คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ ประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการต่อพระราชกำหนดการบริหาร ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (พ.ร.ก. ฉุกเฉิน) ออกไปอีก 1 เดือน ว่า พรรคเพื่อไทยไม่เคยเห็นด้วยกับการใช้พรก.ฉุกเฉิน และควรนำพรบ.โรคระบาดมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ เพราะที่ผ่านมาเมื่อเกิดโรคระบาดขึ้นในไทย ก็ใช้เพียงพรบ.โรคระบาด แต่เห็นด้วยในตอนแรกที่มีการประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉินเพื่อให้เกิดความสะดวกในการเคลื่อนย้ายคนจำนวนมาก แต่หลังจากนั้นการติดเชื้อในประเทศไม่มีแม้แต่รายเดียวเป็นเวลา34วันต่อกัน จึงไม่มีความจำเป็นในการต่อพรก.ฉุกเฉิน จึงเกิดการตั้งข้อสังเกตว่าการคงพรก.ฉุกเฉินไว้จะทำให้เกิดข้อเสียมากขึ้น รัฐบาลต้องรักษาวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น การคงพรก.ฉุกเฉินสร้างความไม่มั่นใจในการค้าการลงทุน อีกทั้งการใช้งบประมาณต้องโปร่งใส ตราบใดที่ยังคงพ.ร.กฉุกเฉินอยู่ การใช้งบต้องเป็นวิธีพิเศษ เกรงว่าจะใช้เป็นข้ออ้างในการหาประโยชน์ ในใช้งบประมาณได้
ด้าน นายสุทิน คลังแสง ประธานคณะกรรมาการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน กล่าวเพิ่มเติมว่า การต่อพรก.ฉุกเฉินนั้นอาจเป็นการเปิดช่องให้ก่อการทุจริตขึ้นมาเยอะ เพราะหลังจากที่มีคณะกรรมาการกรั่นกรองขึ้นมา และได้วินิจฉัยข้อขัดแย้งจนนำไปสู่การแก้ไขระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง เพราะโดยปกติการจัดซื้อจัดจ้างโดยงบประมาณที่มีมูลค่าสูง จะต้องเข้าสู่กระบวนการประมูล (อีบิดดิ้ง) ซึ่งในระหว่างที่บังคับใช้พรก.ฉุกเฉินไม่จำเป็นต้องใช้การจัดซื้อจัดจ้างแบบอีบิดิ้ง สิ่งเหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงการคงพร.ก.ฉุกเฉินไว้ตลอด 2-3 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งได้อาศัยพรก.ฉุกเฉินยกเว้นการประมูล จึงตั้งข้อสังเกตว่าเมื่อไม่สามารถจัดซื้อจัดจ้างไม่ทันตามแผนเดิมที่ต้องแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน การขยายพรก.ฉุกเฉินจึงเกิดขึ้นนี่เป็นข้อเท็จจริงที่ประจักษ์ชัด หากรัฐบาลเห็นว่าสิ่งที่พรรคเพื่อไทยได้สะท้อนไม่เป็นความจริงของให้ชี้แจงว่าสิ่งที่ได้ทำเป็นการเปิดช่องไปสู่การทุจริจหรือไม่
ขณะที่ นายวัฒนา เมืองสุข กรรมาการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า รัฐบาลต้องเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ หากรัฐบาลยังคงพรก.ฉุกเฉินไว้ จะไม่สามารถให้เศรษฐกิจโตได้ เหตุแห่งความจำเป็นตามประกาศของรัฐบาลในการคงพรก.ฉุกเฉิน ไม่มีอีกต่อไปแล้ว นอกเสียจากเหตุผลทางการเมืองที่ควบคุมประชาชนไม่ให้ออกมาแสดงความเห็น พรรคเพื่อไทย จึงเสนอให้ เลิกพ.ร.กฉุกเฉินในทันที