หน้าแรกการเมือง'สมาคมต้านโลกร้อนฯ' ค้าน 'กรมอุทยานฯ' เรียกค่าเสียหายกรณีเสือดำน้อย

‘สมาคมต้านโลกร้อนฯ’ ค้าน ‘กรมอุทยานฯ’ เรียกค่าเสียหายกรณีเสือดำน้อย

นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน แถลงการณ์เรื่อง คัดค้านกรมอุทยานฯเรียกค่าเสียหายทางแพ่งเสือดำน้อยเกินควร จากกรณีที่อัยการให้เพิ่มการประเมินค่าเสียหายทางแพ่งต่อระบบนิเวศในคดีล่าสัตว์ป่าทุ่งใหญ่ฝั่งตะวันตก จ.กาญจนบุรี กับคณะของนายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหารบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเว๊ลอปเมนต์ จำกัด (มหาชน)และพวกรวม 4 คน ตามมาตรา 97 แห่งพรบ.สิ่งแวดล้อม 2535 เบื้องต้นกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ประเมินค่าเสียหายทางแพ่งไว้ จำนวน 3,034,612 บาทนั้น ตัวเลขการประเมินดังกล่าว ไม่น่าจะสอดคล้องกับค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริงจากการที่กรมอุทยานแห่งชาติฯต้องสูญเสียเสือดำซึ่งเป็นสัตว์ป่าตามบัญชีหมายเลข 1 ของอนุสัญญาไซเตสและเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่หายากและมีความเสี่ยงของการสูญพันธุ์สูง ไม่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ง่าย ๆ เพราะการเกิดขึ้นของเสือดำเป็นการเกิดขึ้นมาในลักษณะของการกลายพันธุ์ หรือการผ่าเหล่า(Mutation) ของเสือดาว ดังนั้นจะนำมาเปรียบเทียบกับการซื้อขายแยกเป็นตัวๆ ตามหลักคิดของการซื้อขายสัตว์ทั่วไปนั้นไม่ได้

การที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรฯต้องสูญเสียเสือดำเพศเมียไป 1 ตัวย่อมทำให้เสียสมดุลทางนิเวศในพื้นที่ดังกล่าวไปเป็นเวลานานกว่า 5 ปีจึงจะทำให้สมดุลกลับคืนมา เพราะเสือดำเป็นสัตว์นักล่าอยู่ชั้นบนสุดของห่วงโซ่อาหาร(Food Chain) การขาดเสือดำไปจะทำให้สัตว์ถูกล่า เช่น กระต่าย หมูป่า กวาง ฯลฯ เจริญพันธุ์ได้มากขึ้น ซึ่งมีโอกาสที่จะไปทำลายนิเวศโดยรอบให้เสียสมดุลได้ และอาจลุกลามมาทำลายพืชผลทางการเกษตรของชาวบ้านด้านนอกเขตรักษาพันธุ์ฯได้หากพืชอาหารของสัตว์ถูกล่ามีไม่เพียงพอ อีกทั้งเสือดำเพศเมียที่ถูกฆ่าอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ย่อมมีโอกาสที่จะขายพันธุ์ได้ในรุ่นลูก รุ่นหลาน ได้อีกมากอาจถึง 100 เลยก็ได้ซึ่งจะทำให้มูลค่าของเสือดำ 1 ตัวมากกว่า 1,000 ล้านบาทเลยทีเดียว

ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าของการผลิตเสือลายเมฆที่สวนสัตว์เขาเขียว ตามโครงการความร่วมมือในการอนุรักษ์เสือลายเมฆในประเทศไทย ร่วมกับภาคี(Thailand Clouded Leopard Consortium) ประกอบด้วย องค์การสวนสัตว์ ร่วมกับหน่วยงานจากประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แก่ สถาบันสมิธโซเนียน สวนสัตว์แนชวิลล์ และสวนสัตว์พอยท์เดอไฟแอนส์ รวมถึงคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้ว จะพบว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่า 500 ล้านบาทกว่าที่จะผลิตเสือลายเมฆให้ได้หนึ่งคู่ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวกรมอุทยานแห่งชาติฯสามารถขอข้อมูลมาประกอบคดีได้จากองค์การสวนสัตว์ฯ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการต่อสู้คดีในกรณีทางแพ่งได้ดีกว่า
ดังนั้น สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน จึงใคร่เรียกร้องต่อกรมอุทยานแห่งชาติฯ ให้เปลี่ยนหลักคิดทางแพ่งในการเรียกค่าเสียหายจากการฆ่าเสือดำดังกล่าวเสียใหม่ซึ่งไม่น่าจะต่ำกว่า 300-500 ล้านบาท ซึ่งเป็นหลักคิดค่าเสียหายในทางการลงโทษที่สากลใช้กัน ทั้งนี้ ไม่ต้องเกรงว่าจะเป็นบรรทัดฐานที่จะไปกระทบต่อบุคคลอื่น ๆ ที่อาจจะขับรถไปชนเสือดำตาย หรือคนยากคนจนที่อาจจะไปล่า เพราะการฆ่าเสือดำนั้นกฎหมายจะเอาผิดขั้นสูงสุดก็แต่เฉพาะคนที่มี “เจตนา” ฆ่าเท่านั้น ทั้งนี้กรณีดังกล่าวหากกรมอุทยานฯแห่งชาติไม่ทบทวนวิธีคิดค่าเสียหายดังกล่าวเสียใหม่

สมาคมฯก็จำเป็นที่จะต้องใช้สิทธิทางศาลในการฟ้องกรมอุทยานฯเพื่อหาข้อยุติในทางกฎหมายต่อไป


 

RELATED ARTICLES

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img