ส่วนเรื่องการท่องเที่ยวจะมีการพิจารณาเพิ่มเติม หลังจากที่ได้ลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นของผู้ประกอบการแต่ละจังหวัด เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือผู้ประกอบการในอาชีพต่างๆที่ได้รับผลกระทบโควิด-19 แต่ยังคงต้องหารือกันต่อไป ก่อนจะเสนอเข้าที่ประชุมศบศ.หามาตรการช่วยเหลือต่อไป
โดย นายอนุชา ระบุว่า ที่ประชุมรับทราบการพิจารณาเงินกู้ของคณะกรรมาธิการในโครงการที่ได้รับการอนุมัติเพิ่มเติมต่างๆ อาทิ โครงการอนุมัติเพิ่มเติม การปรับโครงสร้างการผลิต,การแปรรูปการ,ส่งเสริมเกษตรกร ที่จะได้รับเงินสนับสนุน 2,300 ล้านบาท
นอกจากนี้ ที่ประชุมครม.ยังเห็นชอบโครงการ คิดถึงเชียงใหม่ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่เป็นโครงการพัฒนาแหล่งผลิต การส่งเสริม การปลูก การจัดการ และพัฒนามาตรฐานความปลอดภัย รวมถึงยกระดับการพัฒนาอาหารล้านนา การสร้างอาหารรูปแบบใหม่ ตลอดจนพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ให้เชื่อมโยงและดึงดูดใจนักท่องเที่ยวด้วยการจัดเทศกาลและกิจกรรมต่างๆ วงเงิน 48.6 ล้านบาท
นายอนุชา กล่าวว่า ที่ประชุมยังเห็นชอบโครงการการพัฒนาแมลงโปรตีน เพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบ ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้จากแมลงโปรตีน มีการฝึกเกษตรกร 300 ราย เพื่อให้องค์ความรู้สามารถใช้แมลงโปรตีนเป็นอาหารสัตว์ วงเงินโครงการ 17 ล้านบาท
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าที่ประชุม ครม. เห็นชอบให้สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน คงมาตรการชดเชยรายได้ของสถานประกอบการจากโควิด-19 ที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยาจาก สำนักงานประกันสังคม จากเดิมกำหนดให้เสร็จสิ้นสิงหาคม 2563 ขยายเป็นเดือนตุลาคม 2563 เพื่อให้สำนักงานประกันสังคมเร่งแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเลขที่บัญชีของผู้ที่ได้รับสิทธิ์ โดยการใช้เลขบัตรประจำตัวบัตรประชาชนของผู้ประกันตนแทน เพื่อโอนเงินให้รวดเร็วและช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบได้รวดเร็วมากขึ้น
ทั้งนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ได้เสนอเรื่องร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการออกเสียงประชามติที่ปกติจะใช้เงิน 3,000 ล้านบาท แต่ในช่วงโควิด-19 เลขา กกต.บอกว่าการทำประชามติอาจจะต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นอีก 1,000 ล้านบาท เป็น 4,000 ล้านาบาทในการทำประชามติ