หน้าแรกเศรษฐกิจ-การเงินภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทย ประจำวันที่ 4 มีนาคม 2564

ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทย ประจำวันที่ 4 มีนาคม 2564

เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2564 ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้สื่อข่าวไทยแทบลอยด์ รายงานว่า  : ตลาดหุ้นไทย ติดลบตามทิศทางต่างประเทศ  กังวลผลตอบแทนพันธบัตรที่ผันผวน ฉุดราคาทองล่วงต่อเนื่อง ขณะที่ความเชื่อมั่นนักลงทุนยังร้อนแรงต่อเนื่อง 3 เดือนติด ตลาดหลักทรัพย์ ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,534.11 จุด ลดลง 9.29 จุด (-0.60%) มูลค่าการซื้อขาย 108,854.87 ล้านบาท

ตลาดหุ้นไทยวันนี้ปรับตัวลงในทิศทางเดียวกับตลาดต่างประเทศ โดยตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียที่ต่างติดลบกัน เช่นเดียวกับตลาดในยุโรปที่เทรดบ่ายนี้ต่างก็ปรับตัวลงกัน เหมือนดาวโจนส์ฟิวเจอร์ที่ติดลบเล็กน้อยในลักษณะทรงตัว จากความกังวลอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond yield) สหรัฐฯที่กลับมาปรับตัวขึ้นกว่า 1.4%

ตลาดหุ้นไทย

ขณะที่ตลาดบ้านเราก็เผชิญแรงขายทำกำไรหลังจากปรับขึ้นไปแรงเมื่อวานนี้ อย่างไรก็ดี ยังต้องติดตามผลการประชุมกลุ่มโอเปกพลัสคืนนี้ และการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯที่จะออกมาในวันศุกร์นี้

สภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผย ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) ผลสำรวจในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 พบว่า ดัชนีในอีก 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 152.19 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 14.8% จากเดือนก่อน ยังคงอยู่ในเกณฑ์ “ร้อนแรง” ต่อเนื่องเป็นเดือนที่สาม นักลงทุนคาดหวังการคลี่คลายสถานการณ์โควิด-19 จากการที่ไทยได้รับวัคซีนล็อตแรกเป็นปัจจัยหนุนมากที่สุด รองลงมา คือ การไหลเข้าของเงินทุน และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ

สำหรับปัจจัยที่ฉุดความเชื่อมั่นนักลงทุนมากที่สุด ได้แก่ สถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ที่ยังมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น รองลงมาคือ สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศ และการถดถอยของเศรษฐกิจในประเทศ

ทั้งนี้ FETCO Investor Confidence Index ในอีก 3 เดือนข้างหน้า (พ.ค.64) อยู่ในเกณฑ์ “ร้อนแรง” (ช่วงค่าดัชนี 120 -159) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 14.8% จากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 152.19

ด้านความเชื่อมั่นกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ “ร้อนแรงอย่างมาก” กลุ่มนักลงทุนบุคคล และกลุ่มนักลงทุนสถาบันอยู่ในเกณฑ์ “ร้อนแรง” ในขณะที่กลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์อยู่ในเกณฑ์ “ทรงตัว”

• หมวดธุรกิจที่น่าสนใจมากที่สุด คือ หมวดการท่องเที่ยวและสันทนาการ (TOURISM)

• หมวดธุรกิจที่ไม่น่าสนใจมากที่สุด คือ หมวดเหล็ก (STEEL)

• ปัจจัยหนุนที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุด คือ สถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายจากการได้รับวัคซีน

• ปัจจัยฉุดที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุด คือ สถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ที่ยังมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น

สิริวรรณ ลีลาประกอบชัย : ภาพ/ข่าว

RELATED ARTICLES
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img