“ดร.ชัยนรินท์” นักวิชาการวิเคราะห์ วิกฤตการณ์ บมจ. การบินไทย เสมือน ”นกมีหู หนูมีปีก”

เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 ดร.ชัยนรินท์ ธีรไชยพัฒน์ นักวิชาการด้านการจัดการยุทธศาสตร์ และวางแผนธุรกิจ ธุรกิจ การบิน ได้วิเคราะห์ถึงวิกฤตการณ์ ของ บมจ.การบินไทย ว่าในช่วงเวลาที่เราชุลมุนกับปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อ “โควิด-19” เช่นทุกวันนี้ จนลืมปัญหารอบข้างไป เกิดกระแสข่าวว่า กระทรวงการคลังจะเพิ่มทุนในบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อให้คงสถานะการเป็นรัฐวิสาหกิจต่อไป เมื่อพิจารณาสถานภาพของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีเป็นบริษัทที่มี 2 สถานะหรือสวมหมวก 2 ใบในเวลาเดียวกัน หมวกแรก ในฐานะรัฐวิสาหกิจ อีกหมวกหนึ่งในฐานะบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่อประเด็นนี้ในฐานะเป็นผู้ที่ที่คร่ำหวอดกับการบริหารจัดการในวงการการบินมากว่า 10 ปี มองแล้ว บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ขณะนี้เปรียบเสมือน “นกมีหู หนูมีปีก”

เบื้องต้นใคร่ขอแบ่งปันมุมมองที่มีต่อ บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)  จากการสวมหมวกแต่ละใบมาแบ่งปันซึ่งมุมมองการวิเคราะห์ในเชิงลึกจะได้นำมาแบ่งปันกันในโอกาสต่อไป ดังนี้

1.) หมวกใบที่ที่ 1 บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ในมุมมองการเป็นบริษัทมหาชนด้วยการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จากทัศนะและการแสดงออกของผู้ที่ได้รับยอมรับว่า เป็นปรมาจารย์ทางด้านการลงทุน Warren Edward Buffett ได้ให้ทัศนะต่อกรณีการลงทุนในธุรกิจ Air Lines โดย Buffett เคยกล่าวไว้ในปี 2013 ว่า “Famed investor Warren Buffett called the airline business a death trap for investors” หรือ “ธุรกิจสายการบินเป็นกับดักมรณะของผู้ลงทุน” หรือคนในวงการมักจะพูดกันแบบขำๆ ที่เล่นที่จริงว่า “ถ้าเศรษฐีคนไหนอยากกลายเป็นยาจกให้ทำธุรกิจ แอร์ไลน์” อย่างไรก็ตามพบว่า Buffett ตัดสินใจลงทุนในธุรกิจสายการบิน และกลายเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในอเมริกาในธุรกิจ Airlines 4 แห่ง ได้แก่ United, American, Delta and Southwest airlines โดยมีมูลค่าการลงทุนประมาณ $10,000,000,000 หรือเท่ากับประมาณ 313,320,000,000 บาท (อัตรา BOT 13 พ.ค. 64)

บนความเชื่อของเขาที่ว่า ผู้ประกอบการธุรกิจ Airlines จะมีความเข้มแข็งหลังจากได้รับประสบการณ์ และการเรียนรู้จากความผิดพลาดของธุรกิจการบินในอดีต ในด้านการบริหารจัดการ ความมีวินัยมากขึ้น โดยต้องไม่มีการซื้อเครื่องบินข้าประจำการเพิ่มขึ้น  และสามารถขยายเส้นทางบินได้เพิ่มขึ้น (By Hugo Martín Staff Writer Los Angeles Times March 15, 2017) แต่ผลลัพธ์ไม่เป็นไปดัง Buffett คาด และจากวิกฤติของ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อภาวะการณ์ลงทุนอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมการบิน ทำให้บริษัทของ Buffett ประสบกับภาวะการขาดทุนสูงถึง $49,700,000,000 หรือเท่ากับประมาณ 1,557,200,400,000 บาท (อัตรา BOT 13 พ.ค. 64) โดย รวมถึง Buffett ยังยอมรับความผิดพลาดที่ลงทุนในหุ้นของสายการบินอีกด้วย (Warren Buffett’s company Berkshire Hathaway sells US airline shares BBC News 3 May 2020)

เมื่อพิจารณาจากการตัดสินใจลงทุนของ Buffett ชี้ให้เห็นได้ชัดว่า การตัดสินใจลงทุนในธุรกิจการบินในสถานการณ์เช่นปัจจุบันถูกต้อง และเหมาะสมหรือไม่ โดยส่วนตัวมีความเห็นคล้อยตาม Buffett ว่า Airlines the airline business a “death trap” for investors และอุตสาหกรรมการบินเป็นธุรกิจในช่วงขาลง (Sunset Industry) หรือ ( Declining Stage) ซึ่งเป็นไปตามโมเดลวัฏจักรธุรกิจ

นอกจากนี้ปัจจุบันเราได้ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการปฏิวัติเทคโนโลยี และเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ที่กระทบต่อกิจการสายการบินมากมาย อาทิ พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตรกรรมด้านการขนส่งและการสื่อสารที่มีแนวโน้มต้นทุนที่ต่ำกว่าแต่ สมรรถนะ และประสิทธิภาพไม่ต่างกันมาทดแทนการเดินทางด้วยเครื่องบินส่ง การประชุมทางไกลด้วยเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต ความสามารถทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) หรือการที่ภาครัฐออกข้อกำหนดด้านมาตรการควบคุมโรคติดต่อลดจำนวนที่นั่งผู้โดยสารลงส่งผลให้การเดินทางโดยเครื่องบินไม่สะดวกเช่นที่เคยใช้บริการมาแต่ก่อนทำให้ความต้องการ (Demand) เดินทางโดยเครื่องบินลดลงนอกจากนี้เริ่มมีการพัฒนาพลังงานทางเลือกที่สามารถทดแทนพลังงานจาก Fossil ส่งผลให้กิจการที่ใช้พลังงานจาก Fossil (น้ำมัน) มีแนวโน้มราคาสูงขึ้น 

ดังนั้นในฐานะบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จึงควรใช้กลไกของตลาดหลักทรัพย์ซึ่งนักลงทุนจะเป็นผู้วิเคราะห์และพิจารณาตัดสินว่า บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ควรเดินไปในทิศทางใด

2.) หมวกใบที่ที่ 1 บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ในมุมมองการเป็นรัฐวิสาหกิจ จากคำกล่าวที่เป็นอมตะของนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของอังกฤษ ผู้ที่ได้รับยกย่องว่า “สตีเหล็ก” มาร์การเรต ฮิลดา แทตเชอร์ ที่กล่าวถึงรูปแบบองค์การที่มีการบริหารจัดการในลักษณะรัฐวิสาหกิจเอาไว้ในปี 2000 ว่า “When State owns, nobody owns, when nobody owns, nobody cares.” หรือแปลเป็นไทยว่า “กิจการใดที่ “ภาครัฐ” เป็นเจ้าของก็เหมือนไม่มีใครเป็นเจ้าของ เมื่อไม่มีใครเป็นเจ้าของก็ไม่มีใครใส่ใจดูแล” (การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ไทยพับลิกา กล้าพูดความจริง 2 มีนาคม 2014 โดย บรรยง พงษ์พานิช)

ความเห็น ตนเห็นคล้อยตามด้วยอย่างยิ่งกับคำกล่าวของนายกรัฐมนตรีหญิงของอังกฤษที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ซึ่งเป็นคำกล่าวที่สามารถอธิบายและสะท้อนให้เห็นภาพและลักษณะเฉพาะตัวของรูปแบบองค์การในรูปแบบรัฐวิสาหกิจได้เป็นอย่างดี บางท่านอาจเห็นแย้งว่า ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้วทำไมในกรณี บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), การไฟฟ้านครหลวง, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค,  การท่าอากาศยาน เป็นรัฐวิสาหกิจและผลประกอบการก็มีผลกำไร กล่าวได้ว่า ในกรณีของ 4 รัฐวิสาหกิจ ดังกล่าว เป็นกิจการที่มีบริบทและสภาวะแวดล้อมที่แตกต่างไป กล่าวคือ ทั้ง 4 องค์การ น้ำมัน ไฟฟ้า บริการจัดการอากาศยาน ซึ่งถือว่าเป็นองค์การที่ดำเนินกิจการในลักษณะผูกขาด กึ่งผูกขาด หรือ คู่แข่งขันน้อยราย แตกต่างจากบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่ดำเนินกิจการในลักษณะที่มีการแข่งขันสมบูรณ์ที่ผ่านมาคำกล่าวของนายกรัฐมนตรีหญิงของอังกฤษสามารถสะท้อนให้เห็นภาพของ บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้อย่างชัดเจนว่า “กิจการใดที่ “ภาครัฐ” เป็นเจ้าของก็เหมือนไม่มีใครเป็นเจ้าของ เมื่อไม่มีใครเป็นเจ้าของก็ไม่มีใครใส่ใจดูแล” เกิดวิกฤตก็อาศัยรัฐบาลและเงินงบประมาณที่มาจากประชาชน

ขอทิ้งท้ายจากบทความข้างต้นน่าจะพอเป็นข้อมูลเล็ก ๆ ให้ประชาชนคนไทยอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ ตัดสินใจว่าการที่กระทรวงการคลังจะเพิ่มทุนใน บริษัทการบินไทยเ จำกัด (มหาชน) เพื่อให้คงสถานการณ์เป็นรัฐวิสาหกิจต่อไป มีควาจำเป็นเหมาะสมและชอบด้วยเหตุด้วยผลหรือไม่ ในโอกาสถัดไปผู้เขียนยังมีมุมมองในเรื่องราวเบื้องลึก ๆ อึ้ง ๆ ในอุตสาหกรรมการบินที่น้อยคนจะได้มีโอกาสได้รับรู้มาเล่าสู่กันฟัง “ดร.ชัยนรินท์” กล่าว

RELATED ARTICLES
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img