นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะโฆษกกระทรวงมหาดไทย ขอชี้แจงข้อเท็จจริง กรณีไทยรัฐทีวีเสนอข่าว นายพายัพ ปั้นเกตุ อดีต ส.ส.สิงห์บุรี พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงโครงการไทยนิยมยั่งยืน ว่ากระทรวงมหาดไทย จัดงบประมาณแผ่นดินสูงถึง 2,000 ล้านบาท เพื่อเรียกประชุมชาวบ้านกว่า 80,000 หมู่บ้าน 10 เรื่อง 4 ประเด็น มีภารกิจ 10 เรื่อง เป็นเรื่องที่กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยทำอยู่แล้วแต่ ภาระตกที่อำเภอ ต้องให้กำนันผู้ใหญ่บ้านเกณฑ์ คนทุกหมู่บ้านมาประชุมให้ได้ โดยเฉพาะผู้มีบัตรคนจน มีการจ่ายค่าวิทยากร และเลี้ยงอาหารกลางวันชาวบ้านหั วละ 50 บาท เป็นการใช้งบประมาณที่ไม่คุ้มค่ า
นายนิสิตกล่าวว่า โครงการ “ไทยนิยม ยั่งยืน” เป็นการบูรณาการงานของรั ฐบาลและทุกกระทรวง ทั้งงานตามนโยบายสำคัญ งานตามภารกิจ และงานเชิงพื้นที่ เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้ อนและเป็นภาระของประชาชนในพื้ นที่ แผนงานระดับชาติต่างๆ โดยเป็นการต่อยอดขยายผลจาก “แนวคิดประชารัฐ” และการมีส่วนร่วม เกิดเป็น 3 ประสาน “ราษฎร์ รัฐ และเอกชน” เพื่อแก้ไขปัญหาและสร้างการพั ฒนาได้ตรงกับความต้องการของแต่ ละพื้นที่อย่างยั่งยืน
นายนิสิตกล่าวต่อไปว่า กลไกขับเคลื่อนการดำเนิ นโครงการไทยนิยม ยั่งยืน อาศัยกลไกระดับต่าง ๆ ทั้งระดับชาติ ระดับจังหวัด และระดับอำเภอ โดยมีทีมระดับตำบล ที่เรียกว่า “ทีมขับเคลื่อนการพั ฒนาประเทศไทยตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ระดับตำบล” เป็นกลไกขับเคลื่อนงานของรั ฐบาลในพื้นที่ ประกอบด้วย ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรั ฐในพื้นที่/หน่วยงานความมั่ นคงในพื้นที่/ปราชญ์ชาวบ้าน/จิ ตอาสาในพื้นที่ ซึ่งมีความรู้ความเข้าใจในพื้ นที่เป็นอย่างดี จำนวน 7 – 12 คน จำนวน 7,663 ทีม ลงไปในพื้นที่เป้าหมาย ทั่วประเทศ จำนวน 83,151 หมู่บ้าน/ชุมชน 76 จังหวัด 878 อำเภอ และกรุงเทพมหานคร โดยจะดำเนินการลงพื้นที่หมู่บ้ านละ 4 ครั้ง เพื่อการสร้างการรับรู้ ความเข้าใจให้กับประชาชนถึ งการทำงานของรัฐบาล แผนงาน/โครงการ และงบประมาณที่หน่วยงานต่าง ๆ ลงไปดำเนินการในพื้นที่ รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนนำหลั กปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ในการดำเนินชีวิต ตลอดจนชี้แจงองค์ความรู้สำคัญที่ ประชาชนควรรับรู้รับทราบ เช่น ความรู้เรื่องสิทธิ/หน้าที่/ กฎหมายเพื่อการเป็นพลเมืองที่ดี ความรู้เรื่องกลไกการบริ หารราชการแผ่นดินและการบริ หารงบประมาณ ความรู้เกี่ยวกั บการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอั นมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข หลักธรรมาภิบาล และความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี เป็นต้น นอกจากนี้ ยังส่งเสริมให้ประชาชนได้ร่วมกั นวิเคราะห์ปัญหาความเดือดร้อน และค้นหาความต้องการของประชาชน/ หมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อจัดทำแผนงาน/ โครงการเสนอตามกรอบการพัฒนาคุ ณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ (การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก การพัฒนาเชิงพื้นที่ และการปฏิรูปโครงสร้างการผลิ ตภาคการเกษตร) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่ งยืน ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่ อพี่น้องประชาชนทุกคนในทุกพื้ นที่ทั่วประเทศทั้งในปัจจุบั นและอนาคตต่อไป
“กระทรวงมหาดไทยขอเรียนว่า โครงการไทยนิยม ยั่งยืน เน้นการยกระดับขี ดความสามารถในการแข่งขัน และลดความเหลื่อมล้ำ มุ่งแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้ องการของพี่น้องประชาชนเป็นสำคั ญ จึงถือเป็นโครงการของทุกคน ทุกฝ่าย ที่จะได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่ อนโครงการ เพื่อพัฒนาประเทศไปสู่ความมั่ นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ต่อไป” นายนิสิต กล่าว