ทั้งนี้นายวิษณุ กล่าวว่า หากยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน จะมีกฎหมายปกติเข้ามาดูแลสถานการณ์แทน ทั้งพรบ.โรคติดต่อที่เป็นกฎหมาย หลักในการทำงาน รวมถึง พรบ. การเดินอากาศ และพรบ.สาธารณะสุข พรบ.ป้องกันบรรเทาสาธารณภัย และพรบ.ว่าด้วยระเบียนการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งกฎหมายเหล่าถูกใช้ก่อนประกาศ พรก.ฉุกเฉินหรือตั้งแต่ 13 มกราคม ที่พบผู้ป่วยคนแรกในไทย ดังนั้นหากยกเลิกก็กลับมาใช้กฎหมายเหล่านี้ แต่ยอมรับมีช่องโหว่ทางกฎหมายอยู่จึงต้องเรียนรู้และแก้ไขปัญหา แต่ทั้งนี้หากจะใช้มติ ครม. ก็จะทำได้เพียงการบูรณาการเชื่อมการทำงานระหว่างจังหวัดเท่านั้น แต่จะใช้ในการกำหนดมาตรการหนักเช่น การประกาศเคอร์ฟิวไม่ได้
ทั้งนี้ ย้ำว่า เคยอธิบายมาหลายครั้งแล้วว่าแนวทางสำคัญของ พรก.ฉุกเฉินมี 3 แนวทาง หลักๆคือ
1.การคงพรก.ฉุกเฉินเอาไว้
2.ยกเลิกการประกาศใช้
3.คงประกาศ พรก.ฉุกเฉินไว้ แต่ผ่อนคลายมาตรการหลายอย่างภายใต้ พรก.ฉุกเฉิน เช่น เคอร์ฟิว
อย่างไรก็ตาม นายวิษณุ ยืนยันว่า การพิจารณายกเลิกหรือ คง พรก.ฉุกเฉินนั้นจะพิจารณาตามความเหมาะสมเป็นหลัก เพราะการใช้ พรก.ฉุกเฉินไม่ทำให้ใครได้ประโยชน์
ทั้งนี้ ไม่ต้องกังวลกับเรื่องดังกล่าว เพราะหากยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน แล้วสถานการณ์รุนแรงขึ้นอีก ก็ประกาศใช้ใหม่ได้ ไม่ใช่เรื่องที่ยากเย็นอะไร และยืนยันว่าไม่มีกฎหมายพิเศษอื่นที่จะมาดูแลสถานการณ์ในขณะนี้ได้ เพราะกฎหมายพิเศษอื่นๆเช่น การประกาศกฎอัยการศึก หรือ พรบ.ความมั่นคงจะใช้ในกรณีที่มีเหตุการณ์ความรุนแรงเท่านั้น