นายชุติเดช ชยุติ รองประธานเจ้าหน้าที่บริ หารอาวุโส – คอร์ปอเรท ไฟแนนซ์ “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจสินเชื่อเพื่อผู้บริ โภค เปิดเวทีเสวนาให้ความรู้ในหัวข้ อ “KTC FIT Talks 6: เจาะลึก..อะไรจะเกิดขึ้น? เมื่อมาตรฐาน TFRS9 เข้ามา” โดยเชิญ ดร.ศุภมิตร เตชะมนตรีกุล หุ้นส่วนสำนักงานด้านการสอบบั ญชี บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ สอบบัญชี จำกัด ร่วมเป็นวิทยากรพิเศษ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้ าใจที่ถูกต้อง เมื่อมาตรฐานการรายงานทางการเงิ นฉบับที่ 9 (Thai Financial Reporting Standards: TFRS 9) เริ่มบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2563 และการรับมือของสถาบันการเงิ นไทย ความเปลี่ยนแปลง ความเสี่ยงและผลกระทบที่เกี่ ยวข้อง โดยคุณชุติเดชได้ยืนยันว่ ามาตรฐาน TFRS9 ทำให้การรายงานตัวเลขทางการเงิ นของบริษัทมีการเปลี่ยนแปลง แต่ไม่มีผลกระทบอย่างใดกั บการปฏิบัติงานจริง งานดังกล่าวจัดขึ้น ณ ห้องประชุมใหญ่ “เคทีซี”ชั้น 14 อาคารสมัชชาวาณิช 2 พร้อมออกอากาศสดผ่านเฟซบุ๊คไลฟ์ (Facebook Live) ทางเพจ #KtcCsrClub
ดร.ศุภมิตร กล่าวถึงสาระสำคัญของมาตรฐาน TFRS 9 ว่า “TFRS 9 คือ มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบั บที่ 9 : เครื่องมือทางการเงินที่ใช้ลงบั ญชีของกิจการที่มีส่วนได้เสี ยสาธารณะ (PAEs: Publicly Accountable Entities) อันได้แก่ บริษัทมหาชน กิจการที่ต้องระดมเงินในวงกว้ างโดยการออกตราสารหนี้ ตราสาร ทุน หรือเอกสารแสดงสิทธิ เช่น สถาบันการเงิน บริษัทหลักทรัพย์และกองทุนรวม ฯลฯ รวมถึงกิจการที่กำลังขอจดทะเบี ยนออกตราสารในตลาดหลักทรัพย์ โดยได้มีการบังคับใช้มาตรฐาน TFRS9 ในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา”
“มาตรฐาน TFRS9 ได้ปรับเปลี่ยนหลักการเกี่ยวกั บการจัดประเภทและการวัดมูลค่ าของเครื่องมือทางการเงิน และการด้อยค่าของเครื่องมื อทางการเงิน โดยมีส่วนที่สำคัญคือ การกันเงินสำรองเพื่อรองรั บผลเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้ นจากสินทรัพย์และภาระผูกพัน เช่น เงินให้สินเชื่อ เงินลงทุนในตราสารหนี้ สัญญาค้ำประกันทางการเงิน วงเงินที่ยังไม่ได้เบิกใช้ จากแนวคิดเดิมที่กันเงิ นสำรองจากความเสียหายที่เกิดขึ้ นแล้ว (Incurred Loss) มาเป็นการกันสำรองเพื่อรองรั บความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้ นในอนาคต (Expected Loss: EL) เพื่อให้เงินสำรองสะท้อนความเสี่ ยงด้านเครดิตตลอดอายุของลูกหนี้ โดยกำหนดให้พิจารณาจากข้อมูลทั้ งในอดีต ปัจจุบัน และเหตุการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้ นในอนาคต (Forward-looking Information) โดยพิจารณากันเงินสำรองต่างกั นตามสถานะหรือชั้น (Stage) ของลูกหนี้”
-ลูกหนี้ Stage 1 กลุ่มที่มีความเสี่ยงด้านเครดิ ตไม่เปลี่ยนแปลงจากวั นแรกของการให้สินเชื่อ ให้กันเงินสำรองเพื่อรองรั บความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้ นภายใน 1 ปีข้างหน้า (1-year EL)
-ลูกหนี้ Stage 2 กลุ่มที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้ นอย่างมีนัยสำคัญ
–ลูกหนี้Stage 3 กลุ่มหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิ ดรายได้ (Non-performing loan: NPL) ให้กันเงินสำรองรองรับความเสี ยหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้ นตลอดอายุของลูกหนี้ (Lifetime EL) ทำให้สถาบันการเงินรับรู้เงิ นสำรองเร็วขึ้นตามสถานะของลู กหนี้ที่เปลี่ยนแปลงไป และงบการเงินสะท้อนฐานะที่แท้ จริงอย่างเป็นปัจจุบัน
“สำหรับงบการเงินจะเปลี่ ยนแปลงการแสดงรายการแบบใหม่ ตามแนวทางการจัดประเภทและการวั ดมูลค่าที่เปลี่ยนแปลง โดยจะเพิ่มบางรายการ เช่น สินทรัพย์ หนี้สินทางการเงินที่วัดมูลค่ าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่ านกำไรขาดทุน (Fair value through PL: FVTPL) และงบกำไรขาดทุนจะมีการเปลี่ ยนแปลงบางรายการ เช่น กำไร (ขาดทุน) จากการวัดมูลค่าเครื่องมื อทางการเงินประเภทต่างๆ ผ่านกำไรขาดทุน (FVTPL) หรือกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (Fair Value through Other Comprehensive Income: FVOCI) และผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่ าจะเกิดขึ้น โดยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะช่ วยให้ผู้ใช้งบการเงินทราบถึงรู ปแบบการประกอบธุรกิจ และวัตถุประสงค์ในการถือครองสิ นทรัพย์ของกิจการ หากมีวัตถุประสงค์ในการถื อครองสินทรัพย์เพื่อมุ่งหวั งกำไรระยะสั้น จะรับรู้กำไรหรือขาดทุ นจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าเข้ างบกำไรขาดทุน (FVTPL) แต่หากถือเพื่อมุ่งหวังกระแสเงิ นสดและขายในอนาคต จะรับรู้กำไรหรือขาดทุ นจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าเข้ างบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (FVOCI) แต่หากถือเพื่อมุ่งหวังเพี ยงกระแสเงินสดตามสัญญา จะวัดมูลค่าด้วยวิธีราคาทุนตั ดจำหน่ายและมีการกันสำรองตามที่ กล่าวข้างต้น สำหรับอัตราส่วนทางการเงิ นบางรายการก็จะมีการเปลี่ ยนแปลงเช่นกัน เช่น เงินให้สินเชื่อใน Stage 2 ratio อาจมากกว่า Special Mention (SM) ratio เดิม เนื่องจากขอบเขตการนับลูกหนี้ที่ กว้างกว่า ในขณะที่ Net Interest Margin (NIM) อาจกว้างขึ้นแต่ไม่มาก เนื่องจากการรับรู้รายได้ดอกเบี้ ยจากส่วนที่คาดว่าจะได้รับคื นของลูกหนี้ NPL”
นายชุติเดช กล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงที่ จะเกิดขึ้นกับเคทีซีบนมาตรฐาน TFRS 9 ว่า “การนำมาตรฐานบัญชี TFRS9 มาใช้สำหรับงบการเงินเคทีซีที่ มีรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไปนั้น จะเป็น
การเปลี่ยนแปลงในการรายงานตั วเลขทางการเงินมากกว่าที่จะเป็ นผลกระทบต่อการปฏิบัติงานจริง ซึ่งสิ่งที่เปลี่ยนแปลงมากที่สุ ดจะมาจากแนวทางการตัดหนี้สูญที่ เข้มข้นกว่ามาตรฐานเดิม โดยรายงานตัวเลขทางการเงินตาม TFRS9 จะแตกต่างไปจากเดิม ดังนี้
1.) การเปลี่ยนแปลงการตัดหนี้สูญ (Write off) กับการบันทึกหนี้ที่ไม่ก่อให้ เกิดรายได้ (NPL) หรือลูกหนี้ที่ผิดนัดชำระเกิ นกว่า 90 วัน โดยการตัดหนี้สูญจะทำได้ช้าลง เนื่องจากหนี้สูญที่ตัดออกเพื่ อการใช้สิทธิทางภาษี จะยังไม่ถูกตั ดออกจากรายงานจนกว่าจะพิสูจน์ ได้ว่าไม่สามารถเรียกเก็บหนี้ ได้อีกต่อไป ดังนั้น หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) บนมาตรฐานใหม่ TFRS9 จะเทียบเคียงได้กับ Write off + NPL ตามมาตรฐานเดิม เช่น เดิมบริษัท A ตัดหนี้สูญปีละประมาณ 7-8% คงเหลือ NPL ประมาณ 1% แต่ภายใต้ TFRS9 จะรายงานประมาณ 8-9% ทำให้เห็นว่าตัวเลข NPL ตามมาตรฐานใหม่ดูสูงขึ้น
2). การเปลี่ยนแปลงการบันทึก NPL กับตัวชี้วัดสำคัญทางการเด้วย NPL ที่รายงานภายใต้ TFRS9 มีจำนวนเพิ่มขึ้น ทำให้อัตราส่วนที่เกี่ยวข้องมี การเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อลู กหนี้รวม (Allowance/Port) ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อลู กหนี้ที่อายุเกิน 90 วัน (NPL Coverage) เช่น ภายใต้มาตรฐานใหม่อัตราส่วนของ Allowance/Port ตามตัวเลขฐานใหม่อาจจะอยู่ ประมาณ 9%-11% และ NPL Coverage อาจจะเป็นประมาณ 100%-200% ทั้งนี้ เมื่อมีการนำ TFRS9 มาใช้เต็มรูปแบบ จะทำให้สามารถประมาณการอัตราส่ วนดังกล่าวได้ชัดเจน
3). การเปลี่ยนแปลงการบันทึกรายไดภา ยใต้มาตรฐานใหม่ TFRS9 ที่กำหนดให้บริษัทยังคงต้องรั บรู้รายได้ดอกเบี้ยจาก NPL ไปจนกว่า NPLดังกล่าวจะถูกตัดเป็นหนี้สูญ แม้ว่าจะอยู่ใน Stage 3 แล้วก็ตาม
4).การบันทึกกำไรทางบัญชีเพิ่ มขึ้นมาตรฐาน TFRS9 กำหนดให้บริษัทต้องตั้ งสำรองสำหรับ NPL ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย ตามจำนวนที่ได้จากการคำนวณตาม ECL Model (Expected Credit Loss Model) ซึ่งจะไม่ใช่การตั้งสำรองเต็ม 100% เหมือนเดิม และด้วยมาตรฐาน TFRS9 ที่กำหนดไว้ ในกรณีที่มีส่วนต่างของรายได้ ดอกเบี้ยและสำรองในส่ วนของดอกเบี้ยที่น้อยกว่า 100% ให้รับรู้ผลต่างนั้ นในงบกำไรขาดทุนด้วย ซึ่งมีผลให้กำไรทางบัญชีเพิ่มขึ้ น
ทั้งนี้ ด้วยจำนวนของสำรองหนี้สงสัยจะสู ญที่เคทีซีมีอยู่ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 เมื่อได้คำนวณตาม ECL Model แล้ว มีส่วนที่เกินอยู่จำนวนหนึ่ง ฝ่ายจัดการของบริษัทฯ จึงพิจารณา Management Overlay จำนวนหนึ่งเพิ่มเติ มตามกำหนดในมาตรฐาน TFRS9 จึงทำให้เมื่อเข้าสู่ TFRS9 จะไม่มีสำรองส่วนเกิน”
เคทีซีมีผลประกอบการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 ดังนี้ กำไรสุทธิ 5,524 ล้านบาท พอร์ตลูกหนี้การค้ารวมเท่ากับ 85,834 ล้านบาท ฐานสมาชิกรวม 3.4 ล้านบัญชี แบ่งเป็นธุรกิจบัตรเครดิต 2,510,914 บัตร พอร์ตลูกหนี้บัตรเครดิตรวม 56,653 ล้านบาท NPL รวม 1.06% NPL บัตรเครดิตอยู่ที่ 0.93% ธุรกิจสินเชื่อบุคคลมีจำนวนทั้ งสิ้น 888,342 บัญชี ยอดลูกหนี้สินเชื่อบุคคลรวม 28,933 ล้านบาท NPL ของสินเชื่อบุคคลอยู่ที่ 0.92%