หน้าแรกไลฟ์สไตล์'กรมควบคุมโรค' วอน อย่าเข้าใจผิด 'โรคพิษสุนัขบ้า' รักษาไม่ได้-แต่ป้องกันได้

‘กรมควบคุมโรค’ วอน อย่าเข้าใจผิด ‘โรคพิษสุนัขบ้า’ รักษาไม่ได้-แต่ป้องกันได้

นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าของไทยขณะนี้ยังเป็นที่น่ากังวลอยู่ เนื่องจากที่ผ่านมาผลการตรวจหัวสุนัขที่สงสัยเป็นโรคพิษสุนัขบ้า ยังคงมีรายงานอย่างต่อเนื่อง กรมปศุสัตว์รายงานว่าปี 2560 สุนัข แมวทั่วประเทศป่วยเป็นโรคดังกล่าวกว่า 800 ตัว และเริ่มปี 2561 เดือนเดียวพบสุนัขบ้าแล้วกว่า 135 ตัว ทำให้เรายังคงพบผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้าอยู่ในพื้นที่ที่มีพบสัตว์ป่วยโรคนี้

การเสียชีวิตส่วนใหญ่ของผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้า เกิดจากการไปรับการรักษาเมื่ออาการของโรคเริ่มแสดงแล้ว ทำให้สายเกินกว่าจะยับยั้งเชื้อได้ทัน ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการชะล่าใจในการป้องกัน และรักษาโรคเบื้องต้น  จากการสำรวจความรู้เรื่องโรคพิษสุนัขบ้าของคนไทยพบว่า คนไทยยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเรื่องโรคดังกล่าว ร้อยละ 60 คิดว่าโรคพิษสุนัขบ้า “รักษาหาย” และร้อยละ 59 คิดว่า “ไม่เป็นไร” เมื่อถูกสุนัข หรือแมวข่วนเป็นแผลเล็กน้อย จึงไม่ทำความสะอาดแผลเบื้องต้น หรือไม่เข้ารับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้ครบ

กรมควบคุมโรค ขอให้ข้อมูลว่า โรคพิษสุนัขบ้าสามารถป้องกันได้ ถ้าประชาชนรู้จักการป้องกันตนเอง ดังนี้  1. อย่า 5 ย. คือ อย่าแหย่ อย่าเหยียบ อย่าแย่ง อย่าหยิบ อย่ายุ่งกับสุนัขคนอื่น หรือสุนัขที่มีการผิดปกติ 2. เมื่อถูกสุนัข หรือแมว ข่วน หรือกัด ควรรีบล้างแผลด้วยน้ำและสบู่ทันทีหลายๆครั้ง และใส่ยาเบตาดีนหลังล้างแผลเพื่อลดการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า 3. รีบพบแพทย์โดยทันที เพื่อรับการวินิจฉัยรับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า หากได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว ควรไปตามนัดทุกครั้ง เพื่อการป้องกันสูงสุด 4. เมื่อถูกกัด ควรกักสุนัข/แมวตัวที่กัดข่วน ไว้เพื่อสังเกตอาการ 10 วัน หากสัตว์ที่กักตายลงให้รีบแจ้งปศุสัตว์ในพื้นที่ เพื่อการส่งตรวจหาโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ 5. เจ้าของสุนัข เเละเเมวควรนำสัตว์เลี้ยงของท่านเข้ารับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นประจำทุกปี เพื่อการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ

โรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย พบมากในสุนัขและแมว โดยติดเชื้อจากการสัมผัสน้ำลายของสัตว์ที่มีเชื้อ เช่น ถูกกัด ข่วน หรือเลียผิวหนังที่มีบาดแผล คนสามารถติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้จากการถูกกัด ข่วนจากสุนัขหรือแมว เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ระยะการแสดงอาการของโรคนั้นไม่แน่นอน บางรายอาจนานเป็นปี เมื่อผู้ป่วยมีอาการแล้ว  จะรักษาไม่หายและเสียชีวิตทุกราย

นายแพทย์สุวรรณชัย กล่าวอีกว่า ขณะนี้ กรมควบคุมโรค ได้สั่งการลงไปยังพื้นที่ที่มีสุนัขบ้า เร่งประสานงานให้มีการประชาสัมพันธ์ และค้นหา ติดตามผู้ที่มีประวัติสัมผัสโรคทุกรายให้มารับวัคซีน รวมทั้งกำชับ อสม.ให้เคาะประตูบ้าน เพื่อเร่งระดมค้นหา และติดตามผู้ถูกกัดหรือสัมผัสโรคมารับวัคซีนให้ครบทุกราย ทั้งนี้ หากประชาชนมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422 หรือ สำนักโรคติดต่อทั่วไป โทร. 02-590-3177-8


 

RELATED ARTICLES

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img