ส่องทิศทางตลาดการเงิน เมื่อ Trade War ไม่จบ เฟดเปิดโอกาสลดดอกเบี้ย ปรับประมาณการเงินบาทสิ้นปีนี้แข็งค่าแตะที่ 30.50 บาท/ดอลลาร์จากเดิม 31 .00 บาท/ดอลลาร์ มองมีโอกาสหลุด 30.00 บาท/ดอลลาร์ ในเดือนนี้ หลังคาดเฟดลดดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัดไป
นายตรรก บุนนาค ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ BAY เปิดเผยว่า “ธนาคารปรับประมาณการเงินบาทสิ้นปีนี้มาอยู่ที่ 30.50 บาท/ดอลลาร์ จากเดิมต้นปีที่คาดไว้ที่ 31.00 บาท/ดอลลาร์ และมีโอกาสที่จะหลุดไปแตะที่ 30.00 บาท/ดอลลาร์ในเดือน ก.ค นี้ จากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)ปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมในวันที่ 30-31 ก.ค 62 นี้ทำให้มีเงินไหลเข้ามายังตลาดเกิดใหม่ โดยในครึ่งปีที่ผ่านมาต่างชาติซึ้อหุ้นไทยสุทธิ 5 หมื่นล้านบาท จากที่ขายออกไปในปี 61 ทั้งหมด 2.8 แสนล้านบาท ไหลเข้าพันธบัตร 2 หมื่นล้านบาท จากปีก่อนทั้งปีที่ 1 แสนล้านบาท ส่วนค่าบาทในไตรมาสที่ 3/62 คาดจะเคลื่อนไหวในกรอบ 30.00-31.75 บาท/ดอลลาร์ และ ในไตรมาสที่ 4/62 คาดเงินบาทเคลื่อนไหวที่ 30.00-31.50 บาท/ดอลลาร์ คาดในไตรมาสที่ 1/63 เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 29.75-31.25 บาท/ดอลลาร์ และ ในไตรมาสที่ 2/63 คาดเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบที่ 29.50-31.00 บาท/ดอลลาร์
สำหรับธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ธนาคารคาดจะลดดอกเบี้ย 1ครั้ง ที่ 0.25% ในเดือน ก.ค และอีกครั้งในเดือน ก.ย ที่ 0.25% และในต้นปี 63 อีก 1 ครั้ง 0.25% ซึ่งในการปรับลดทั้ง 3 ครั้งนี้อยู่ที่ 0.75%
“ส่วนเงินบาทยังจะมีแนวโน้มแข็งค่าอย่างต่อเนื่องจนทำลายสถิติเงินบาทแข็งค่าในรอบ 6 ปี ซึ่งเมื่อเดือน เม.ย 56 เงินบาทแข็งค่าที่สุดที่ 28.55 บาท/ดอลลาร์ ต่างชาติได้มองประเทศไทยเป็นประเทศที่ปลอดภัย ดุลบัญชีเดินสะพัดสูงและมีเงินสำรองที่สูง จึงสามารถเป็นแหล่งที่พักเงินของต่างชาติ ที่จริงก็ไม่อยากให้คำว่าเก็งกำไร”
ด้านตลาดหารเงินยังคงผันผวนต่อเนื่อง ต้องติดตามเรื่องความเสี่ยงนากสงครามการค้า และความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก แนวโน้มธนาคารกลางส่วนใหญ่ที่กลับไปใช้นโยบายผ่อนปรนทางการเงินอีกครั้ง ซึ่งมีทั้งสาเหตุที่มาจากปัจจัยภายรอกประเทศ อาทิเช่น เฟด สงครามการค้า ส่งผลให้เงินไหลเข้า แต่ถ้าแก่บาทแข็งเพื่อจะกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยผ่านการลงทุนภาตรัฐและโครงสร้างพื้นฐาน ก็จะส่งผลดีให้เศรษฐกิจในระยะยาวมากกว่าและยังจะแก้ปัญหาบาทแข็งเพราะไม่ว่าจะเป็นการซื้อเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ทางเทคโนโลยีมาเพื่อเป็นการขยายกำลังผลิต