”ผู้ช่วยฯโอ๋“นำสำนวนการสอบสวนฯสั่งฟ้องคดี แอมไซด์ยาไนย์ จำนวน 14 สำนวน ส่งให้สำนักงานคดีอาญา
วันนี้(วันอังคาร ที่ 26 พ.ย. 67) เวลา 10.00 น.ที่สำนักงานอัยการสูงสุด ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพมหานคร พล.ต.ท.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ ผู้ช่วย ผบ.ตร. เป็นหัวหน้าคณะพนักงานสืบสวนสอบสวน เปิดเผยว่า ตามคำสั่ง ตร.ที่ 435/2567 ลง 29 ส.ค. 67 เรื่องแต่งตั้งคณะพนักงานสืบสวนสอบสวน เพื่อรับผิดชอบทำการสืบสวนสอบสวน คดีนางสาวสรารัตน์ รังสิวุฒาภรณ์ (แอมไซยาไนด์) ตามคดีอาญาที่ 12/2566 ของ กก.1 บก.ป. คดีอาญาที่ 4-5/2566 ของ กก.4 บก.ป. คดีอาญา ที่ 6-16/2566 ของ กก.5 บก.ป. และคดีอาญาที่ 5/2566 ของ กก.5 บก.ป.
โดย พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผบ.ตร.
มอบหมายให้ ตนในฐานะหัวหน้าคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนในวันนี้พร้อมด้วย พ.ต.อ.เอนก เตาสุภาพ รอง ผบก.ป.และคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนตามคำสั่งดังกล่าว ได้นำสำนวนการสอบสวนพร้อมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องโดยมีความเห็นสั่งฟ้องทุกสำนวน จำนวน 14 สำนวน ส่งให้นายสัญชัย จันทร์ผ่องอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญาและคณะพนักงานอัยการเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
ตำรวจส่งสำนวนคดี แอม ไซยาไนด์วางยาพิษสังหารเหยื่อ 14 ราย ให้อัยการ
จากคดีลอบวางยา ไซยาไนด์ ฆาตกรรมสุดอำมหิต หลังศาลอาญามีคำพิพากษาประหารชีวิตนางสรารัตน์ รังสิวุฒาภรณ์ หรือแอม ไซยาไนด์ ในคดีวางยาพิษทำให้ น.ส.ศิริพร ขันวงษ์ หรือก้อย เสียชีวิต ในคดีเดียวกันยังพิพากษาจำคุก พ.ต.ท.วิฑูรย์ รังสิวุฒาภรณ์ อดีตสามี แอม ไซยาไนด์ เป็นเวลา 1 ปี 4 เดือน และจำคุก น.ส.ธันย์นิชา เอกสุวัณวัฒน์ หรือทนายพัช เป็นเวลา 2 ปี ในข้อหา ช่วยเหลือผู้กระทำผิดมิให้ต้องรับโทษ หรือรับโทษน้อยลง โดยพ.ต.ท.วิฑูรย์และน.ส.ธันย์นิชาหรือทนายพัช ได้รับการปล่อยชั่วคราว ศาลตีหลักทรัพย์คนละ 100,000 บาท ต่อมาทนายพัชได้ยื่นถอนตัวจากการเป็นทนายความของแอม อ้างว่ามุมมองทางการต่อสู้คดีแตกต่างกัน โดยสำนวนการเสียชีวิตของ น.ส.ศิริพร ขันวงษ์ หรือก้อย เป็นคดีแรกที่ได้รับการตัดสิน จากเหยื่อผู้เป็นเจ้าหนี้ทั้งหมด 15 ราย เสียชีวิต 14 ราย และรอดตาย 1 ราย
ความคืบหน้าการดำเนินคดีกับนางสรารัตน์ รังสิวุฒาภรณ์ หรือแอม ไซยาไนด์ ที่สำนักงานอัยการสูงสุด ถนนรัชดาภิเษก เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 27 พ.ย. พล.ต.ท.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธํารงค์ผู้ช่วย ผบ.ตร. พ.ต.อ.เอนก เตาสุภาพ รองผบก.ป. นำทีมพนักงานสอบสวน บก.ป. นำสำนวนการสอบสวนผู้เสียชีวิตจากการถูก แอม ไซยาไนด์วางยาพิษ 14 คดี ส่งมอบให้แก่ นายสัญจัย จันทร์ผ่อง อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญา
สำหรับคดีลอบวางยาพิษทำให้มีผู้เสียชีวิต 14 คน ประกอบด้วย
1.นางลัดดา ขาวอินทร์ มีเอกสารสอบสวน 1,806 แผ่น รวม 5 แฟ้ม
2.ด.ต.นิติพลธ์ นุชิต เอกสาร 2,942 แผ่น รวม 7 แฟ้ม
3.พ.ต.อ.จามร อันดี เอกสาร 2,809 แผ่น รวม 6 แฟ้ม
4.นายเกิด แก้วบุบผา เอกสาร 2,616 แผ่น รวม 7 แฟ้ม
5.นางพวงแก้ว วงษ์สวัสดิ์ เอกสาร 2,671 แผ่น รวม 6 แฟ้ม
6.พระสมเกียรติ ทรพับ เอกสาร 2,169 แผ่น รวม 6 แฟ้ม
7.นายเท่ง โตไร่ เอกสาร 1,953 แผ่น รวม 4 แฟ้ม
8.นายสงกรานต์ ธรรมสังวาลย์ เอกสาร 869 แผ่น รวม 3 แฟ้ม
9.นายฐิฎิชัยเดช วงศ์ไกรสิณ เอกสาร 1,932 แผ่น รวม 4 แฟ้ม
10.พ.อ.สายชล พจนารถ เอกสาร 2,716 แผ่น รวม 5 แฟ้ม
11.น.ส.นภพรรณ ยรรยงชัยกิจ เอกสาร 2,760 แผ่น รวม 6 แฟ้ม
12.นางกานติมา แพสอาด เอกสาร 2,821 แผ่น รวม 6 แฟ้ม
13.นายไพบูลย์ สามบุญมี เอกสาร 3,479 แผ่น รวม 8 แฟ้ม
14. นางสาคร แสนจันทร์ เอกสาร 2,868 แผ่น รวม 6 แฟ้ม
ทั้งหมดกล่าวหานางสรารัตน์ รังสิวุฒาภรณ์ ในความผิดข้อหา ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และเพื่อจะเอาหรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์วันเกิดแต่การที่ตนได้กระทำความผิดอื่นเพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน หรือพืชหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ตนได้กระทำไว้ และปลอมปนอาหาร ยาหรือเครื่องอุปโภคบริโภคอื่นใด เพื่อบุคคลอื่นเสพย์หรือใช้ หลักการปลอมปนนั้นน่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพ โดนเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย
พล.ต.ท.ธนายุตม์เปิดเผยว่า คดีนี้ตนได้รับการมอบหมายให้เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน โดยมีทีมพนักงานสอบสวนของกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง และตำรวจภูธรในพื้นที่จังหวัดที่พบผู้เสียชีวิตเข้าร่วมการสอบสวนรวมทั้งสิ้น 14 สำนวน สืบเนื่องจากคดีหลักที่ศาลได้พิพากษาคดีแรก เกิดขึ้นในพื้นที่ สภ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี โดย ผบช.ภ. 7 ได้ทำคดีมาอย่างต่อเนื่อง และนำสำนวนการสอบสวนให้ บช.ก. ทำการรวบรวมพยานหลักฐาน และทำการสืบสวนสอบสวนทั้ง 14 สำนวน มีการประชุมรวบรวมพยานหลักฐาน พยานเอกสาร พยานบุคคล และผู้ชำนาญการ เชื่อมโยงร้อยเรียงสำนวนในแผนประทุษกรรมของแอม ในการกระทำความผิดครั้งนี้มีการไตร่ตรองไว้ก่อน มีมูลเหตุจูงใจวางแผนเชื่อมโยง ทุกสำนวนสอบสวนกองปราบปรามได้ร่วมมือกับทางนครบาลและภูธรติดตามคดีอย่างต่อเนื่อง และมีความเห็นสมควรสั่งฟ้อง แอม ทั้ง 14 สำนวน
ผู้ช่วย ผบ.ตร.กล่าวว่า การกระทำความผิดของคนร้ายรายนี้มีผู้เสียชีวิต 14 คน รอดชีวิตเพียง 1 คน หากไม่สามารถจับกุมได้อาจมีผู้เสียชีวิตมากกว่านี้ พฤติกรรมของคนร้ายมีความโหดเหี้ยม เลือดเย็น ใช้สารเคมีในอาหารและเครื่องดื่มเป็นอันตรายต่อชีวิต เป็นการฆ่าแบบต่อเนื่อง ต้องขอขอบคุณพนักงานสืบสวนสอบสวนที่ได้ทำงานกันอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ผบ.ตร.คาดหวังจะคืนความเป็นธรรมให้แก่พี่น้องประชาชนและญาติผู้เสียชีวิตทุกคน ศาลและอัยการได้คืนความเป็นธรรมให้แก่ น.ส.ศิริพร หรือก้อย ผู้เสียชีวิตในคดีแรกได้ และทั้ง 14 คดีนี้ เป็นคดีที่สำคัญตนจึงเดินทางมามอบสำนวนให้แก่อัยการด้วยตัวเอง
พล.ต.ท.ธนายุตม์กล่าวว่า การพิจารณาสำนวนตัดสินคดี น.ส.ศิริพร หรือก้อย นั้น ทีมพนักงานสอบสวนได้นำคำพิพากษามาปรึกษากัน เพื่อเชื่อมโยงและร้อยเรียงการสอบสวนรวมถึงพฤติกรรมแผนประทุษกรรมของคนร้ายและสาเหตุว่ามีมูลเหตุจูงใจในการก่อเหตุอย่างไร แม้ไม่มีประจักษ์พยานเห็นเหตุการณ์แต่ทีมพนักงานสืบสวนสอบสวนมั่นใจพยานหลักฐานทุกอย่างทั้งพยานบุคคล พยานเอกสารและพยานนิติวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะพยานด้านนิติวิทยาศาสตร์ที่ไม่สามารถโกหกหลอกลวงได้ จะยืนยันการกระทำความผิดของผู้ต้องหารายนี้ ขอให้ญาติผู้เสียชีวิตทั้งหมดมั่นใจได้ว่า ตำรวจให้ความสำคัญทั้งหมด รวมถึงในชั้นสืบพยานคดีนี้ด้วย ส่วนคำพิพากษาอยู่ที่ดุลพินิจของศาลว่าจะลงโทษผู้ต้องหาอย่างไร
พล.ต.ท.ธนายุตม์กล่าวว่า ในส่วนของการอุทธรณ์คดีคำพิพากษาของน.ส.ศิริพร หรือก้อย นั้นทางพนักงานสอบสวนได้มีการปรึกษาหารือกับทางอัยการมาโดยตลอด และเชื่อว่ามั่นจะสามารถดำเนินการอย่างดีที่สุดในชั้นศาลอุทธรณ์
นายสัญจัย จันทร์ผ่อง อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญา ได้รับสำนวนจากทางตำรวจทั้ง 14 สำนวน ขั้นตอนต่อไปจะมอบหมายให้อัยการพิจารณาสำนวนและดำเนินการในขั้นตอนต่อไป เมื่อสำนวนมีจำนวนมากจะต้องมีการพิจารณาที่จะจ่ายสำนวนให้แก่พนักงานอัยการในการพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง สำหรับผลคำพิพากษาในคดีแรกนั้น ก็จะต้องดูเป็นรายคดีไป ยังบอกไม่ได้ว่าจะมีผลต่อคดีอื่นหรือไม่อย่างไร ต้องพิจารณาเป็นรายคดี