หน้าแรกการเมือง"วัชระ" ยื่นนายกฯเชือดโกงเงินหล่นใต้โต๊ะโครงการฉาว​ 500​ ล้าน

“วัชระ” ยื่นนายกฯเชือดโกงเงินหล่นใต้โต๊ะโครงการฉาว​ 500​ ล้าน

วันที่​ 8​ ก.ค.63​ เวลา​ 10.25 น.​ณ​ ศูนย์​รับ​เรื่องราว​ร้องทุกข์​ ทำเนียบ​รัฐบาล​ : นายวัชระ เพชรทอง อดีตส.ส.ประชาธิปัตย์ เข้ายื่นหนังสือถึงพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยมีนายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับหนังสือแจ้งเบาะแสการทุจริตโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ อันมาจากคำพูดของ นายพรเพชร วิชิตชลชัย อดีตประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่ระบุว่า “มีเงินหล่นใต้โต๊ะ 500 ล้านบาท” ในการสืบพยานปากที่ 13 (ขอสงวนชื่อและนามสกุล) เมื่อวันที่ 2 ก.ค.63​ ที่ผ่านมาของจำเลยในคดีที่​ อ.838/2561​

นายชัชวาลย์ อภิบาลศรี อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือสนช. ได้ฟ้องคดีหมิ่นประมาทตน เรื่องการทุจริตงบฯ​ ICT.ในการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ จำนวน 8,648 ล้านบาท โดยพยานคนดังกล่าวได้ให้การต่อหน้าผู้พิพากษาศาลอาญา 4 ท่าน,โจทก์,ทนายโจทก์,จำเลย,ทนายจำเลย,ในห้องพิจารณาคดี 904 ว่า คณะข้าราชการระดับสูงของสภาฯได้เข้าไปรับนโยบายจากนายพรเพชร วิชิตชลชัย เนื่องในโอกาสรับตำแหน่งประธานสนช.โดยนายพรเพชรกล่าวถึงโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ว่า “อะไรก็ไม่พร้อมแต่ให้เดินหน้าต่อไป มีเงินหล่นใต้โต๊ะ 500 ล้าน”

ซึ่งคำพูดดังกล่าวออกจากปากของผู้ที่มีตำแหน่งเป็นถึงประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และกล่าวต่อหน้าคณะผู้บริหารสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้นจำนวนไม่น้อยกว่า 4 คน จึงน่าเชื่อถือว่าต้องเป็นเรื่องจริง อีกทั้งคำให้การของพยานก็ได้สาบานตนต่อหน้าศาลแล้ว จึงน่าเชื่อถือว่าต้องเป็นเรื่องจริงเช่นกัน

ดังนั้น เพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ และปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ฉบับปราบโกง จึงขอให้นายกรัฐมนตรี​ พิจารณาเร่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเรื่องการทุจริตโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ว่าคำพูดของนายพรเพชร “มีเงินหล่นใต้โต๊ะ 500 ล้าน” เป็นความจริงหรือไม่ ? หากเป็นเรื่องจริง ใครคือคนทำเงินจำนวนมหาศาลนี้หล่น ใครเก็บที่เงินที่หล่นไว้ และการกระทำดังกล่าวผิดกฎหมาย ปปช.และกฎหมายอาญาอื่นๆ หรือไม่ ซึ่งจะต้องดำเนินคดีอย่างเฉียบขาดต่อไป ขณะเดียวกันก็ขอให้นายกรัฐมนตรีสั่งให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ตรวจสอบเส้นทางการเงิน 500 ล้านบาท สืบหาผู้ร่วมกระทำผิด และติดตามยึดทรัพย์กลับมาเป็นของแผ่นดิน เพราะเป็นเงินภาษีอากรของคนไทยทั้งชาติ

สำหรับโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่นี้มีวงเงิน 12,280 ล้านบาท ไม่รวมงบฯ​ ICT.ที่ลดลงในสมัยรัฐบาลพลเอกประยุทธ จันทร์โอชาเหลือ 3,351 ล้านบาทจากที่สภาฯ​ ขอไป 8,648 ล้านบาทในสมัยรัฐบาล คสช.นอกจากนี้บริษัทผู้รับเหมายังขอเงินค่าเร่งรัดงานก่อสร้างห้องประชุมสุริยัน-จันทราอีก 215 ล้านบาทและฟ้องศาลปกครองกลางเรียกค่าเสียหายจากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรอีกเมื่อวันที่ 17​ เมษายน 2563 เป็นเงิน​1,596,592,305.46 บาท

RELATED ARTICLES
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img