หน้าแรกการเมือง"ศรีสุวรรณ" ยื่นผู้ตรวจฯ ส่งศาลรธน.วินิจฉัยพรก.ฉุกเฉิน

“ศรีสุวรรณ” ยื่นผู้ตรวจฯ ส่งศาลรธน.วินิจฉัยพรก.ฉุกเฉิน

นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ยื่นหนังสือต่อสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยมีนายปิยะ ลือเดชกุล ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบเรื่องร้องเรียนเป็นผู้รับหนังสือโดยนายศรีสุวรรณ กล่าวว่า เนื่องจากสถานการณ์ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ผ่านมาจะเห็นว่าการควบคุมสถานการณ์เป็นไปด้วยดี และรัฐบาลใช้อำนาจตามพ.ร.กฉุกเฉินและมีข้อกำหนดออกมาจำนวนมาก ทำให้กระทบสิทธิเสรีภาพของประชาชน และอาจจะละเมิดการประกอบอาชีพของประชาชน ซึ่งประชาชนได้รับความเดือดร้อน แต่จะใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญรับรองคุ้มครองก็ไม่ได้ เนื่องจากการพ.ร.ก.ฉุกเฉิน มาตรา 16 ที่ได้กำหนด ข้อห้ามและข้อยกเว้นไว้ ว่าหากมีข้อพิพาท ประชาชนไม่สามารถที่จะใช้สิทธิดำเนินคดีหรือฟ้องร้องต่อศาลปกครองได้ ซึ่งถ้าหากมีข้อพิพาทก็เป็นอำนาจของศาลปกครองที่จะต้องมาพิพากษาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 197

ดังนั้น จึงขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาและวินิจฉัยมาตรา 16 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินพ.ศ.2548 ขัดหรือแย้งต่อมาตรา 197 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหรือไม่

 

“ศรีสุวรรณ” ค้าน พรก.กู้เงิน ซื้อตราสารหนี้ของนักลงทุนรายใหญ่ ยื่นศาลวินิจฉัย ชี้เป็นการใช้เงินภาษีของประชาชนที่ไม่ถูกต้อง พร้อมยื่นตรวจสอบเจ้าพนักงานของรัฐเรียกรับเงินสินบนโรงแรมกักตัว

นายศรีสุวรรณ กล่าวว่า พ.ร.ก.เงินกู้ 3 ฉบับ ที่ออกมานั้น 2ฉบับแรกเห็นสมควรในการกู้เงินเพื่อช่วยเหลือประชาชน ที่ได้นับความเดือดร้อนรวมถึงผู้ประกอบการรายย่อยด้วย แต่ในพ.ร.ก.กู้เงินฉบับที่3 คือการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ 2563 ที่ให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อมาซื้อตราสารหนี้ของนักลงทุนรายใหญ่ มองว่าไม่ถูกต้องเพราะตราสารหนี้ เป็นธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งผู้ที่ครอบครองต้องรู้ดีแล้วว่าเป็นธุรกิจตามปกติ การที่ออก พ.ร.ก.นี้ออกมามองว่าเป็นการใช้เงินภาษีของประชาชนที่ไม่ถูกต้อง โดยวิธีการลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชนที่ออกใหม่โดยในระยะเริ่มแรกให้หักกองทุนมีวงเงินไม่เกิน 4 แสนล้านบาทโดยไม่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วน ดังนั้นจึงขอให้เสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณา ว่าพ.ร.ก.ดังกล่าวเป็นการขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 172 ประกอบมาตรา 140 หรือไม่

พร้อมกันนี้ได้ยื่นหนังสือให้ผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบ การทำหน้าที่ของเจ้าพนักงานของรัฐ ที่มีกระแสข่าวว่าเรียกรับเงินสินบน 30-40 % จากเงินของรัฐที่จ่ายให้1000บาทต่อคนต่อวัน จากโรงแรมที่พักกักตัวในจ.ชลบุรี ของคนไทยที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สมควรเป็นอย่างยิ่งในสถานการณ์เช่นนี้ และทราบมาว่าบุคคลที่ไปดำเนินการเช่นนี้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วย และขอให้ตรวจสอบนพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่เชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยเพราะได้มีการออกมาปฏิเสธทันทีหลังจากที่มีข่าวออกมาโดยไม่ได้มีการตรวจสอบเสียก่อน จึงมีเหตุอันสงสัยว่าร่วมกระบวนการนี้ด้วยหรือไม่

RELATED ARTICLES
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img