ผู้ช่วยฯโอ๋ ประชุม สพฐ.ตร.เดินหน้าเชิงรุกวาง 10 มาตราการ

86

ผู้ช่วยฯโอ๋ ประชุม สพฐ.ตร.เดินหน้าเชิงรุกวาง 10 มาตราการ ชี้นิติวิทยาศาสตร์เปรียบเสมือนเขี้ยวเล็บ ของนักสืบ ”

เมื่อวันพุธ ที่ 18 ธ.ค.67(เวลา 10.00 น.)ที่อาคาร 7 กองทะเบียนประวัติอาชญากร (ทว.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) พล.ต.ท.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ ผู้ช่วย ผบ.ตร.(สส 1)เปิดเผยว่าพล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผบ.ตร.,พล.ต.อ.ธนา ชูวงศ์ รอง ผบ.ตร.(สส) มอบหมายให้ตน ตามคำสั่ง ตร. ที่ 578/2567 ลง 26 พ.ย.67 และบันทึกสั่งการ ผบ.ตร. ลง 29 พ.ย.67 ท้ายหนังสือ สง.รอง ผบ.ตร.(สส) ที่ 0001(สส)/288 ลง 29 พ.ย.67 รับผิดชอบกำกับการบริหารราชการของ สพฐ.ตร. วันนี้ได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมและติดตามการปฏิบัติราชการตามนโยบายของ ผบ.ตร.จากนั้นเป็นประธานในการประชุมเพื่อติดตาม แนะนำ ชี้แจงแนวทางการปฏิบัติราชการให้เป็นไปตามนโยบายของผู้บังคับบัญชา

โดยมี พล.ต.ต.อาทิชา เปาอินทร์ รอง ผบช.ภ.7 รรท.ผบช.สพฐ.ตร.,พล.ต.ต.วาที อัศวุตมางกุร ผบก.พฐก. พล.ต.ต.หญิง วิรญา พรหมายน ผบก.ทว.พล.ต.ต.กัลป์ ทั้งสุพานิช ผบก.สฝจ.และข้าราชการตำรวสังกัด สพฐ.ตร. รอรับการตรวจเยี่ยมและเข้าร่วมการประชุม

พล.ต.ท.ธนายุตม์ เปิดเผยต่อว่าการประชุมครั้งนี้ ได้กำชับให้ปฏิบัติดังนี้

(1.)การเตรียมความพร้อมปฏิบัติหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐานกลาง และ ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 1-10 ให้มีการเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งการตรวจสถานที่เกิดเหตุ การตรวจพิสูจน์เอกสาร วัตถุ ร่องรอยต่าง ๆ การตรวจอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน การตรวจทางเคมีและฟิสิกส์ การตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานและของกลางในคดีเกี่ยวกับยาเสพติด การตรวจลายนิ้วมือ ฝ่ามือ ฝ่าเท้าแฝง การตรวจชีววิทยาและดีเอ็นเอ การตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานและของกลางในคดีเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลย ให้จัดชุดปฏิบัติการทุกศูนย์พร้อมสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ เมื่อได้รับการประสานจากหน่วยงานพื้นที่ เมื่อมีคดีสำคัญให้หัวหน้าศูนย์ไปอำนวยการควบคุมตรวจที่เกิดเหตุด้วยตนเอง ไม่ต้องรอสั่งการ และให้หัวหน้าศูนย์ด้วยตนเอง (ผบก.พฐก., ผบก.ศพฐ.1-10) รายงานให้ทราบทันที

(2.)ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นมืออาชีพ ดำรงความยุติธรรมงานพิสูจน์หลักฐานเป็นงานที่สร้างความเชื่อมั่นให้องค์กร ซึ่งศาลรับฟังโดยมีน้ำหนัก กำชับให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นมืออาชีพ ดำรงความยุติธรรมแก่กระบวนการอาญา ไม่ให้มีช่องว่างให้ผู้กระทำความผิดหลุดรอดไปได้

(3.)เร่งรัดผลตรวจพิสูจน์ด้วยความรวดเร็ว เที่ยงธรรมเมื่อออกไปตรวจสถานที่เกิดเหตุ หรือได้รับพยานหลักฐาน ให้เร่งการตรวจพิสูจน์ เพื่อให้สามารถออกผลการตรวจด้วยความรวดเร็ว เที่ยงธรรมเมื่อผลตรวจพิสูจน์ออก ให้แจ้งผลและเร่งรัดติดตามพนักงานสอบสวนมารับผลการตรวจพิสูจน์โดยเร็ว

(4.)การบริหารคดี (Case Management)การบริหารคดีให้มีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผล งานสืบสวน งานสอบสวนนิติวิทยาศาสตร์ ต้องทำงานแบบบูรณาการร่วมกัน มีการประสานความร่วมมือและข้อมูลซึ่งกันและกัน โดยแต่ละงานมีหน้าที่หลักๆ ดังนี้ -งานสืบสวน (Investigation)- สืบ ก่อน/หลัง เกิดเหตุ- วิเคราะห์รูปแบบคดี (มูลเหตุจูงใจ)- ตั้งประเด็น (ตัดประเด็น)- เบิกความ -งานสอบสวน (Inquiry – สอบสวนบุคคล- รวบรวมพยานหลักฐาน- ปรับข้อเท็จจริงเข้ากับข้อกฎหมาย- ทำความเห็นทางคดี- เบิกความนิติวิทยาศาสตร์ (Forensics)- ตรวจสถานที่เกิดเหตุ : CSI (ชันสูตรพลิกศพ)- ตรวจเก็บพยานหลักฐาน (ชันสูตรศพ/บาดแผล)- ตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ- เชื่อมโยงพยานหลักฐาน (แผนประทุษกรรม – ออกรายงานการตรวจพิสูจน์- เบิกความ

(5.)ศูนย์ข้อมูลวัตถุระเบิดให้เตรียมความพร้อมสามารถออกปฏิบัติหน้าที่ได้ตลอดเวลา และให้การสนับสนุนชุดเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด ในกรณีที่เจ้าหน้าที่เก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิดในพื้นที่ไม่มีความชำนาญในเทคโนโลยีหรือรูปแบบของระเบิดที่ใช้ในครั้งนั้นๆ

(6.)กลุ่มงานพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลการตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล ให้ประสานฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการพิสูจน์ อาทิเช่น คณะแพทย์ ทันตแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านลายพิมพ์นิ้วมือ และผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล ให้เรียบร้อย ครบถ้วน

(7.)กองทะเบียนประวัติอาชญากรงานเกี่ยวกับลายพิมพ์นิ้วมือ การตรวจสอบและเปรียบเทียบลายพิมพ์นิ้วมือ การตรวจสอบประวัติ การรับรองรายการประวัติ ต้องให้ดำเนินการด้วยความรวดเร็ว เป็นธรรม โปร่งใส อย่าล่าช้า

(8.)ตรวจสอบการบันทึกประวัติให้เป็นระบบ กำชับงานทะเบียนประวัติอาชญากรให้บันทึกข้อมูลประวัติอาชญากร ข้อมูลหมายจับให้ เป็นระบบ และเป็นปัจจุบัน รวมถึงรักษาข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นความลับทางราชการ

(9.)ผู้บังคับบัญชาทุกระดับ ควบคุม กำกับดูแล กวดขันความประพฤติ และระเบียบวินัยข้าราชการตำรวจ ตามคำสั่ง ตร. ที่ 1212/2537 โดยมีการออกคำสั่งให้มีการรับผิดชอบในแต่ละระดับ

(10.)”นิติวิทยาศาสตร์เปรียบเสมือนเขี้ยวเล็บ ของนักสืบ “ผู้บังคับบัญชาทุกระดับ ต้องประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา ทั้งด้านครองตน ครองคน และครองงาน เน้นย้ำมีความรัก ความสามัคคีในหมู่คณะ อย่าเอาเปรียบผู้ใต้บังคับบัญชา ”ผู้ช่วย ผบ.ตร. กล่าว“

#Thaitabloid#สำนักข่าวไทยแทบลอยด์#ผู้ช่วยฯโอ๋