1.ข้าวหอมมะลิ 15,000 บาทต่อตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน
2.ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ 14,000 บาทต่อตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
3.ข้าวเจ้า 10,000 บาทต่อตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน
4.ข้าวหอมปทุมธานี 11,000 บาทต่อตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน
5.ข้าวเหนียว 12,000 บาทต่อตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
โดยโครงการเริ่มต้นในวันที่ 1 กันยายนนี้เป็นต้นไป จนถึงสิ้นฤดูกาลผลิตเดือนพฤษภาคมปี 2564
โดยมอบหมายให้ ธ.ก.ส., กระทรวงการคลัง, สำนักงบประมาณ และกระทรวงพาณิชย์ จัดทำรายละเอียดโครงการประกันรายได้ มาตรการคู่ขนาน และงบประมาณตาม พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 และให้กระทรวงพาณิชย์ในฐานะฝ่ายเลขานุการ นบข. นำเสนอ ครม. ต่อไป
นอกจากนี้ยังมีมาตรการเสริมเรื่องข้าวชะลอการขายข้าว ในกรณีที่ข้าวล้นตลาด เพื่อไม่ให้มีการกดราคาข้าว ซึ่งหากเกษตรกรเก็บข้าวไว้ไม่ขายก็จะมีเงินชดเชยให้ 1,500 บาทต่อตัน ขณะที่สถาบันเกษตรกรก็ได้รับการชดเชย 1,500 บาทต่อตันเช่นกัน แต่สถาบันเกษตรกรจะได้รับเงิน 1,000 บาทและเกษตรกรได้รับ 500 บาท อีกทั้งจะมีการช่วยเหลือเงินกู้โดยรัฐบาลช่วยเหลือดอกเบี้ยร้อยละ 3 ให้กับสถาบันเกษตร และโรงสีข้าวที่เก็บสต๊อกข้าวไว้ รวมถึงช่วยค่าบริหารจัดการและการปรับปรุงคุณภาพข้าวให้กับเกษตรกร รายละไม่เกิน 20ไร่ ไร่ละ 1,000 บาท
ทั้งนี้เรื่องการปรับคณะรัฐมนตรี ขณะนี้นายกรัฐมนตรียังไม่ได้ส่งสัญญาณหรือพูดคุยกันในเรื่องนี้ ซึ่งมองว่าทุกอย่างต้องอยู่ที่ผู้นำรัฐบาล หากยังไม่ได้แจ้งอะไรก็ยังไม่มีการดำเนินการ ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ยังไม่ได้หารือในเรื่องนี้ถึงสัดส่วนรัฐมนตรีของพรรคประชาธิปัตย์เดิมของพรรคจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ซึ่งมองว่าสถานการณ์ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง เงื่อนไขในการเข้าร่วมรัฐบาลยังเหมือนเดิมและยังเป็นเหมือนวันแรก พร้อมย้ำว่าหากยังไม่ได้รับสัญญาณจากนายกรัฐมนตรีพรรคประชาธิปัตย์ก็จะไม่ดำเนินการใดๆไปก่อนล่วงหน้า