1.ด้านอุปทาน ห่วงโซ่อุปทานถูกดตัดขาดในช่วงต้นๆของการระบาด ทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ เนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบ
2. ด้านอุปสงค์ กำลังซื้อของตลาดโลกแทบจะอยู่ในภาวะหยุดนิ่ง
ทั้ง 2 ปัจจัยนี้ทำให้ภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกไทยอยู่ในอาการโคม่า ตลาดส่งออกสำคัญของไทยมูลค่ากว่าครึ่งเป็นประเทศที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อจากโควิดสูงทั้งจีน EU สหรัฐฯ ตะวันออกกลาง เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ทั้งหมดอยู่ในภาวะหยุดชะงัก และไม่มีแนวโน้มว่าจะคลี่คลายลงในระยะอันใกล้ นอกจากนั้นโควิด-19 ทำให้กำลังซื้อในส่วนต่างๆของโลกมีปัญหาเนื่องจากรายได้ของประชากรในประเทศหดหาย เมื่อรายได้ประชากรหดหาย การใช้จ่ายก็จะถูกจำกัด สินค้าส่งออกของไทยจึงไม่มีกำลังซื้อมารองรับ
นอกจากนั้น ปัญหาค่าเงินบาทแข็งก็เป็นปัญหามานาน และยิ่งหนักขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วงโควิด ที่ประเทศมหาอำนาจต่างใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ใช้การพิมพ์เงินเข้าสู่ระบบมากเป็นประวัติการณ์ ทำให้ค่าเงินต่างประเทศอ่อนและทำให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้น เป็นอุปสรรคต่อภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกไทย ทำให้การแข่งขัน
ด้านราคาของไทยทำได้ลำบาก ในประเด็นนี้ตนเห็นว่าธนาคารแห่งประเทศไทยควรมุ่งเน้นด้านสามารถในการแข่งขันด้านราคาของผู้ส่งออกมากกว่าเน้นด้านเสถียรภาพเพียงอย่างเดียว เมื่อภาคอุตสาหกรรมมีปัญหา สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปก็คือการล้มตายของธุรกิจจำนวนมาก จึงเป็นเหตุให้ประเทศไทยตกงานจำนวนมหาศาล ไม่มีตาข่ายช่วยป้องกันการตกงานเหมือนประเทศอื่น ผู้ที่เดือดร้อนที่สุดจึงคือแรงงานที่ตกงานในปัจจุบัน รัฐบาลพยายามแก้ไขภายหลังโดยการอุดหนุนการจ้างงานใหม่ แต่มันก็สายเกินไปมากแล้ว แทนที่จะป้องกันการตกงาน แต่กลับรอให้ตกงานแล้วค่อยมากช่วย