พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถ้อยแถลงในการอภิปรายทั่วไป ของการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 75 ภายใต้หัวข้อหลัก “อนาคตที่เราอยากเห็น องค์การสหประชาชาติที่เราต้องการ: ตอกย้ำความมุ่งมั่นด้านพหุภาคี – เผชิญหน้ากับโรคโควิด-19 ผ่านแผนงานความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพ” ในการประชุมทางไกล ว่าขอส่งกำลังใจไปยังทั่วโลกให้ผู้ป่วยโควิด-19 หายเป็นปกติโดยเร็ว รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์ และอาสาสมัคร ซึ่งเป็นด่านหน้าปลอดภัย
ซึ่งในส่วนของรัฐบาลไทยได้มุ่งมั่นในการแก้ปัญหา โดยมีการจัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 โดยมาตรการของไทยล้วนเป็นไปตามกฎอนามัยระหว่างประเทศและแนวทางตามองค์การอนามัยโลก ให้ความสำคัญในการรับมือ ตั้งแต่ต้นทาง มีการคัดกรองคนเข้า-ออก ภายในประเทศ การเว้นระยะห่างทางสังคมและการให้ข้อมูลข่าวสาร และสนับสนุนการทำงาน อสม.กว่า 1 ล้านคนทั่วประเทศ อีกทั้งมีการรักษาผู้ป่วยทุกคนโดยไม่แยกคนไทย คนต่างชาติ ขณะเดียวกัน สนับสนุนการผลิตวัคซีน
ป้องกันเชื้อโควิค-19 ที่หน่วยงานภาครัฐของไทยได้เริ่มพัฒนา และวิจัยวัคซีนต้นแบบ อีกทั้งยังร่วมมือกับหุ้นส่วนต่างประเทศ ทั้งนี้ เห็นว่า วัคซีนและยา สำหรับรักษาโควิช-19 ควรเป็นสินค้าสาธารณะ ระดับโลกที่ทุกประเทศสามารถเข้าถึงอย่างเท่าเทียมกัน โดยสหประชาชาติจำเป็นต้องมีบทบาทนำในเรื่องนี้
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลยังได้มีการออกมาตรการดูแลแลเยียวยาทางเศรษฐกิจ เพื่อแบ่งเบาภาระให้กับประชาชนและผู้ประกอบการ โดยจัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจขึ้นมาเพื่อกลไกหลักในการกำหนดนโยบายร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมอย่างรอบด้าน ซึ่งประเทศไทยเป็นสังคมประชาธิปไตย ที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
และมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติภายใต้ ซึ่งจากความร่วมมือร่วมใจของคนไทยทำให้สถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ ทำให้ทั่วโลกเกิดการยอมรับโดยได้มีการย้ำเตือน ประชาชนต้องไม่ประมาท และป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดอีกระลอก 2
นอกจากนี้นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวว่าในด้านสันติภาพและความมั่นคง สหประชาชาติและประชาคมโลกประสบความสำเร็จในการพยายามระงับความขัดแย้งโดยสันติวิธี นอกจากไทยจะให้ความสำคัญกับการลดอาวุธ ไทยยังส่งเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และพลเรือนทั้งชายและหญิง เข้าร่วมภารกิจเพื่อสันติภาพในกรอบสหประชาชาติในภูมิภาคต่าง ๆ ตั้งแต่ปี 2501 และยังคง
บทบาทนี้ไว้ท่ามกลางวิกฤติในปัจจุบัน
นายกรัฐมนตรี ยืนยัน ความมุ่งมั่นของไทยในการสนับสนุนวาระต่าง ๆ ของสหประชาชาติ ทั้งในด้านสันติภาพ ความมั่นคง การพัฒนา การจัดการกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การยึดมั่นในสิทธิมนุษยชน และการส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ เพราะระบบพหุภาคีเป็นหนทางที่จะนำพาพวกเราให้หลุดพ้นจากวิกฤติครั้งนี้ไปได้ร่วมกัน เพื่อสร้างอนาคตที่มีสันติสุข และเพื่อโลกที่น่าอยู่สำหรับพวกเราและชนรุ่นหลังต่อไป