ที่เกิดขึ้นทำให้สังคมมองว่าอาจมีผลต่อทิศทางการเมืองไทยกับการเลือกตั้งครั้งหน้า เพื่อสะท้อนความคิดเห็น ของประชาชนที่มีต่อความเคลื่อนไหวทางการเมือง “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็น ของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,088 คน ระหว่างวันที่18-21 เมษายน 2561 สรุปผลได้ ดังนี้
1. ประชาชนคิดอย่างไร? กับ “กระแสวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการเมืองอย่างร้อนแรง” ในขณะนี้
อันดับ 1 เป็นสิทธิของทุกคน สามารถแสดงความคิดเห็นได้ 50.42%
อันดับ 2 ประชาชนได้รับรู้ข้อมูล ได้รับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายแง่มุม 33.89%
อันดับ 3 น่าเบื่อ เป็นเกมการเมือง ทะเลาะ โจมตีกันไปมา 29.69%
อันดับ 4 อยากให้มีการเลือกตั้ง ปลดล็อคพรรคการเมือง 18.21%
อันดับ 5 รัฐบาลควรรับฟังความคิดเห็น ชี้แจง อธิบายให้เข้าใจตรงกัน 15.69%
2. ประชาชนคิดอย่างไร? กับ “การตั้งนักการเมืองเข้ามาทำงานกับรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์”
2.1) กรณีแต่งตั้ง นายสนธยา คุณปลื้ม เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านการเมือง
อันดับ 1 รัฐบาลต้องการดึงพรรคการเมืองเข้ามาร่วมทำงาน สร้างแนวร่วม 40.20%
อันดับ 2 เป็นเรื่องของผลประโยชน์ทางการเมือง ขยายอำนาจ 33.01%
อันดับ 3 ต้องรอดูท่าที และผลงานว่าจะเป็นอย่างไร 28.10%
2.2) กรณีแต่งตั้ง นายอิทธิพล คุณปลื้ม เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
อันดับ 1 ไม่อยากให้มีเรื่องผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง 40.78%
อันดับ 2 เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ต้องการสร้างฐานเสียง 30.14%
อันดับ 3 เป็นคนที่มีประสบการณ์ มีผลงาน ขอให้ตั้งใจทำงาน 29.43%
2.3) กรณีแต่งตั้ง นายสกลธี ภัททิยกุล เป็นรองผู้ว่าราชการ กทม.
อันดับ 1 เป็นประเด็นที่ถูกจับตามอง มีความใกล้ชิดกับนายสุเทพ 35.85%
อันดับ 2 รอพิสูจน์ผลงาน ควรทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม 33.21%
อันดับ 3 เป็นเรื่องการเมือง อยากให้คนรุ่นใหม่เข้ามาทำงาน 31.32%
3. จากความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เกิดขึ้น ประชาชนมอง“ทิศทางการเมืองไทยกับการเลือกตั้งครั้งหน้า”
อย่างไร?
อันดับ 1 มีพรรคการเมืองหลากหลาย น่าจะมีการแข่งขันกันมากขึ้น 39.33%
อันดับ 2 อาจเกิดความเคลื่อนไหว ขัดแย้ง วุ่นวาย 28.87%
อันดับ 3 อยากให้มีนักการเมืองที่เป็นคนรุ่นใหม่ ไม่ใช่คนกลุ่มเดิม ๆ 21.34%
อันดับ 4 กำหนดการเลือกตั้งขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาล 17.15%
อันดับ 5 บรรยากาศทางการเมืองคึกคัก ประชาชนสนใจข่าวการเลือกตั้ง 15.90%
4. ประชาชนคิดว่าสถานการณ์ในขณะนี้สมควรให้อิสระกับพรรคการเมือง (ปลดล็อค) แล้วหรือยัง?
อันดับ 1 ควรปลดล็อคโดยไม่มีเงื่อนไข 44.47%
เพราะ เป็นประชาธิปไตย เกิดความเท่าเทียม พรรคการเมืองมีอิสระ ทำกิจกรรมได้ ช่วยให้สถานการณ์
ทางการเมืองดีขึ้น ประชาชนได้รับรู้ข้อมูล ได้เห็นท่าทีของแต่ละพรรค ฯลฯ
อันดับ 2 ควรปลดล็อคแต่มีเงื่อนไข 36.45%
คือ มีกฎเกณฑ์ร่วมกัน ไม่สร้างความขัดแย้ง วุ่นวาย ต้องแสดงความโปร่งใส ก าหนดขอบเขต บทลงโทษที่ชัดเจน ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่ควรปลดล็อค 19.08%
เพราะ อาจเกิดการเคลื่อนไหว ชุมนุม ประท้วง บ้านเมืองไม่สงบ วุ่นวาย รัฐบาลอาจควบคุมดูแลยาก ฯลฯ