ไปเสียเวลางอนง้ออะไรกันมากมาย
ส่วนญัตติทั้ง 6 ฉบับจะผ่านความเห็นชอบในขั้นรับหลักการทั้งหมดเลยหรือไม่ ส่วนตัวไม่สามารถประเมินได้ แต่หากหลักใดที่มีหลักการตรงกัน ก็สามารถพิจารณาพร้อมกันได้ เช่น ญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ม.265 ของวิปทั้ง 2 ฝ่าย ควรนำมาพิจารณาก่อน แต่ถ้าหาก 6 ญัตติไม่ผ่านในวาระรับหลักการ นายสุทิน ระบุว่าก็จะยื่นอีกในสมัยหน้า ฉะนั้นก็ต้องพยายามทำให้สำเร็จ
ส่วนกรอบระยะเวลานั้น วันแรกก็ควรพิจารณาให้แล้วเสร็จในญัตติที่มีหลักการเดียวกัน และญัตติที่เหลือก็พิจารณาในวันถัดไป ซึ่งการลงมตินั้น จะต้องมีการขานชื่อในการโหวต ตนจะเสนอในที่ประชุมร่วมทั้ง 3 ฝ่ายว่า การโหวตแบบขานชื่อ แต่อยากให้โหวตได้ในคราวเดียว ทั้ง 6 ญัตติ เช่น นายสุทิน คลังแสง เห็นชอบในญัตติ 1 ไม่เห็นชอบในญัตติ 2 งดออกเสียงในญัตติ 3 เป็นต้น ซึ่งการทำเช่นนี้ จะเป็นการประหยัดเวลาในการโหวต ขณะที่นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงการโหวตลงญัตติแบบขานชื่อในคราวเดียวกันทั้ง 6 ญัตติ ว่าสามารถทำได้ ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
พร้อมกันนี้ยังกล่าวถึงกรณีในส่วนของภาคประชาชน จะเข้ามาเป็นกรรมาธิการคนนอกหรือไม่ ส่วนนี้จะมีการพูดคุยกันในที่ประชุมด้วย เพราะเมื่อศึกษาดูแล้ว หลักการใกล้เคียงกัน ก็อยากให้มาร่วมกัน ส่วนเนื้อสาระก็นำเข้าในชั้นแปรญัตติได้
ทั้งนี้การเปิดประชุมสมัยวิสามัญนั้น ในฐานะฝ่ายค้านมองว่า หลังจบพิจารณารับหลักการแล้ว จะยื่นขอเปิดประชุมวิสามัญทันที แต่ก็ต้องดูอีกทีว่า ให้กรรมาธิการในการพิจารณากี่วัน ถ้า 60 วัน ก็ต้องเปิดในสมัยหน้า แต่หากให้พิจารณาเพียง 14-15 วัน เวลาที่เหลืออีก 15 วัน ก็ควรจะเปิดประชุมสมัยวิสามัญได้