หน้าแรกเศรษฐกิจ-การเงินภาพรวมเศรษฐกิจโลกและ กลยุทธ์การลงทุนปี 2020 ในยุค New Normal

ภาพรวมเศรษฐกิจโลกและ กลยุทธ์การลงทุนปี 2020 ในยุค New Normal

คุณศรชัย สุเนต์ตา ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลด้านการลงทุนและที่ปรึกษาการลงทุน ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB Chief Investment Office) กล่าวถึง “ภาพรวมเศรษฐกิจโลก พร้อมกลยุทธ์การลงทุนปี 2020 ในยุค New Normal” ดังนี้

ปัจจุบันเศรษฐกิจโลก ยังคงอยู่ในช่วงวัฏจักรเศรษฐกิจ (Late Cycle) โดยผลของสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และประเทศคู่ค้าหลักๆ โดยเฉพาะจีน ได้ทำให้เศรษฐกิจโลกขยายตัวในอัตราชะลอลง โดยการที่เศรษฐกิจโลกเติบโตอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตอย่างนานมากขึ้น และอัตราดอกเบี้ยจะมีแนวโน้มอยู่ในระดับที่ต่ำอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นความปกติในรูปแบบใหม่ (New Normal) ขณะที่เรายังไม่เห็นสัญญาณที่ชัดเจนของการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ในระยะ 1 ปีข้างหน้า ซึ่งในปัจจุบัน ธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ ได้ดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลาย และอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง และมีแนวโน้มที่จะยังคงผ่อนคลายทางการเงินต่อเนื่องในปี 2020 ทำให้อัตราดอกเบี้ยยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำตลอดทั้งปีหน้า

แต่อย่างไรก็ตาม โอกาสที่จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกมาก มีน้อยลงเช่นกัน เพราะเริ่มมีข้อจำกัดในการส่งผ่านนโยบายการเงินที่ต้องระมัดระวังเรื่องวินัยทางการเงิน เห็นได้จากการที่หนี้ภาคครัวเรือนอยู่ในระดับที่สูง โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว ภาคสถาบันการเงินที่เป็นตัวกลางก็ระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อเช่นกัน  และธนาคารกลางหลายแห่งยังต้องการที่จะเก็บกระสุนอัตราดอกเบี้ยที่มีจำกัดไว้เพราะปัจจุบันดอกเบี้ยก็อยู่ในระดับที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์อยู่แล้ว เพื่อรองรับความเสี่ยงหากเกิดในอนาคต นอกจากนี้รัฐบาลของประเทศต่างๆ ก็มีแนวโน้มที่จะใช้นโยบายการคลังแบบขาดดุลควบคู่กับนโยบายการเงิน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนโยบายการคลังดังกล่าวก็มีข้อจำกัดจากการมีหนี้สาธารณะสะสมซึ่งอยู่ในระดับสูงเช่นกัน

ทั้งนี้ มองว่า ผลจากการดำเนินนโยบายการเงินและการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งจากสหรัฐฯ และจีนได้ช่วยเพิ่มสภาพคล่องเข้าสู่ระบบ ประกอบกับความตึงเครียดจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่เริ่มผ่อนคลายลง โดยคาดว่าประธานาธิบดีทรัมป์ น่าจะมีท่าทีที่อ่อนลงในประเด็นสงครามการค้าในช่วงปีหน้า ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ โดยปัจจัยดังกล่าวจะส่งสัญญาณเชิงบวกให้กับตลาดการเงินการลงทุนมากขึ้น

SCB CIO Office มีมุมมองว่า แม้เศรษฐกิจภาพใหญ่ยังดูไม่สดใส แต่ตลาดสินทรัพย์เสี่ยงได้ตอบรับปัจจัยนี้เข้าไปแล้ว การลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงเป็นเรื่องการมองอนาคต ดังนั้นหากเริ่มจับสัญญาณการกลับตัวที่จะบ่งชี้ถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและตลาดหุ้นที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีชี้วัดภาคการผลิต (PMI) ปริมาณสินค้าคงคลัง (Inventory Stock) และการเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียน (EPS Growth) ซึ่งหาก PMI เริ่มปรับเพิ่มมากขึ้น ปริมาณสินค้าคงคลังปรับลดลง และกำไรของบจ.เริ่มมีเสถียรภาพหรือไม่ปรับลดลง ถือเป็นสัญญาณ Bottom Out ที่ควรจะเริ่มเข้าลงทุนใน early stage นี้

กลยุทธ์การลงทุนในปี 2020 คือหาจังหวะเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้น โดยเลือกลงทุนในตลาดหุ้น หรือในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ราคามีการปรับลดลงมามาก จนถือว่าต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน หรืออัตราผลตอบแทนในช่วงที่ผ่านมาปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าอัตราผลตอบแทนของตลาด (Laggard) เพื่อให้ได้รับประโยชน์เมื่อเงินลงทุนกลับมาไหลเข้าสินทรัพย์เสี่ยงอีกครั้ง ขณะที่ หลีกเลี่ยงการเข้าลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชน ที่มีความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับที่ต่ำกว่าที่ลงทุนได้ (High Yield) และเน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชน ที่มีความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับที่ลงทุนได้ (Investment Grade) ในช่วงปีหน้าที่เศรษฐกิจยังขยายตัวช้าอยู่

ตลาดหุ้นที่น่าสนใจลงทุน ได้แก่

  • ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในกลุ่มธุรกิจสุขภาพ (Health care) ซึ่ง Valuation อยู่ในระดับต่ำ Earning มีแนวโน้มที่ออกมาดี และLaggard กว่า MSCI World โดยควรรอเข้าลงทุน หลังมีความชัดเจนของนโยบายเกี่ยวกับ Health care ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ
  • ตลาดหุ้น Asia Emerging Market ในภาพรวม เพราะการส่งออกควรจะส่งสัญญาณ bottom out หลัง trade war มีแนวโน้มที่ดีมากขึ้น
  • ตลาดหุ้นจีน ซึ่งจะได้รับแรงหนุนจากการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาและในอนาคต
  • ตลาดหุ้นฮ่องกง (HSI Index) ซึ่ง Valuation มีการปรับลดลงมามากหลังเกิดเหตุการณ์ประท้วงอย่างรุนแรงภายในประเทศ โดยเรื่องเฉพาะกลุ่มหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานที่ดีในระยะยาว เช่น property และ infrastructure บางตัว

สินทรัพย์ทางเลือก แนะนำให้เข้าลงทุนในทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา Yield ของ REITs ในไทยและต่างประเทศเริ่มปรับตัวสูงขึ้น จากการที่ถูกเทขาย หลังนักลงทุนเริ่มเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น (Risk on) จากการคลายความกังวลต่อประเด็นสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน คลายความกังวลต่อการเกิด Recession และจากการคาดการณ์ว่า อัตราดอกเบี้ยจะไม่ถูกปรับลดลงอีกแล้วในปีนี้ ทำให้ Yield เกิดการปรับฐานขายทำกำไร จึงแนะนำให้รอและทยอยเข้าลงทุน เมื่อ Yield ปรับเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับประมาณ 5.4-6.0% จะเป็นผลตอบแทนที่น่าสนใจลงทุนระยะยาวได้

สินค้าโภคภัณฑ์ แนะนำลงทุนใน ตลาดน้ำมัน และหลีกเลี่ยงการลงทุนใน ตลาดทองคำ หลังความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนมีแนวโน้มผ่อนคลายลงในปีหน้า

โดยการจัดสัดส่วนสินทรัพย์ต่าง ๆ มีดังนี้

RELATED ARTICLES
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img