ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดทำร่างกฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่นว่า ยังไม่มีความคืบหน้า เพราะคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นัดไว้ปลายเดือน ก.พ.ทุกอย่างยังเป็นไปตามที่พูดไว้ ส่วนคณะกรรมการกฤษฎีกาเขาได้เตรียมของเขาไปและเริ่มรู้แล้วว่าจะแก้ไขอะไรก็ศึกษาไปด้วย คงใช้เวลาไม่นาน ด้านประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)ก็สอบถามมาว่าเตรียมจะเอากฎหมายท้องถิ่นเข้าเมื่อไหร่ จะได้จัดคิวได้ถูก เพราะจะมีกฎหมายเข้าสภาอีกมาก กฎหมายตามรัฐธรรมนูญต่างๆจวนจะถึงกำหนด
ในขณะเดียวกันรองนายกรัฐมนตรี ปฏิเสธที่จะให้ความเห็น กรณีที่ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ประเมินว่า การเลือกตั้งท้องถิ่นน่าจะเกิดขึ้นได้ราวๆ เดือน ส.ค.นี้ โดยกล่าวว่า ยอมรับว่าภายในปีนี้มีความเป็นไปได้ที่จะมีการเลือกตั้งท้องถิ่น การประเมินใครก็ทำได้ตามประสบการณ์ แต่ตนไม่มีประสบการณ์ ตอบไม่ถูก ยังไม่ได้เข้าสภาฯ ไม่รู้จะนับหนึ่งอย่างไร แต่เมื่อกฎหมายประกาศใช้ กระทรวงมหาดไทยขอเวลา 45 วันเท่านั้น วันที่ 46 ก็เลือกตั้งได้ ซึ่งอยู่ที่นโยบายจะให้เลือกตั้งในท้องถิ่นประเภทใดก่อน เพราะมี อบจ.76 แห่ง , อบต.และเทศบาลอีกหลายพันแห่ง ฉะนั้น ต้องเลือกเอา เมื่อนโยบายชัด จึงจะจัดเลือกตั้งได้ จึงยังตอบไม่ได้ว่า จะเลือกตั้งเดือน ส.ค.หรือ ก.ย.แต่น่าเป็นไปได้ว่า ในปีนี้จะมีเลือกตั้งท้องถิ่น
นายวิษณุกล่าวต่อไปว่า เมื่อกฎหมายการจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นประกาศใช้ กระทรวงมหาดไทยจะยืนยันว่าเขาสามารถจัดเลือกตั้งได้ ขอเวลาเขา 45 วันเท่านั้น วันที่ 46 ก็เลือกตั้งได้ ซึ่งอยู่ที่นโยบายจะให้เลือกตั้งในท้องถิ่นประเภทใดก่อน เพราะมี องค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) 76 มี องค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) เทศบาล อีกหลายพันแห่ง ฉะนั้นต้องเลือกเอา เมื่อนโยบายชัดจึงจะจัดเลือกตั้งได้ จึงยังตอบไม่ได้ว่าจะเลือกตั้งเดือนส.ค.หรือก.ย.แต่น่าเป็นไปได้ว่าในปีนี้จะมีเลือกตั้งท้องถิ่น
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่าต้องมีการปลดล็อกคำสั่งคสช.ทั้งสองฉบับก่อนจะมีการเลือกตั้งท้องถิ่นใช่หรือไม่ นายวิษณุตอบว่า แน่นอน ประมาณเดือนมิ.ย.น่าจะปลดล็อกได้แล้ว ส่วนความพร้อมการจัดเลือกตั้งกระทรวงมหาดไทยจะดูว่าความยากง่าย โดยหารือกับ กกต.เพื่อดูเรื่องการแบ่งเขต การเลือกสมาชิก กฎหมายเสร็จแล้วปล่อยให้สามารถหาเสียงได้ คือมี 4 ปัจจัย คือ 1.ต้องออกฎหมายก่อน 2.กกต.ต้องพร้อมจัดการเลือกตั้ง เช่น ไม่ใกล้ไม่ไกลกับการเลือกตั้งระดับชาติจนเกินไป 3.การแบ่งเขตเลือกตั้ง 4.ต้องมีการปลดล็อกเพื่อหาเสียง