สำหรับการลงพื้นที่ในครั้งนี้ เพื่อมารับฟังสภาพปัญหาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อาทิ การเปิดตลาดโรงเกลือ การขาดแคลนแรงงาน รวมทั้งการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวภายหลังการผ่อนคลาย การบังคับใช้มาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาด และยับยั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตามแนวตะเข็บชายแดน ว่าจะมีวิธีการนำเข้าแรงงานต่างด้าวเข้ามาอย่างไร รวมทั้งการกำหนดสถานที่กักตัว 14 วัน การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ตามขั้นตอนที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจะรับสมัครผู้สนใจเสนอสถานที่กักกัน เพื่อกักกันแรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาที่จะเข้ามาทำงานตามระบบเอ็มโอยู ปัจจุบันอยู่ระหว่างตรวจสอบมาตรฐานของสถานที่ และการกำหนดวิธีการดำเนินการอย่างไรบ้าง
ส่วนปัญหาการขาดแคลนแรงงานทางผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความต้องการใช้แรงงานต่างด้าวเพื่อทำงานในภาคเกษตรเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะการทำงานในไร่อ้อย นายมนตรี ดำพล นายกสมาคมเกษตรกรชายแดนบูรพา แจ้งความต้องการแรงงานเพื่อมาทำงานตัดอ้อย ประมาณ 10,000 คน หากไม่สามารถหาแรงงานมาดำเนินการตัดอ้อยได้จะเกิดความเสียหาย นอกจากนี้ ชาวสวนลำไย ซึ่งมีพื้นที่ทำสวน ประมาณ 58,000 ไร่ ก็มีความต้องการแรงงาน ประมาณ 1,000 คนเช่นกัน แต่จะขอใช้แรงงานกัมพูชาจากจันทบุรีซึ่งมีความชำนาญในการเก็บลำไย มาเก็บลำไยในพื้นที่สระแก้ว
นายสุชาติ ยังกล่าวถึง การเฝ้าระวังการลักลอบเข้ามาทำงานของแรงงานต่างด้าว ว่ากระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานจัดหางานจังหวัดจะบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประชาสัมพันธ์และตรวจสอบการทำงานของคนต่างด้าวอย่างสม่ำเสมอ หากตรวจพบการกระทำความผิดจะดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ กองกำลังบูรพา จัดชุดตรวจ ลาดตระเวน แนวชายแดนไทย – กัมพูชา อย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันมิให้แรงงานกัมพูชาลักลอบเข้ามาในประเทศ ส่วนการสุ่มตรวจหาเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มแรงงานต่างด้าว สำนักงานจัดหางานจังหวัดสระแก้วได้บูรณาการร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้วในการสุ่มตรวจหาเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มแรงงานต่างด้าว โดยสำนักงานจัดหางานจังหวัดทำหน้าที่คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่มีการจ้างแรงงานต่างด้าวเป็นจำนวนมาก ประสานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและได้รับการผ่อนผันตามมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานเป็นช่างฝีมือ ผู้ชำนาญสระแก้ว เพื่อตรวจหาเชื้อโควิด-19 ซึ่งได้ดำเนินการมาแล้วหลายครั้งรวมแรงงานต่างด้าวที่ได้รับการตรวจมากกว่า 1,000 คน ซึ่งปรากฎว่าไม่พบผู้ติดเชื้อแต่อย่างใด
จังหวัดสระแก้ว มีพื้นที่ติดชายแดนกัมพูชา มีการใช้แรงงานต่างด้าวอยู่ที่ประมาณ 12,000 – 22,000 คน เป็นแรงงานที่นำเข้ามาทำงานตามเอ็มโอการ ครูสอนภาษา และแรงงานภาคเกษตร ซึ่งเป็นแรงงานจำนวนมากที่สุด แบ่งเป็น ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ก่อนสถานการณ์โควิด-19 จำนวน 21,205 คน และในปัจจุบันเดือนกันยายน 2563 จำนวน 2,746 คน ซึ่งการลงพื้นที่ในวันนี้จะทำให้รับทราบสภาพปัญหาจากผู้ประกอบการภาคเอกชนโดยตรงเกี่ยวกับความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว รวมทั้งการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน เพื่อให้ผู้ประกอบการและระบบเศรษฐกิจของประเทศฟื้นตัวจากโควิดโดยเร็ว